รับปิดงบการเงิน ปิดงบย้อนหลัง ปิดงบเปล่า
สิ่งสำคัญสำหรับท่านเจ้าของธุรกิจ นอกจากการรับทำบัญชีแล้ว หัวใจหลักด้านจัดทำข้อมูลธุรกิจคือ การรปิดงบการเงิน เพื่อทราบข้อมูลด้านการเงินของกิจการ เห็นถึงภาพรวมทั้งหมดของการประกอบการธุรกิจ
เพื่อนำมาวิเคราะห์สถานะงบการเงิน และนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและเผยแพร่ต่อผู้เกี่ยวข้องต่อธุรกิจ สิ่งนั้นคือ “งบการเงิน” ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ ”งบการเงิน” “การจัดทำงบการเงิน” “การรับปิดงบการเงิน”
โดยสำนักงานบัญชี พีทูพี รับปิดงบการเงิน ปิดงบย้อนหลัง ปิดงบเปล่า ที่จะช่วยให้ท่านนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าตามกฎหมายและสามารถนำไปเป็นข้อมูล
ในการตัดสินใจเลือกแนวทางในการดำเนินธุรกิจ ว่าควรจะเดินหน้าต่อไปหรือหยุดพักฟื้นฟูกิจการ ตามหลักการธุรกิจ เพื่อการกลับมาเดินหน้าต่อไป
ปรึกษางานปิดงบการเงิน
โทรศัพท์ : 097 236 2994
Add Line : p2pacc
แนะนำอ่าน บริการรับทำบัญชี ราคาประหยัด
ปิดงบการเงินคือ
งบการเงิน คือ รายงานทางด้านการเงินด้านการบัญชีของการประกอบกิจการ โดยสรุปข้อมูลการบัญชีที่ผ่านมาเมื่อครบงวดบัญชี เช่น ครบรอบ 1ปี จัดทำเป็นรายงาน “งบการเงิน” ของกิจการ
เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการ วิเคราะห์ สถานะการเงิน ผลของการดำเนินงานของกิจการกล่าวโดยสรุปก็คือ งบการเงินก็คือ นำการข้อมูลทางบัญชีที่ทำไว้ตลอดปีมาสรุปนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าตามกฎหมาย
ใครที่ต้องปิดงบการเงิน
ผู้ประกอบการธุรกิจที่ต้องจัดทำงบการเงินตามที่กฎหมายกำหนดไว้ก็คือกลุ่มผู้ประกอบกิจการที่เป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้
(1) กิจการบริษัทจำกัด (2) กิจการห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน (3) กิจการบริษัทมหาชนจำกัด (4) กิจการของนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
วัตถุประสงค์ของการจัดทำ “งบการเงิน”
1.เพื่อแสดงผลการดำเนินกิจการ และแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ
2.เพื่อแสดงข้อมูลที่บ่งบอกถึงความสามารถของฝ่ายบริหารกิจการว่าบริหารงานได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้หรือไม่
3.เพื่อแสดงถึงผลกระทบทางการเงินจากเหตุการณ์ในอดีตและผลกระทบที่จะเกิดในอนาคตซึ่งจะทำให้กลุ่มผู้ใช้เงินในการลงทุน อาทิ ผู้ถือหุ้นของกิจการ เจ้าหนี้ของกิจการ
มีข้อมูลในการตัดสินใจว่าควรจะลงทุนหรือถือหุ้นกิจการนั้นๆ ต่อไปหรือไม่ เพราะงบการเงิน จะทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากกิจการทราบถึงสถานะของกิจการที่แท้จริงในช่วงเวลาปัจจุบัน
ข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา และเล้งเห็นถึงเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งในแง่ของเจ้าของกิจการข้อมูลจากงบการเงิน ก็จะทำให้เจ้าของกิจการได้มีโอกาสแก้ไขการบริหารกิจการ เพื่อปรับปรุงสถานะทางการเงินของกิจการให้ดีขึ้นได้
ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากข้อมูลของงบการเงิน
1.ผู้เป็นเจ้าของเงินทุน เพราะผู้เป็นเจ้าของเงินทุนคือผู้ที่ได้รับผลตอบแทนและรับความเสี่ยงในการลงทุนโดยตรงงบการเงินจึงเป็นสิ่งที่จะแสดงให้เห็นได้ว่า ผลการดำเนินงานของกิจการที่ลงทุนนั้นเป็นอย่างไรและสามารถคาดการณ์ถึงเงินปันผลที่จะได้รับจากการดำเนินการ รวมทั้งมูลค่าหนี้ของกิจการด้วย
2.เจ้าหนี้ การดำเนินกิจการส่วนใหญ่จะมีเจ้าหนี้หลากหลายรายการเช่น เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้ผ่อนชำระ หรือเจ้าหนี้เงินกู้ระยะสั้นและเจ้าหนี้เงินกู้ระยะยาว ซึ่งงบการเงินจะช่วยให้เจ้าหนี้ของกิจการประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการนั้นๆได้ว่าจะสามารถผ่อนชำระได้ต่อหรือไม่ ?
