views

มาตรฐานการบัญชี


“มาตรฐาน” คือสิ่งที่คอยกำหนดเกณฑ์ให้แก่สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานด้านการบริการ มาตรฐานด้านการผลิต และมาตรฐานในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย


เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ออกมามีประสิทธิภาพที่สุดนั่นเอง ฉะนั้น มาตรฐานจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของในทุก ๆ อุตสาหกรรมและทุกแวดวง


แม้กระทั่งในเรื่องของการดำเนินการด้านบัญชีเองก็ตาม ก็มีสิ่งที่เรียกว่ามาตรฐานการบัญชีเพื่อให้การดำเนินการในทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎเกณฑ์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด


มาตรฐานการบัญชีคืออะไร?

มาตรฐานการบัญชี (Accounting standard) คือ หลักการด้านบัญชีที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย กล่าวคือมาตรฐานการบัญชีนั้นคือ


กฎเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติที่ได้ถูกนำมาใช้ จากการศึกษาและพัฒนาจากสภาวะแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ กฎหมาย สังคม ตลอดจนด้านการเมือง


ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศตามความเหมาะสม เมื่อหลักเกณฑ์เหล่านี้ถูกนำมาใช้จนเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายแล้ว


ก็ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่ามาตรฐานการบัญชี ขึ้น จนได้ถูกนำมาใช้เป็นหลักในการดำเนินการทางบัญชี เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน


โดยระบบบัญชีในการประกอบธุรกิจ ตลอดจนที่เรานำมาดำเนินการด้านบัญชีกันในปัจจุบันนั้น ล้วนแล้วมีแนวทางปฏิบัติมาจากมาตรฐานการบัญชีทั้งสิ้น


ระบบบัญชีกลายมาเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ เพราะการมีระบบบัญชี เสมือนกับการที่บริษัทได้มีแผนการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการจัดเก็บ


และรวบรวมข้อมูลรายรับ-รายจ่าย การจำแนกประเภทบัญชี สต็อกสินค้า การดำเนินการในด้านเอกสารต่าง ๆ แล้วแต่เป็นการดำเนินการตามแนวทางมาตรฐานการบัญชี


  แนะนำอ่าน บริการรับทำบัญชี ยื่นภาษีออนไลน์


หลักปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี

ไม่ว่าคุณจะดำเนินการในรูปแบบของหน่วยงาน องค์กร ร้านค้า บริษัท หรือแม้กระทั่งการจัดการบัญชีในครอบครัวของคุณเองก็ดี


ก็ถือเป็นระบบการจัดทำบัญชีโดยทั่วไป ที่ตามมาตรฐานการบัญชีเช่นเดียวกัน โดยมาตรฐานการบัญชีมีหลักในการปฏิบัติ ดังนี้


- การรวบรวม คือ ขั้นตอนในการดำเนินการรวบรวมหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านการเงิน ไม่ว่าจะเป็นเอกสารรายรับ-รายจ่าย ใบเสร็จ บิลเงินสด ตลอดจนเอกสารด้านการเงินต่าง ๆ


- การจดบันทึก คือ การจดบันทึกหลักฐานทางการเงินลงในสมุด หรือจะเป็นการบันทึกลงในเอกสารอื่น ๆ ก็ได้เช่นกัน เช่น


การลงทะเบียนซื้อ-ขายสินค้า ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบรายการสินค้าจากใบส่งของหรือใบเสร็จรับเงินก็ได้เช่นเดียวกัน


- การจำแนก คือ ขั้นตอนในการแยกประเภทของบัญชีและจัดให้เป็นหมวดหมู่ เช่น บัญชีต่าง ๆ บัญชีรายรับรายจ่าย ทะเบียนสินค้า ตลอดจนบัญชีเงินสด เป็นต้น


- สรุปผล คือ ขั้นตอนในการสรุปรวบรวมข้อมูลปรับปรุงรายการเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เพื่อใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการดำเนินการจัดทำงบการเงิน เช่น สรุปยอดรายเดือนหรือรายปี เป็นต้น


- การจัดทำงบการเงิน คือ การนำข้อมูลและรายละเอียดที่ได้สรุปผลไว้แล้ว มาจัดทำเป็นงบการเงิน เพื่อให้ทราบถึงสถานะทางการเงิน


ตลอดจนทิศทางการดำเนินการของบริษัท เช่น รายรับ-รายจ่าย หนี้สิน กำไร ขาดทุน ใน 1 รอบบัญชี


ทั้งนี้ หัวใจสำคัญในการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีนั้น คือความถูกต้องและความสม่ำเสมอ กล่าวคือ ข้อมูลที่ลงบัญชีจะต้องเป็น


ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันเสมอ เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบและนำไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด


  บริการรับตรวจสอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)


มาตรฐานสากลรายงานทางการเงิน (IFRS) คืออะไร


นอกจากมาตรฐานการบัญชีแล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่เราควรทำความเข้าใจไว้ก็คือ มาตรฐาน IFRS  มาตรฐาน IFRS คือ มาตรฐานระดับสากล


ที่เกี่ยวข้องกับรายงานทางการเงิน โดยมีการกำหนดกฎพื้นฐานขึ้นมา เพื่อให้ทั่วโลกมีแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้อง โปร่งใส ถูกต้อง และเปรียบเทียบได้


อีกทั้งยังมีประโยชน์ในแง่ของการนำไปใช้เพื่อวิเคราะห์และตัดสินใจในการลงทุนได้อีกด้วย เราจะเห็นได้ว่างบการเงินจากทั่วโลกนั้น


มีรูปแบบที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นั่นเป็นเพราะแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐาน IFRS นั่นเอง โดยมาตรฐานของ IFRS นี้ ถูกประกาศโดย IASB


(คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ) ซึ่งเป็นผู้ที่กำหนดข้อปฏิบัติและแนวทางให้แก่บริษัทและธุรกิจต่าง ๆ ถึงแนวทางในการปฏิบัติ


ว่าควรปฏิบัติอย่างไร ทั้งรูปแบบตลอดจนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของการรายงานบัญชี รวมถึงเหตุการณ์อื่นๆ ที่ส่งผลกระทบทางการเงินอีกด้วย


มาตรฐาน IFRS จึงถือเป็นมาตรฐานหรือภาษาบัญชีที่เป็นสากลและถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานระดับโลก


ให้แก่บริษัทต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ถึงแม้จะช่วยได้มากในแง่ของความโปร่งใส ประสิทธิภาพ และใช้กันอย่างแพร่หลายในการทำงาน


แต่ข้อเสียของ IFRS ก็คือมันยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ในทุกประเทศ กล่าวคือยังมีบางประเทศที่ใช้มาตรฐานอื่น เช่น สหรัฐอเมริกาใช้มาตรฐาน GAAP เป็นต้น


ข้อกำหนดมาตรฐานสากลรายงานทางการเงิน (IFRS)


IFRS เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมหลากหลายกิจกรรมทางการบัญชี มาตรฐานนี้จึงมีอิทธิพลต่อตัวเลขและข้อมูลต่าง ๆ ที่โดยหลัก ๆ แล้ว


จะแสดงอยู่ในงบแสดงฐานะทางการเงิน หรือ Statement of Financial Position นั่นเอง โดยประกอบไปด้วย


- งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (statement of comprehensive income)


- งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสุทธิ (Statement of changes in equity)


- งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flows)


นอกจากข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาในข้างต้นแล้ว บริษัทยังต้องยื่นสรุปนโยบายทางการบัญชีเพิ่มเติมอีกด้วย  ทั้งนี้ เพื่อแสดง


ข้อมูลในส่วนของกำไรและขาดทุน หากบริษัทไหนที่มีบริษัทลูกก็ต้องจัดทำรายงานแยกกับบริษัทแม่ด้วย


มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินอ้างอิงจาก IFRS ที่จะมีผลบังคับใช้ในปี 2554 และ 2556


และนี่คือตัวอย่างของแม่บทการบัญชีที่เรานำมาฝากกัน ได้แก่  TAS 1 (ปรับปรุง 2552) การนำเสอนงบการเงิน TAS 2 (ปรับปรุง 2552)


สินค้าคงเหลือ TAS 7 (ปรับปรุง 2552) งบกระแสเงินสด TAS 12 ภาษีเงินได้ เป็นต้น


TFRS (Thai Financial Reporting Standard)


เราก็ได้ทำความเข้าใจเบื้องต้นไปแล้วสำหรับมาตรฐานการบัญชีระดับโลก ต่อไปเราจะมาทำความรู้จักกับมาตรฐานการบัญชีที่ใช้ในประเทศไทยกันบ้างว่าคืออะไรและมีบทบาทสำหรับอย่างไรบ้าง


มาตรฐานรายงานทางการเงินของประเทศไทย หรือ (Thai Financial Reporting Standard : TFRS) คือ แนวทางปฏิบัติที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ


ภายใต้การดูแลของสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี (Thai Accounting Standards-Setting Committee) จำนวนรวมทั้งสิ้น 15 ท่าน


