097-2362994
[email protected]
Line
หน้าแรก
บริการของเรา
รับทำบัญชี
รับตรวจสอบบัญชี
รับจดทะเบียนบริษัท
รับวางระบบบัญชี
รับวางแผนภาษี
รับคัดหนังสือรับรอง
โปรแกรมบัญชี Express
บทความ
เกี่ยวกับสำนักงานบัญชีเรา
ติดต่อเรา
608
views
Line
โดย
สำนักงานบัญชีพีทูพี
เมื่อ
6 พ.ย. 2566
แชร์บนเฟสบุ๊ค
ทำบัญชีเริ่มต้น
มีพรบ.การบัญชี ที่บังคับให้นิติบุคคลต้องจัดทำบัญชีและต้องนำส่งงบการเงินเป็นประจำทุกปีโดยไม่ขาด รวมทั้งต้องยื่นเสียภาษีแต่ละประเภทเป็นรายเดือนและรายปีตามที่กำหนดไว้ด้วย
ซึ่งหากไม่ดำเนินการตามข้อบังคับดังกล่าวนี้จะต้องถูกปรับสูงสุดถึง 80,000 บาท และยังต้องเสียค่าปรับรายวันเพิ่มอีกวันละ 2,000 บาท จนกว่าจะดำเนินการตามข้อบังคับได้ถูกต้อง
ปรึกษา งานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
บริการรับวางระบบบัญชี บริษัท
ประโยชน์ของการทำบัญชี
1. ลดความเสี่ยงในการถูกเรียกเงินค่าปรับ และโทษอื่น ๆ ตามกฎหมาย
2. แสดงสถานะทางการเงินของกิจการ และรู้แนวทางของกิจการดำเนินไปในทิศทางใด กำไรขาดทุน ชี้ให้เห็นจุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ เพื่อการแก้ไขปรับปรุงพัฒนาธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ บางกิจการขายดีเทน้ำเทท่า แต่ต้องปิดกิจการเพราะขาดทุน สาเหตุหลักเพราะไม่รู้ที่มาที่ไปของกำไรขาดทุน
3. ทำให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงินได้ง่ายขึ้น เพราะมีตัวเลขทางบัญชีที่ยืนยันและแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือ
4. ทำให้เห็นฐานะการเงินของกิจการว่าเป็นอย่างไร จึงมีส่วนช่วยสนับสนุนการตัดสินใจว่ากิจการควรจะเดินหน้าขยายกิจการต่อไปดีหรือจะปิดกิจการดี
การทำบัญชี เมื่อเปิดกิจการเป็นนิติบุคคล
ปรึกษา งานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
บริการรับตรวจสอบบัญชี
ผู้ประกอบการรายใหม่กับการเริ่มทำบัญชี
1. จัดหาผู้ทำบัญชีของกิจการ บจก. หรือ หจก. จะต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชี ซึ่งอาจจะเป็นพนักงานของกิจการที่มีคุณสมบัติในการทำบัญชี หรือเป็นผู้ทำบัญชีอิสระคุณสมบัติของผู้ทำบัญชีต้องเป็นผู้ที่จบการศึกษาสาขาบัญชี
มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือ เทียบเท่า แต่ถ้ากรณีที่ บจก.จดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีสินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านบาท มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ผู้ทำบัญชีต้องมีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญา หรือ มีวุฒิการศึกษาวิชาชีพชั้นสูงในระดับ ปวส. หรือมีระดับเทียบเท่า
เป็นผู้ทำบัญชีแต่ถ้าหากเจ้าของกิจการประกอบการ มีความรู้ทางบัญชี และเข้าเงือนไขตามที่กฎหมายกำหนด ก็สามารถเป็นผู้ทำบัญชีเองได้ หรือไม่ก็จ้างสำนักงานงานบัญชี ที่ รับทำบัญชีราคาถูก ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และลดภาระเรื่องทำบัญชี
2. ต้องส่งมอบเอกสารประกอบการลงบัญชี นิติบุคล หรือกิจการ ต้องส่งเอกสารประกอบการบันทึกลงบัญชี ทีเป็นเอกสารหลักฐานในการลงบัญชี ให้กับผู้ทำบัญชี อาทิ ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีในกรณีนี้ ซึ่งหากไม่ดำเนินการตามจะถูกปรับเป็นเงิน 10,000 บาท
3. จัดทำบัญชีประเภทรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีประเภทสินค้า และบัญชีประเภทอื่น ๆ ให้กับกิจการ การจัดทำบัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้า และบัญชีอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในกิจการ
อาทิ บัญชีสต็อกสินค้าคงเหลือเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำตั้งแต่วันที่กิจการจดทะเบียน หากกิจการไม่ดำเนินการดังกล่าวกิจการจะมีความผิด และถูกปรับ 30,000 บาท และปรับเป็นรายวันๆละ 1,000 บาท จนกว่าจะดำเนินการถูกต้อง
อีกทั้งหุ้นส่วน และผู้จัดการ กรรมการ ผู้จัดการของกิจการ ในฐานะผู้กระทำการแทน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละ 1,000 บาทเช่นเดียวกันด้วย
4. ต้องทำการปิดบัญชีภายใน 12 เดือน โดยนับแต่วันที่เริ่มทำบัญชี กิจการ ต้องดำเนินการปิดบัญชีภายในระยะเวลา 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่เริ่มบันทึกบัญชี และต้องปิดบัญชีทุก ๆ รอบ 12 เดือน นับแต่วันที่ปิดบัญชีก่อนหน้านั้น
แต่อนุโลมให้การปิดบัญชีในปีแรก หรือการปิดบัญชีในปีสุดท้ายแม้ยังไม่ถึง 12 เดือน ก็ให้ทำการปิดบัญชีได้ กรณีนี้กฎหมายกำหนดไว้ว่า หากไม่ทำตาม ทั้งนิติบุคคล และผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนจ ะต้องเสียค่าปรับรายการละ 10,000 บาท
5. ต้องจัดทำงบการเงินของนิติบุคคล ให้ตรงตามมาตรฐานรายการทางการเงินที่กำหนดไว้ เมื่อถึงสิ้นงวดปีดบัญชี ผู้ทำบัญชี จะต้องจัดทำงบการเงิน ซึ่งประกอบด้วย งบการเงิน งบกำไรขาดทุนแสดงฐานะการเงิน
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ หมายเหตุประกอบงบการเงิน กิจการที่ไม่ปฏิบัติตามข้อนี้ กิจการและผู้กระทำการแทน จะถูกปรับไม่เกิน 50,000 บาท
6. เมื่อจัดทำงบการเงินเสร็จแล้ว ให้นำส่งผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) ทำการตรวจสอบพร้อมทั้งแสดงความเห็นกำกับ เมื่อจัดทำงบการเงินเสร็จแล้ว ต้องส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชีอนุญาตตรวจสอบ และแสดงความคิดเห็น
ยกเว้น ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือหจก. ที่จดทะเบียนทุนการค้าไว้ไม่เกิน 5 ล้านบาท และสินทรัพย์โดยรวมไม่เกิน 30 ล้านบาท มีรายได้จากการดำเนินกิจการไม่เกิน 30 ล้านบาท ไม่ต้องใช้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
แต่ต้องใช้ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีภาษีอากร (TA) แทน สำหรับของความผิด ที่จัดทำงบการเงินแล้วแต่ไม่มีการตรวจสอบก่อนนำสงกิจการนิติบุคคลและผู้กระทำการแทน จะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 20,000 บาท
7. นำงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบ และได้รับการแสดงความคิดเห็นจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ส่งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พร้อมยื่นภาษีต่อกรมสรรพากร
เมื่องบการเงินผ่านการตรวจสอบแล้วนำยื่นต่อ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และยื่นภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีกำหนดระยเวลาในการยื่นดังนี้
7.1 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ต้องนำส่งภายใน 5 เดือน โดยนับตั้งแต่วันที่ปิดบัญชี