3.ผู้บริหาร งบการเงินเป็นข้อมูลสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้บริหารต้องนำไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงานของกิจการทั้งระยะสั้นและระยะยาวและนำไปใช้ในการตัดสินใจในหลายๆด้านของการดำเนินกิจการ เพื่อควบคุม แก้ไขและติดตามเพราะถึงแม้ว่างบการเงินจะเป็นเรื่องของเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา แต่ก็ใช้เป็นประโยชน์ต่อการคาดเดาแนวโน้มสถานะทางการเงินในอนาคตของกิจการที่จะเกิดขึ้นได้
ปรึกษางานปิดงบการเงิน
โทรศัพท์ : 097 236 2994
Add Line : p2pacc
ประโยชน์ของการทำบัญชี VS เทคนิคหาคนทำบัญชี
งบการเงินประกอบด้วยข้อมูลอะไรบ้าง
1.งบแสดงฐานะการเงิน
งบส่วนนี้ จะแสดงถึงภาพรวมของกิจการว่ามีสถานะทางการเงินเป็นอย่างไร มีสินทรัพย์และหนี้สินของกิจการเท่าไหร่ รวมถึงทำให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารการเงินของกิจการ
ความสามารถในการชำระหนี้ว่าสามารถจัดการได้แค่ไหนนอกจากนั้น งบแสดงฐานะการเงินของกิจการ จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าในการตัดสินใจเซ็นสัญญาซื้อขายหรือกับสถาบันทางการเงินที่จะตัดสินในการปล่อยสินเชื่อเงินกู้ที่จะนำมาใช้ในกิจการด้วย
2.งบกำไรขาดทุน
ข้อมูลของงบกำไรขาดทุนจะแสดงให้เห็น ความสามารถในการทำกำไรของกิจการ และมองทะลุไปถึงโครงสร้างของกิจการในเรื่องรายรับรายจ่ายว่าเป็นอย่างไรและงบส่วนนี้จะช่วยให้ผู้บริหารนำข้อมูลไปวิเคราะห์ในการจัดทำแผนงาน
หรือการวางกลยุทธ์ในการดำเนินงานของกิจการได้เป็นอย่างดีนอกจากนั้นตัวเลขของงบการเงินในส่วนของ งบกำไรขาดทุน ยังนำไปใช้ในการคำนวณการเสียภาษีให้กับกรมสรรพากรทำให้สามารถวางแผนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นได้
3.งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
งบในส่วนนี้จะแสดงยอดการลงทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นตลอดทั้งปีว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงจากสาเหตุใด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นจะทำให้เห็นยอดเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น
ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปลายปีนั้นๆว่ามีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากอะไรบ้าง เช่นเปลี่ยนแปลงเพราะมีการชำระทุนบริษัทเพิ่มขึ้น หรือเงินทุนลดลงเพราะการจ่ายเงินปันผล
ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ จะช่วยให้เจ้าของกิจการหรือ ผู้ถือหุ้น ได้เตรียมพร้อมที่จะรับกับความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต รวมไปถึง การคาดการณ์ในเรื่องของเงินปันผลด้วย
4.งบกระแสเงินสด
งบการเงินในส่วนนี้ จะแสดงให้เห็นที่มาที่ไปของกระแสเงินสดว่าเพิ่มหรือลดลงแค่ไหนอย่างไร มีรายการใดที่เป็นที่มาของกระแสเงินสด เช่น การลงทุน การชำระหนี้เงินกู้
ซึ่งข้อมูลของงบกระแสเงินสดจะช่วยให้สามารถนำไปวางแผนการในเรื่องค่าใช้จ่ายและการใช้เงินได้รอบครอบขึ้น ยังช่วยให้เห็นถึงสภาพเงินคล่องของกิจการด้วย
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
เราจะไม่เห็น หมายเหตุประกอบงบการเงินจากในส่วนประกอบของงบการเงินทั้ง 4 ส่วนข้างต้นที่กล่าวมา ซึ่งหมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของงบการเงิน
ที่มีรายละเอียดมากกว่างบด้านอื่นๆ เพราะเป็นการแจกแจงรายละเอียดของการคิดตัวเลขในบัญชีทั้งหมดทั้งเรื่องการคำนวณค่าเสื่อมราคา การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน
รายละเอียดเจ้าหนี้-ลูกหนี้ของกิจการและการถือหุ้นของกิจการในกิจการอื่นๆหมายเหตุประกอบการเงินจึงเป็นส่วนของงบการเงินที่จะช่วยให้ทำให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นมิติทางการเงินของกิจการได้ดียิ่งขึ้น
วิธีการจัดทำงบการเงินและเรื่องของผู้ตรวจสอบบัญชี
สำหรับผู้ประกอบกิจการ เรื่องการจัดทำบัญชีเป็นเรื่องของกฎหมายที่บังคับให้นิติบุคคลมีหน้าที่ต้องจัดทำโดยต้องมี “ผู้ตรวจสอบบัญชี” เข้ามาช่วยตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีว่าถูกต้องหรือไม่
และ “งบการเงิน” ก็คือผลลัพธ์ของการทำบัญชี และเป็นชุดของข้อมูลทางการเงินที่จะทำให้กิจการได้รู้ถึงความเคลื่อนไหวในการดำเนินกิจการ เป็นข้อมูลที่รายงานสถานะทางการเงินและทางบัญชีของกิจการในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งที่ได้จัดทำ
ปรึกษางานปิดงบการเงิน
โทรศัพท์ : 097 236 2994
Add Line : p2pacc
รับสอบบัญชี ออดิท เซ็นต์งบ โดยผู้ตรวจสอบบัญชี
หลักการปิดงบการเงิน
การทำการปิดงบการเงินของกิจการ ก็เพื่อนำส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ และสรรพากร ซึ่งเป็นหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ว่า กิจการใดที่จดทะเบียนนิติบุคคล
จะต้องปิดงบการเงินและนำส่งปีละ 1 ครั้ง โดยการจัดทำงบการเงินต้องจัดหาผู้ทำบัญชี และผู้ตรวจสอบบัญชีเพื่อให้สามารถดำเนินการจัดส่งงบการเงินได้ตามกำหนด
การปิดงบการเงินของกิจการทั่วไป จะจัดทำโดยพนักงานประจำของกิจการที่อยู่ในตำแหน่งผู้ทำบัญชี หรือ ผู้จัดการแผนกบัญชีแต่หากเป็นกิจการเปิดใหม่
หรือเป็นกิจการขนาดเล็ก ที่ยังไม่มีทุนจ้างพนักงานบัญชีประจำ ก็จะนิยมใช้บริการจากสำนักงานบัญชีหรือผู้ทำบัญชีอิสระที่รับปิดงบการเงิน รวมถึงรับทำบัญชีและภาษีเป็นผู้จัดทำบัญชีและงบการเงิน
ขั้นตอนการปิดงบการเงิน
เพราะงบการเงินคือผลลัพธ์ของการทำบัญชีอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปีดังนั้นในเบื้องต้น หากจะจัดทำงบการเงิน หรือปิดงบการเงินเพื่อนำส่งตามกฎหมาย ผู้ทำบัญชีของกิจการจะต้อง
บันทึกข้อมูลทางบัญชีภาษีต่างๆ เป็นรายเดือน และต้องจัดเก็บเอกสารการจัดซื้อ ใบเสร็จ บิลเจ้าหนี้ลูกหนี้ โดยแยกทั้งเอกสารและการบันทึกที่เป็นข้อมูล รายรับรายจ่ายไว้ให้เป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน
ขั้นตอนในการจัดทำงบการเงิน
1.จัดรวบรวมเอกสารทางการเงินให้เป็นหมวดหมู่และจัดเรียงเลขที่เอกสารตามลำดับ เพื่อความสะดวกในการสรุปยอดบัญชี
2.หากกิจการมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำรายงาน พร้อมแนบเอกสารใบกำกับภาษีการซื้อ-การขายให้ครบถ้วน
3.จัดเตรียมรายงานเดินบัญชีของการเงินในแต่ละเดือนให้ครบหากขาดเดือนใดเดือนหนึ่ง ต้องไปขอรายการเดินบัญชีจากธนาคารให้ครบ ทั้งนี้เพื่อให้สะดวกต่อการตรวจสอบ
4.เมื่อเตรียมเอกสารต่างๆ ได้ครบถ้วนแล้ว กิจการใดที่มีพนักงานบัญชีประจำก็เริ่มจัดทำงบการเงินได้เลย และสำหรับกิจการที่ไม่มีพนักงานบัญชีประจำ ก็ให้เลือกใช้บริการสำนักงานบัญชีเพื่อทำการปิดงบการเงิน
5.เมื่อดำเนินการปิดงบการเงินเสร็จแล้ว รวบรวมและจัดเก็บเอกสารของการปิดงบการเงิน ในแต่ละรอบบัญชี เช่นสมุดรายวันแยกประเภท ทะเบียนทรัพย์สินสมุดรายวันรับ-รายวันจ่าย แล้วจัดเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาการสืบหาหลักฐานอ้างอิงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
