ตรวจนับสินค้าคงเหลือ นับสต๊อกสินค้า
ความสำคัญสิ่งที่นักบัญชีทุกคนต้องปฏิบัติเป็นประจำทุกปีคือ การตรวจนับสินค้าคงเหลือ เพื่อลดปัญหาความผิดพลาดปริมาณสินค้าคงเหลือ และช่วยทำให้งบการเงินมีความถูกต้องแม่นยำอยู่เสมอ
การตรวจนับสินค้าคงเหลือ การนับสต็อกสินค้า เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติเป็นประจำอยู่ทุกปี เพราะกิจการใดที่มีการนับสต็อกสินค้าอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดปัญหาความผิดพลาดเรื่องปริมาณสินค้าคงเหลือ
จะช่วยทำให้ตัวเลขในงบการเงินมีความถูกต้องแม่นยำอยู่เสมอ ลดความเสี่ยงที่จะถูกกรมสรรพากรตรวจสอบและเสียภาษีเพิ่มเติมได้ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจวิธีการบันทึกบัญชีของสินค้าคงเหลือกันก่อน
เพื่อผู้ประกอบการจะได้เลือกใช้วิธีที่เหมาะสมในการบันทึกบัญชีเข้ากับลักษณะ ขั้นตอนการตรวจนับสินค้าคงเหลือ และความสำคัญของสินค้าคงเหลือ
สนใจปรึกษา ติดต่อ
โทรศัพท์ : 097 236 2994
Add Line : p2pacc
บริการรับทำบัญชี ราคาที่ประหยัด ตามขนาดของกิจการ
ความสำคัญของสินค้าคงเหลือ
สินค้าคงเหลือ หมายถึง สินค้าสำเร็จรูปได้ผ่านขั้นตอนการผลิตมาอย่างสมบูรณ์ เตรียมพร้อมสำหรับการขาย ในด้านบัญชี สินค้าคงเหลือจะหมายรวมถึง สินค้าสำเร็จรูป สินค้าระหว่างการผลิต วัตถุดิบ และวัสดุโรงงานที่ใช้ผลิต มีรายละเอียดดังนี้
1. สินค้าสำเร็จรูป คือ สินค้าที่ผลิตอยู่ในสภาพพร้อมขายโดยสมบูรณ์ โดยมีต้นทุนประกอบด้วยวัตถุดิบ ค่าแรง ค่าใช้จ่ายในการผลิต
2. สินค้าระหว่างการผลิต คือ สินค้าที่กำลังอยู่ในกระบวนการผลิต ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ โดยมีต้นทุนเช่นเดียวกับสินค้าสำเร็จรูป
3. วัตถุดิบทางตรง คือ สิ่งที่กิจการซื้อเพื่อนำมาแปรสภาพหรือผลิตสินค้าสำเร็จรูป
4. วัตถุดิบทางอ้อม หรือ วัสดุโรงงาน เป็นสิ่งที่ใช้ในการผลิตแต่ไม่ใช่ส่วนประกอบโดยตรงของสินค้าสำเร็จรูป ยากแก่การคำนวณ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีคำนวณเป็นงวด ๆ การผลิตและส่วนที่เหลืออยู่ให้ถือเป็นสินค้าคงเหลือของงวดนั้น
จะเห็นได้ว่า สินค้าคงเหลือในทางบัญชีประกอบด้วย 4 รายการหลัก ซึ่งจำเป็นต้องวัดมูลค่าของสินค้าคงเหลือเหล่านี้ และแสดงในงบการเงินให้ถูกต้อง ราคาที่ใช้ในการบันทึกสินค้าคงเหลือจะต้องเป็นราคาทุน เป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆที่เกิดขึ้นในการจัดหาหรือผลิตสินค้า ประกอบไปด้วย
**ค่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต อ้างอิงจากราคาที่ซื้อตามใบกำกับภาษีจากผู้ขาย หักด้วยประมาณการของส่วนลดการค้า (จากผู้ขาย)
**ค่าแรงในการผลิต ให้คิดคำนวณจากค่าจ้างรายวันหรือรายเดือน นำมาคำนวณเป็นต้นทุนในการผลิต
**ค่าใช้จ่ายต่าง ๆที่ได้จ่ายไปเพื่อให้ได้สินค้านั้นมา เช่น ค่าประกันภัยสินค้าระหว่างขนส่ง ค่าภาษีอากร
และเนื่องจากสินค้าคงเหลือเป็นรายการสินทรัพย์หมุนเวียนที่สำคัญ เพราะเป็นสินทรัพย์ที่สร้างรายได้และผลกำไรขาดทุนโดยตรงให้กิจการ ก่อนทำบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ นักบัญชีควรเลือกวิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือให้เหมาะสม โดยมีให้เลือกหลายวิธีเช่น
สนใจปรึกษา ติดต่อ