7.2 บริษัทจำกัด ต้องนำส่งภายใน 1 เดือน โดยนับตั้งแต่วันที่งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการสามัญ ซึ่งสามารถส่งได้ช้าสุด ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม
เพราะ บริษัทจำกัด มีเงื่อนไข ที่จะต้องจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นภายในวันที่ 30 เมษายน ในส่วนของความผิดที่ไม่ดำเนินการในข้อนี้นิติบุคคล และผู้กระทำการแทน จะต้องถูกปรับไม่เกิน 50,000 บาท
8.ต้องเก็บรักษาเอกสารทางบัญชีไม่น้อยกว่า 5 ปี เอกสารทางบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี จะต้องเก็บรักษาไว้ไว้ที่สำนักงานใหญ่ หรือสถานที่ที่ผลิต หรือสถานที่ทำงานประจำเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ปิดบัญชี
และหากเอกสารบัญชีดังกล่าวสูญหาย หรือเสียหาย ต้องนำแจ้งต่อสารวัตรบัญชีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่รับรู้ กรณีนี้หากไม่ดำเนินการนิติบุคคล และผู้กระทำการแทน มีความผิดถูกปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ปรึกษา งานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
บริการรับวิเคราะห์งบการเงิน
บทบาทหน้าที่ของสำนักงานบัญชี
1 การยื่นแบบภาษี ยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 เมื่อมีการจ่ายเงินให้พนักงานแบบ ยื่นภ.ง.ด.3 เมื่อมีการจ่ายเงินให้บุคคลธรรมดา ยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 เมื่อมีการจ่ายเงินให้นิติบุคคล ยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 เมื่อมีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแบบ ภ.พ. 30 และจัดทำรายงานภาษีซื้อภาษีขาย และจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ยืนแบบ ภ.พ. 36 เมื่อกิจการมีการจ่ายค่าบริการไปต่างประเทศ ดำเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ซึ่งภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อสิ้นปี
2 งานประกันสังคม ดำเนินการนำส่งเงินสมทบประกันสังคมรายเดือน การแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ กรณีมีการจ้างลูกจ้างเพิ่ม แจ้งสถานภาพสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนของลูกจ้างที่ลาออก ยื่นแบบสรุปรายการนำส่งเงินสมทบประกันสังคมประจำปี (กท.20)
3 ดำเนินการจัดทำบัญชี และปิดงบการเงิน พร้อมส่งตรวจสอบตามข้อบังคับประจำปี ทำหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน, ใบกำกับภาษี ให้ถูกต้องและครบถ้วน
4 จัดทำงบการเงินประจำปี ยื่นงบการเงินและยื่นภาษีประจำปี ตามกำหนกระยะเวลาที่กฎหมายบังคับ จัดทำงบการเงินประจำปี ซึ่งได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น และหมายเหตุประกอบงบการเงิน
5 จัดทำบัญชีรายวันแต่ละประเภท ที่กฎหมายบังคับให้ทำ อาทิบัญชีเงินสดรายวัน บัญชีรายวันซื้อ-รายวันขาย บัญชีธนาคารแต่ละเลขที่ธนาคาร
6 จัดทำบัญชีแยกประเภทต่างๆ เช่น บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ จัดทำบัญชีสินค้า ,จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน เป็นต้น
7 ทำการปิดบัญชีประจำปีของกิจการ จัดทำข้อมูลประกอบการปิดงบการเงิน อาทิ สรุปรายการคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด หรือแสดงการกระทบยอดเงินฝากธนาคาร