กระบวนการในการจัดทำ TFRS หรือ Due Process


ในส่วนของกระบวนการในการจัดทำ TFRS มีด้วยกัน 6 ขั้นตอน ได้แก่ การศึกษา วิจัย และติดตาม IFRS  การวางแผนงานในการจัดทำ TFRS


การจัดทำมาตรฐานรายงานทางการเงิน การจัดสัมมนาพิจารณ์ การนำเสนอร่างมาตรฐานฯ กระบวนการหลังจากที่มาตรฐานฯ ได้รับการเผยแพร่


  บริการวางระบบบัญชี Workflow งานฝ่ายบัญชี


บทบาทของ TFRS ที่มีต่อนักบัญชี


1. มีส่วนช่วยในการดำเนินธุรกิจในแง่ของการรวบรวมข้อมูลทางธุรกรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลรายรับ – รายจ่าย


ข้อมูลการซื้อ – ขาย กำไร-ขาดทุน และธุรกรรมอื่น ๆ เช่น ข้อมูลการควบรวมกิจการ หุ้นส่วน เป็นต้น โดยข้อมูลทั้งหลายเหล่านี้จะถูกเก็บรวบรวม


และสรุปในรูปแบบของงบการเงิน เพื่อความโปร่งใสและเข้าใจได้ง่ายต่อเจ้าของธุรกิจ นักลงทุน รวมถึงหุ้นส่วนของบริษัท นอกจากนี้ยังสามารถ


นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ โดยการแสดงหรือนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย ทั้งสถาบันการเงิน กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า


2. เพื่อให้นักบัญชีและบริษัทได้มีแนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง โปร่งใส และเชื่อถือได้ ต่อนักลงทุนและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง


3. เพื่อให้เห็นข้อมูลทางการเงินที่ถูกเก็บรวบรวมไว้เกิดความชัดเจนมากขึ้น


4. เพื่อเป็นการกำหนดแนวทางในการรับรู้และวัดมูลค่าของข้อมูลธุรกรรมที่ถูกบันทึกไว้ในงบการเงิน อีกทั้งเพื่อพัฒนาให้มาตรฐานฯ ของไทยมีความทัดเทียมกับมาตรฐานฯ สากลในระดับโลก


ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ รับข้อเสนอพิเศษ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


  บริการงานวางแผนภาษี ลดหย่อนภาษี ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร



และนี่ก็คือข้อมูลเบื้องต้นของมาตรฐานการบัญชีทั้งในระดับโลกที่ใช้ในประเทศไทย ที่เรานำมาฝากกันวันนี้ อย่างไรก็ตามเราขอแนะนำให้คุณติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ


เนื่องจากกฎเกณฑ์และข้อบังคับอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ติดตามเว็บไซต์ของ สำนักงานบัญชี พีทูพี เพื่อให้ไม่พลาดสาระดี ๆ แบบนี้


มาตรฐานการบัญชีถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ สำนักงานบัญชี พีทูพี ได้ยึดถือและปฏิบัติตามมาอย่างยาวนานกว่า 25 ปีเต็ม เราดำเนินงานด้วย


ผู้ชำนาญงานที่มีความรู้ เข้าใจในเรื่องมาตรฐานการบัญชี คุณจึงมั่นใจได้ว่าบริษัทของคุณ จะได้รับการดูแลที่ถูกต้อง โปร่งใสเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี


ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ รับข้อเสนอพิเศษ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


   บริการติดตั้งและวางระบบ โปรแกรมบัญชี Express


อ้างอิง: https://blog.peakaccount.com/blog

มาตรฐานการจัดทำรายงานทางการเงินมีขั้นตอนการจัดทำอย่างไร, สภาวิชาชีพบัญชีฯ, 31 ต.ค.2560

มาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย(TFRS) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?, Admission Premium,27 ม.ค.2560

พร้อมรับมือกับมาตรฐานใหม่ TFRS9, BOTพระสยาม Magazine

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่9-เครื่องมือทางการเงิน(TFRS9), Actuarial Business Solutions, 20 กุมภาพันธ์ 2563

Journal of Federation of Accounting Professions Volume1 January to April 2019, รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า: หลักการรับรู้รายได้ โดย ดร.ศิลปพร ศรีจั่นเพชรและอนุวัฒน์ ภักดี

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่16 เรื่องสัญญาเช่า(TFRS16), สภาวิชาชีพบัญชีฯ, 11 เมษายน 2562       

บทความที่น่าสนใจ