6.นำส่งงบการเงินที่ปิดงบเรียบร้อยแล้ว ให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมกสรรพากรภายใน 150 วัน โดยนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีโดยงบการเงินที่นำส่งจะต้องผ่านการตรวจสอบบัญชีว่าถูกต้อง
และได้รับความคิดเห็นจาก“ผู้ตรวจบัญชีรับอนุญาต” ที่เป็นอิสระไม่ใช่บุคลากรของกิจการ ซึ่งปัจจุบันผู้ตรวจสอบบัญชีฯ จำนวนมาก เนื่องจากการตรวจสอบบัญชี เป็นงานที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าเมื่อกิจการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องจัดทำงบการเงินและต้องนำส่งงบการเงินให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปีละ 1 ครั้ง
คุณสมบัติของผู้ตรวจสอบบัญชีที่จะเลือกใช้บริการ
การเลือกผู้ตรวจสอบบัญชีมาตรวจสอบงบการเงิน เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควนมองข้ามเพราะหากเลือกผู้ตรวจสอบที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนถือว่างบการเงินที่นำส่งนั้นไม่มีความสมบูรณ์ มาดูกันว่า คุณสมบัติที่สำคัญต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
1.ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น “ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต”
2.ต้องจบปริญญาทางการบัญชี หรือประกาศนียบัตรทางการบัญชี ที่ทาง ก.บช.(คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี) ว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือ เป็นผู้ได้รับปริญญาหรือ ประกาศนียบัตรที่ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีโดยต้องศึกษาวิชาการบัญชี ที่ทาง ก.บช.เห็นสมควรว่าให้สามารถเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้
3.ต้องมีประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านการสอบบัญชีมาแล้วและทาง ก.บช. เห็นว่าสามารถทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้
4.มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
5.เป็นผู้ที่ไม่มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือมีความบกพร่องทางศีลธรรม
6.ไม่มีประวัติการต้องโทษจำคุกในคดีที่ก.บ.ช. พิจารณาว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อวิชาชีพ
7.เป็นผู้มีสติสมประกอบ ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือมีสภาพจิตฟั่นเฟือน
8. เป็นผู้ไม่ประกอบอาชีพอื่นๆที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นอาชีพที่ทำให้ไม่มีความเป็นอิสระในหน้าที่การตรวจสอบบัญชี
9.ต้องมีสถานะเป็นผู้สอบบัญชีเป็นปัจจุบัน ที่ไม่อยู่ระหว่างการพักหรือเพิกถอนใบอนุญาตผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
สรุป
อ่านบทความมาถึงตรงนี้ คงมองเห็นแล้วว่า การรับปิดงบการเงินเป็นเรื่องที่ละเอียดในทุกขั้นตอน ผู้ปิดงบการเงิน ต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการจัดทำ
หากมีพนักงานบัญชีที่ยังไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการปิดงบการเงินสามารถเลือกใช้บริการของ สำนักงานบัญชี ที่ให้บริการแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การรับทำบัญชีภาษี ปิดบัญชี ปิดงบการเงิน
สำนักงานบัญชีที่เป็นผู้ช่วยคุณในการทำบัญชีภาษี รับปิดงบการเงิน ปิดงบย้อนหลัง ปิดงบเปล่า ยื่นงบการเงินกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร
เราตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้ ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ประสบการณ์กว่า 25 ปี