8 ยื่นเรื่องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของนิติบุคคล
9 ทำหน้าที่เป็นผู้แทนนิติบุคคล กิจการ ในการให้ข้อมูล และตอบคำถามให้กับผู้สอบบัญชี ในกรณีที่มีการตรวจสอบและรับรองงบการเงิน ให้คำปรึกษาด้านบริหารงานธุรกิจงานบัญชีภาษี
ปรึกษา งานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
ที่ปรึกษาบัญชี
บทบาทหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการ ต่อสำนักงานบัญชี
1. ออกเอกสารบิลบันทึกเอกสารให้ถูกต้องตรงเวลาตามจริง และรวบรวมส่งเอกสารให้กับ สนง.บัญชีทุก ๆ เดือน เอกสารดังกล่าว เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบแจ้งหนี้หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
2. นำส่ง Bank Statement ให้กับ สนง.บัญชีทุกเดือน Bank Statement หรือการเคลื่อนไหวเงินในบัญชีธนาคาร เป็นเอกสารที่สำคัญมาก เพราะมีการแสดงเงินเข้าออก ในแต่ละวัน ทั้งนี้เพื่อให้ สนง.บัญชีตรวจสอบว่าบัญชีมีความปิดปกติหรือไม่
3. เมื่อเจ้าของกิจการทำสัญญาใดๆ ปรึกษาหรือแจ้งให้ สนง.บัญชีทราบ หากเจ้าของกิจการตัดสินใจทำการค้า หรือทำสัญญาเงินกู้ แล้วไม่แจ้ง สนง.บัญชี อาจทำให้เกิดความผิดพลาดทางการบันทึกบัญชี
4. การเบิกถอนเงินออกจากบริษัทเข้าบัญชีส่วนตัวใดๆ ปรึกษาหรือแจ้งสนง.บัญชี ด้วยกิจการนิติบุคคลนั้นแยกออกมาจากเรื่องส่วนตัวหากเบิกเงินของบริษัทมาใช้ส่วนตัวอาจเกิดปัญหาตามมา เกิดเงินให้กู้ยืมกรรมการสูง ซึ่งต้องจ่ายภาษีเรื่องการกู้ยืมเพิ่มเติม
ปรึกษา งานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
บริการรับทำบัญชี ราคาประหยัด
จ้างทำบัญชี ประหยัดเวลาลดภาระค่าใช้จ่าย
ดังที่ได้กล่าวไว้ว่า สำนักงานบัญชี ที่รับทำบัญชีช่วยคุณประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลาและลดภาระเรื่องทำบัญชี เพราะคุณจะได้ผู้เชี่ยวชาญมาทำบัญชีที่ถูกต้องตามกฎหมาย ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานบัญชีประจำ
ลดความเสี่ยงในการทำผิดกฎหมายและเสียค่าปรับ ทำให้คุณสามารถใช้เวลาที่เหลือไปบริหารพัฒนากิจการของคุณให้ก้าวหน้า แต่อย่างไรก็ตามคุณต้องลองค้นหาและพิจารณา สนง.บัญชี ที่มีประสบการณ์เชียวชาญการทำบัญชีตอบโจทย์ความต้องการ
เปรียบเทียบประสบการณ์ผลงาน ค่าใช้จ่ายที่สนง.บัญชี แต่ละแห่งเสนอมา ที่สำคัญขอทิ้งความเชื่อที่ว่า บริการดี ของดี ต้องราคาแพง เปิดใจคุยกับสนง.บัญชี ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือก
ปรึกษา งานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
รับจดทะเบียนบริษัท ราคาประหยัด ปรึกษาฟรี
แชร์บนเฟสบุ๊ค
บทความที่น่าสนใจ
สร้างธุรกิจส่วนตัว
รับปิดงบการเงิน ปิดงบย้อนหลัง ปิดงบเปล่า
รับจดทะเบียนบริษัท ยุคโควิด 19
สภาวิชาชีพบัญชี
ลักษณะงานบัญชี ผู้ทำบัญชี
ให้คำปรึกษาจดทะเบียนบริษัท
จองชื่อบริษัท ง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเอง
รับทำบัญชี สมุทรปราการ ใส่ใจดูแล ราคาประหยัด
รับจ้างทำบัญชี ราคาถูก
จ้างบัญชีประจำ หรือจ้างรับทำบัญชี
การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด
ค่าบริการรับทำบัญชี
รับทำบัญชี คลินิกเสริมความงาม
ราคาค่าบริการ ค่าธรรมเนียม จดทะเบียนบริษัท
ทำบัญชี สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่