views

รับทำบัญชีบริษัทร้านขายยา



ร้านขายยากับการจ้างสำนักงานบัญชีเพื่อทำบัญชีดูแลระบบงานบัญชี เพื่อลดปัญหาด้านบัญชีภาษี รูปแบบของกิจการร้านสามารถทำในนามบุคลธรรมดา หรือจดทะเบียนบริษัท


ร้านขายยาที่จดทะเบียนบริษัท ทำบัญชีบริษัทร้านขายยา คงไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายๆ เพราะต้องมีการบันทึกรายรับรายจ่าย เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังต้องทำบัญชียาตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด


ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะหากเจ้าของกิจการร้านขายยา ไม่อยากปวดหัวกับการทำบัญชีบริษัทร้านขายยา แนะนำให้ใช้บริการรับทำบัญชีจะช่วยลดความผิดพลาด และประหยัดเวลาได้


ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี

โทรศัพท์ : 097 236 2994

Add Line : p2pacc


  แนะนำ รู้จักโปรแกรมบัญชี TRCLOUD


ความหมายการรับทำบัญชีร้านขายยา  


รับทำบัญชีบริษัทร้านขายยา คือการรับจ้างนักบัญชี บริษัทบัญชี เป็นผู้ทำบัญชีภาษีและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีให้กิจการ ตลอดจนดำเนินการจัดทำปิดงบการเงิน


เป็นตัวแทนประสานงานระหว่างกรมสรรพากรโดยมีลักษณะการทำบัญชีที่แตกต่างกันไปตามประเภทธุรกิจ ดังนี้


การทำบัญชีบริษัทร้านขายยาในนามบุคคลธรรมดา


แม้ในทางกฎหมายไม่ได้กำหนดให้บุคคลธรรมดาทำบัญชี แต่ในทางภาษีได้มีการกำหนดให้บุคคลธรรมดาที่มีรายได้บางประเภทต้องทำบัญชีรายรับ- รายจ่าย เป็นประจำวัน  เพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นภาษี


การทำบัญชีบริษัทร้านขายยาในนามนิติบุคคล


สำหรับกิจการที่เปิดในนามนิติบุคคลกฎหมายกำหนดให้ต้องจัดทำบัญชี งบดุล บัญชีทำการ บัญชีงบกำไรขาดทุน ปิดงบการเงินพร้อมลงลายมือชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี


วัตถุประสงค์ของการทำบัญชีร้านขายยา


เนื่องจากการทำบัญชีภาษีเป็นฐานของระบบธุรกิจผู้ประกอบการต้องทำไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่  เพื่อประมวลผลโปรแกรมบัญชีจัดทำรายงานบัญชีกิจกรรมในแต่ละเดือนทั้งบัญชี เจ้าหนี้ ลูกหนี้ รายรับรายจ่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำและรวดเร็ว


  แนะนำอ่าน ทำบัญชี สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่

ประโยชน์ของการทำบัญชีร้านขายยา


การทำบัญชีบริษัทร้านขายยา นอกจากจะถูกต้องตามกฎหมายแล้ว บริษัทยังได้รับผลประโยชน์อีกมากมายดังต่อไปนี้


1. ทำให้มองเห็นภาพรวมของกิจการช่วงเวลานั้นๆ ว่ามีรายรับ - รายจ่าย มากขึ้นหรือน้อยลงอย่างไร รวมไปถึงสถานะการเงิน  เช่น หนี้สิน, กำไร, ขาดทุนแล้วนำมาปรับแนวทางในการบริหารกิจการ


2. นำผลสรุปมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนกิจการทั้งในส่วนของกำไร และค่าใช้จ่ายเนื่องจากการทำบัญชีจะทำให้เห็นความเคลื่อนไหวของจำนวนเงินหมุนเวียน


ดังนั้นหากช่วงเวลานั้นๆ มีรายรับ -รายจ่าย ที่ผิดปกติสามารถกลับไปทบทวนค่าใช้จ่าย และค้นหาสาเหตุของความผิดปกติ รวมไปถึงการวางแผนกิจการให้มีความเหมาะสม


3. ป้องกันทรัพย์สินสูญหายและการทุจริต เนื่องจากการทำบัญชีไม่เพียงแต่จะช่วยควบคุมจำนวนเงินทุนเท่านั้นแต่ยังสามารถควบคุมสินค้าโดยการจัดทำสต๊อกสินค้าได้อีกด้วย


ทั้งในส่วนของการรับมาและจ่ายไปดังนั้นหากมีการทุจริตเกิดขึ้น  ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้สามารถนำมาเป็นหลักฐานและตรวจสอบได้ตลอดเวลา


4. ใช้คำนวณภาษีที่ต้องจ่ายให้กับรัฐ สำหรับกิจการในนามนิติบุคคลสามารถนำค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกิจการมาคำนวณหักภาษีที่ต้องจ่าย ซึ่งสามารถดูได้จากรายการจ่าย


ที่บันทึกไว้ในการทำบัญชีนอกจากนี้ยังมีรายจ่ายพิเศษต่างๆที่นำมาหักรายจ่ายได้ 2 เท่า หรือใช้สิทธิหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายที่จ่ายจริง เป็นการประหยัดภาษีนิติบุคคลโดยไม่ผิดกฎหมาย