โทรศัพท์ : 097 236 2994
Add Line : p2pacc
ทำบัญชี รายเดือน รายปี ราคาถูก
1.วิธีเข้าก่อน ออกก่อน (First-in, First-out)
วิธีเข้าก่อน ออกก่อนเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมาก โดยสินค้าที่เข้ามาก่อนย่อมต้องออกไปก่อนทุกครั้ง ต้นทุนของสินค้าที่ซื้อเข้ามาก่อนจะเป็นต้นทุนขาย
และต้นทุนสินค้าที่เข้ามาทีหลัง จึงเป็นสินค้าคงเหลือ หากทำเช่นนี้ใกล้สิ้นปีสินค้าคงเหลือจะมีมูลค่าใกล้เคียงกับตลาดมากที่สุด สะท้อนฐาะนการทางการเงินของกิจการได้ใกล้เคียงกับความจริง
2.วิธีคิดราคาทุนที่ระบุเฉพาะ
เนื่องจากสินค้าแต่ละชิ้นจะมีมูลค่าเป็นของตัวเอง วิธีนี้เหมาะกับสินค้ามูลค่าสูงที่มีการขายไม่บ่อยนัก ซึ่งเป็นการบันทึกสินค้าคงเหลือด้วยวิธีนี้ต้องเลือกสินค้าให้เหมาะสม เพราะอาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงเกินจำเป็นในงบการเงินส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์สถานะการเงินของกิจการได้
3.วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
วิธีเฉลี่ยต้นทุนให้กับสินค้าทุกหน่วย ๆ ละเท่า ๆ กัน โดยการนำผลรวมราคาทุนของสินค้าทั้งหมดหากด้วยจำนวนหน่วยสินค้าที่ขาย จากนั้นนำมาถ่วงน้ำหนักในแต่ละหน่วยสินค้า
ซึ่งเหมาะกับสินค้าย่อยปริมาณมาก ๆ ที่ปนกัน แต่ข้อเสียคือไม่สามารถสะท้อนราคาที่แท้จริงของตลาดได้ อาจทำให้งบการเงินมีความคลาดเคลื่อน
วิธีการบันทึกบัญชีของสินค้าคงเหลือ
วิธีการบันทึกบัญชีของสินค้าคงเหลือมีด้วยกัน 2 ระบบคือ
1.วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method)
เป็นวิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือทุกครั้งที่มีความเคลื่อนไหวของสินค้า ทำให้ยอดสินค้าคงเหลือ อัปเดตเป็นปัจจุบันตลอดเวลา โดยการบันทึกรายการที่เกี่ยวของกับสินค้าคงเหลือ
ได้แก่ รายการซื้อขาย ส่งคืน รับคืนสินค้า ไว้ในบัญชีสินค้าคงเหลือ และบันทึกราคาทุนของสินค้าที่ขายไว้ในบัญชีต้นทุนขาย วิธีนี้จะเหมาะสำหรับธุรกิจขายส่ง ธุรกิจที่ต้องการทราบยอดเคลื่อนไหวของสินค้าตลอดเวลา
หรือ ธุรกิจที่มีต้นทุนสินค้าราคาแพงธุรกิจที่ขายสินค้าที่มีปริมาณขายไม่สูงมากนักแต่ราคาขายต่อหน่วยสูง และคำนวณต้นทุนต่อหน่วยได้ง่าย เช่น ธุรกิจรถยนต์ บ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า
2.วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด (Periodic Inventory Method)
เป็นวิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อถึงสิ้นงวด โดยจะไม่มีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือระหว่างงวด โดยจะบันทึกเมื่อมีการซื้อสินค้าที่บัญชีซื้อและไม่บันทึกบัญชีต้นทุนขายทุกครั้งที่มีการขาย
กิจการสามารถทราบจำนวนสินค้าคงเหลือ ณ เวลาปัจจุบันได้จากการตรวจนับสินค้า ซึ่งกิจการจะทำการตรวจนับ ณ วันสิ้นงวดบัญชี และ สำหรับธุรกิจซื้อมาขายไป ต้นทุนขายคำนวณจากผลต่างของสินค้าที่มีไว้เพื่อขายกับสินค้าคงเหลือปลายงวด
วิธีนี้เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีสินค้าหลากหลายชนิด มีราคาขายต่อหน่วยไม่สูงมาก แต่ปริมาณการขายในแต่ละวันมีจำนวนมาก และมีความถี่ในการขายเช่น ร้านค้าปลีก ร้านขายยา ร้านเครื่องเขียน ห้างสรรพสินค้า
วิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกต่อการทำงานของนักบัญชีเพราะไม่ต้องบันทึกรายการทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ช่วยประหยัดเวลาในการบริหารจัดการสินค้าคงเหลือของกิจการ โดยผู้ประกอบการสามารถใช้สต็อกการ์ด หรือ
รายงานสินค้าคงเหลือมาเป็นตัวช่วยบันทึกการเคลื่อนไหวของสินค้าคงเหลือในระหว่างงวดได้ การตรวจนับสินค้าคงเหลือ จึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะกิจการที่ใช้การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Periodic การตรวจนับสินค้าจะทำให้ทราบจำนวนสินค้าคงเหลือ
ณ วันสิ้นงวดและนำไปใช้คำนวณต้นทุนขายของสินค้าได้อย่างถูกต้อง ซึ่งกิจการส่วนใหญ่วิธีการตรวจนับสินค้าคงเหลือปีละครั้ง แต่มีบางกิจการที่ตรวจนับสินค้าทุกสิ้นงวดแล้ว ยังมีการตรวจนับเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน เป็นต้น
สนใจปรึกษา ติดต่อ
โทรศัพท์ : 097 236 2994
Add Line : p2pacc
อ่าน ภาษีขายของออนไลน์ Shopee Lazada Tictok
ขั้นตอนการการตรวจนับสินค้าคงเหลือ
1.วางแผนการตรวจนับสินค้าคงเหลือก่อนนับสินค้าให้ครอบคลุมสินค้าคงเหลือทุกประเภท
1.1 Trading Company ที่มีการจัดเก็บสินค้าหลายแห่ง หรือมีหลายสาขา ต้องรวบรวมสินค้าคงเหลือที่มีอยู่กระจายหลายที่มาให้ครบถ้วน
1.2 Manufacturing มีสินค้าอยู่ในกระบวนการผลิต ได้แก่ วัตถุดิบ งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูป บริษัทต้องตรวจนับให้ครบทุกกระบวนการผลิตสินค้าที่ค้างอยู่ในไลน์การผลิตด้วย
และวันตรวจนับบริษัทควรหยุดผลิตสินค้า เพราะถ้าผลิตไปพร้อมกับตรวจนับอาจทำให้สินค้าในแต่ละกระบวนการผลิตเคลื่อนที่ไปตลอด ส่งผลให้การตรวจนับอาจผิดพลาดได้เช่น นับซ้ำ ลืมนับ.
1.3 กำหนดบุคลากรในการตรวจนับ ควรกำหนดให้เพียงพอต่อปริมาณสินค้าที่ตรวจนับ และต้องมีบุคลากรที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดูแลสินค้าร่วมตรวจนับ
2.การดำเนินการขณะตรวจนับ
2.1 สินค้าที่อยู่ใน List กับของจริงต้องมีจำนวนเท่ากัน และไม่มีสินค้าชนิดที่ไม่ถูกตรวจนับ หรือมีสินค้าแต่ไม่มี่อยู่ใน List หรือมีอยู่ใน List แต่ไม่มีสินค้า
2.2 ควรจัดเรียงสินค้าให้ง่ายต่อการตรวจนับ มี Tag ของสินค้าแต่ละประเภทติดกับตัวสินค้า
2.3 ตรวจดูสภาพสินค้าว่ามีสภาพสมบูรณ์จริง ไม่ชำรุดเสียหาย หมดอายุหรือเสื่อมสภาพ หากมีให้คิดแยกออกมา
3.หาสาเหตุหากมีผลต่าง
สาเหตุของผลต่าง อาจเกิดได้จากการนับผิดพลาด คลาดเคลื่อน หรือ การบันทึกบัญชีซื้อและขายไม่ถูกต้อง หรือสินค้าสูญหายกรณีหาสาเหตุได้แล้ว ให้แก้ไขให้ถูกต้องโดยการปรับปรุงรายการ และสำหรับกรณีสินค้าสูญหาย ให้ยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าที่ขาดเกินบัญชี
การตรวจนับสินค้าคงเหลือ จึงมีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักบัญชีและผู้ประกอบการ เพื่อช่วยในการบริหารสินค้าคงคลังของกิจการกิจการสามารถควบคุมต้นทุนได้
มีสินค้าขายเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า และกิจการทราบข้อมูลสินค้าหมดอายุ สินค้าชำรุดเสื่อมสภาพ สินค้าสูญหาย เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการบริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