5. เป็นบริษัทร้านขายยาที่ถูกต้องตามกฎหมายควบคุมทำให้มีความน่าเชื่อถือ เพราะการทำบัญชีบริษัทร้านขายยาต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของกฎกระทรวง การทำบัญชีที่มีระบบควรจะเริ่มจากการลงรายรับ รายจ่ายเสียก่อน โดยมีรายละเอียดดังนี้


5.1 รายรับที่สามารถนำมาลงในบัญชีได้มีดังนี้


- รายได้หลักที่มาจากการขายยาหรือค่าบริการต่างๆ


- รายได้อื่น


5.2 รายจ่ายที่สามารถนำมาลงบัญชีได้มีดังนี้


- เงินทุน


- ค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับกิจการเช่น เงินเดือน, ค่าเช่า, ค่าโทรศัพท์, ค่าน้ำ ค่าไฟ และอื่นๆ


ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี

โทรศัพท์ : 097 236 2994

Add Line : p2pacc


  แนะนำอ่าน สรรพากรเรียกพบ แก้ไขได้อย่าเลี่ยงหนี


สินค้าหรือสต๊อกที่ต้องจัดทำร้านขายยายังแบ่งออกเป็น2 ปะเภท ได้แก่


1. ยาอันตราย,ยาควบคุมพิเศษ ฯลฯ ซึ่งสินค้าประเภทนี้ ต้องมีเภสัชกรแนะนำและเป็นผู้ส่งมอบให้ลูกค้าเท่านั้นโดยจะต้องทำบัญชียาและลงลายมือชื่อกำกับ


2. สินค้าประเภทอื่นหรือยาทั่วไปเช่น ยาสมุนไพร, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, ยาบำรุง, เวชสำอาง เป็นต้น สินค้าประเภทนี้เจ้าของกิจการหรือพนักงานในร้านสามารถขายให้ลูกค้าได้เลย


การจัดทำบัญชียาร้านขายยา


ไม่ว่ากิจการจะเปิดในนามบุคคลธรรมดาหรือในนามนิติบุคคล สิ่งสำคัญที่เจ้าของกิจการร้านขายยาต้องทำเหมือนกัน เพื่อให้เป็นไปกฎของกระทรวงคือการทำบัญชียาที่ซื้อและขายซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้


1. ทำบัญชีการซื้อยาแต่ละอย่างทุกครั้งโดยมีรายละเอียดของยา เช่น ชื่อยา ปริมาณ วัน เดือน ปี ที่ผลิตและซื้อ อย่างชัดเจน( แบบ ข.ย.9) และเก็บไว้ในบัญชีไม่น้อยกว่า 3 ปีนับจากวันที่ซื้อ


2. ทำบัญชีการขายยาควบคุมพิเศษแต่ละอย่างทุกครั้งโดยมีรายละเอียดของยา เช่น ชื่อยา ปริมาณ วัน เดือน ปี ที่ผลิตและขาย อย่างชัดเจน( แบบ ข.ย.10) และเก็บไว้ในบัญชีไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจากวันที่ขาย


3. ทำบัญชีการขายยาอันตราย(เฉพาะรายการยาที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด) ทุกครั้งโดยมีรายละเอียดของยาเช่น ชื่อยา ปริมาณวัน เดือน ปี ที่ผลิตและขาย อย่างชัดเจน (แบบ ข.ย.11) และเก็บไว้ในบัญชีไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจากวันที่ขาย


4. ทำบัญชีการขายยาแต่ละอย่างทุกครั้งตามใบสั่งยาของเภสัชกรหรือสัตวแพทย์ โดยมีรายละเอียด ชื่อ อายุ ที่อยู่ของผู้ใช้ยา และ ชื่อที่อยู่ของผู้สั่งยา รวมไปถึงปริมาณยา วัน เดือน ปี ที่ขาย (แบบ ข.ย.12) และเก็บใบสั่งยาไว้ ไม่น้อยกว่า 1ปีนับจากวันที่ขาย และและเก็บไว้ในบัญชีไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจากวันที่ขาย


5. บัญชีการซื้อและขายยาและรายงานการขายยาให้เป็นไปตามประเภทที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด (ข.ย.8)


  ผู้ทำบัญชี รับทำบัญชีได้ไม่เกินกี่รายต่อปี


สรุปรับทำบัญชีร้านขายยา


หากท่านเป็นเจ้าของกิจการร้านขายยาที่ยังปวดหัวกับการทำบัญชีอยู่ แนะนำให้ใช้บริการ รับทำบัญชีบริษัทร้านขายยาบริษัท สำนักงานบัญชี พีทูพี สามารถจัดทำบัญชีได้อย่างเป็นระบบ


พร้อมบริการแบบครบวงจร เช่น รับทำบัญชี รับตรวจสอบบัญชี, รับจดทะเบียนบริษัท,รับวางแผนระบบบัญชี, รับวางแผนภาษี, รับคัดหนังสือรับรอง นอกจากงานบริการเหล่านี้แล้ว


ยังเป็นพี่เลี้ยงที่คอยแนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำบัญชีบริษัทร้านขายยาด้วยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์มายาวนานจึงสามารถแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าได้ตรงจุดและรวดเร็ว


ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี

โทรศัพท์ : 097 236 2994

Add Line : p2pacc


  มาตรฐานการบัญชี


บทความที่น่าสนใจ