views

การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี


ผู้ทำบัญชีที่รับผิดชอบการทำบัญชีแก่ผู้ประกอบการ


สำหรับผู้ประกอบหลังจากที่รับจดทะเบียนบริษัท สิ่งที่จำเป็นเบื้องต้นคือผู้ทำบัญชี ที่ดูแลเรื่องการรับทำบัญชียื่นภาษี ให้ครบถ้วนและถูกต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

ซึ่งกิจการจะใช้บุคลากรในบริษัท หรือจะเป็นผู้รับจ้างทำบัญชีจากสำนักงานบัญชี ก็ได้ แต่มีข้อกำหนดต่าง ๆ  ในการได้มาซึ่งการเป็นผู้ทำบัญชีที่ต้องมีคุณสมบัติ มีความรับผิดชอบ จรรยาบรรณ

และการอบรมตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับการผู้ทำบัญชี จะมีข้อกำหนดใดบ้างรวมถึงขั้นตอนต่าง ๆ ในการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี เรามาทำความรู้จักกับการเป็นผู้ทำบัญชี


การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีและความสำคัญของการเป็นผู้ทำบัญชี


สารบัญ
1.ทำความรู้จักกับผู้ทำบัญชี
2.หน้าที่ของการเป็นผู้ทำบัญชี
3.คุณสมบัติของ ผู้ทำบัญชี
3.1 ขั้นตอนต่าง ๆ ในการขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชี
3.2 หลังจากขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังนี้
3.3 ดำเนินการเก็บชั่วโมง CPD
4.สรุป

ทำความรู้จักกับผู้ทำบัญชี


ผู้ประกอบการหลายท่านมีความสงสัยเกี่ยวกับบทบาทความสำคัญของผู้ทำบัญชี แล้วผู้ทำบัญชีที่ว่านี้คือใครกันถ้าให้แปลตามที่พระราชบัญญัติกำหนด แปลว่า

ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่ว่าจะได้กระทำในฐานะเป็นลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม (มาตรา ๔)
 

ในความหมายตามบทบาทที่เข้าใจง่ายที่สุด


ผู้ทำบัญชี แปลว่าผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ประกอบการธุรกิจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของกิจการแห่งหนึ่ง ที่จดทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนดให้กิจการหนึ่งแห่ง

จะต้องมีผู้ทำบัญชี 1 คนซึ่งอาจเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชีหรือผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ ก็ได้ โดยผู้จัดทำบัญชีคนดังกล่าว คือบุคคลที่จบการศึกษาทางด้านบัญชี

ไม่ว่าจะเป็น ปวส.หรือปริญญาตรี ที่จบใหม่ หรือพนักงานบัญชีทั่วไป ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้จัดทำบัญชีโดยจะทำในตำแหน่งหน้าที่ดูแลบัญชีในบริษัทของเจ้าของกิจการโดยตรง

หรือเป็นฟรีแลนด์ที่เปิดสำนักงานบัญชี ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระก็ตามและวุฒิทั้งสองมีคุณสมบัติในการดำเนินงานในขอบเขตความรับผิดชอบที่เหมือนกันเพียงแต่

มีข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ต่างกันเพียงเล็กน้อยทั้งนี้ผู้ทำบัญชีหนึ่งคนจะรับทำบัญชีได้ไม่เกินปีละ 100 แห่ง

บริการรับวางแผนภาษี ลดหย่อนภาษี

ผู้ประกอบกิจการใดบ้างที่ต้องมีผู้ทำบัญชี


1.ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
2.บริษัทจำกัด
3.บริษัทมหาชน
4.กิจการร่วมค้านิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศแต่ว่ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย
5.กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร

หน้าที่ของการเป็นผู้ทำบัญชี


ผู้จัดทำบัญชี มีความสำคัญตามข้อกฎหมายกำหนดที่ต้องเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีให้เป็นไปอย่างถูกต้อง โดยกิจการต่าง ๆที่กล่าวมาข้างต้นจำเป็นต้องใช้ผู้ทำบัญชีในการดำเนินการต่างๆ หน้าที่หลักสำคัญมีดังนี้

1.ผู้จัดการบัญชี
2.การทำบัญชี
3.เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการงานบัญชี
4.ปิดบัญชี
5.งบการเงิน
6.เก็บรักษาบัญชีและเอกสาร

หน้าที่หลักสำคัญนี้เป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดโดยผู้ที่จะเป็นผู้ทำบัญชีได้ต้องผ่านหลักเกณฑ์ข้อบังคับต่าง ๆกว่าจะได้มาซึ่งการเป็นผู้ทำบัญชี

บริการรับตรวจสอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

คุณสมบัติของ ผู้ทำบัญชี

โดยท่านที่ต้องการเป็นผู้ทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้

1. มีภูมิลำเนาหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศ
2. มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้
3. มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมาย ว่าด้วยวิชาชีพบัญชี
4. ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเนื่องจากกระทำความผิดตามฐานความผิดในมาตรา 39 (3) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
5. คุณวุฒิการศึกษา ที่สามารถเป็นผู่ทำบัญชีได้ดังนี้
5.1 วุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา (ปวส.)ทางการบัญชีสามารถเป็นผู้ทำ บัญชีของกิจการดังนี้ได้
- ห้างหุ้นส่วน, บริษัทจำกัดที่มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวม ไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท
5.2 วุฒิปริญญาตรี ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าทางการบัญชีสามารถเป็นผู้ทำ บัญชีของกิจการดังนี้ได้
- ห้างหุ้นส่วน, บริษัทจำกัด ไม่จำกัดสินทรัพย์รวมและรายได้รวม และทุนจดทะเบียน
- บริษัทมหาชนจำกัด
- นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและประกอบธุรกิจในประเทศไทย
 

ขั้นตอน ในการขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชี 


หลังจากที่คุณสมบัติข้างต้นในการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีเตรียมความพร้อมหมดแล้ว เรามาเข้าสู่ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีโดยสามารถดำเนินขั้นตอนต่าง ๆได้ทางออนไลน์ให้เข้ากับยุคสมัย
 

การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีมีขั้นตอนดังนี้


1.เข้าเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th

2.จากนั้นเลือก หัวข้อบริการออนไลน์เลือกเมนูผู้ทำบัญชี เลือกสมัครสมาชิกใหม่ (สำหรับสมาชิกใหม่ให้แจ้งเป็นผู้ทำบัญชีครั้งแรก)

3.กรอกข้อมูลกรอกข้อมูลรายละเอียดและเอกสารต่าง ๆให้ครบถ้วนตามหน้าเว็บที่แจ้ง

4.เลือกธนาคารที่ชำระเงิน

5.เอกสารที่ต้องยื่นอัพโหลดไฟล์ มีดังนี้
-บัตรประชาชน
-ทะเบียนบ้าน
-วุฒิการศึกษา
-Paymentจากธนาคาร
-รูปถ่ายหน้าตรงแบบติดบัตรขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1รูป
-(ถ้ามี) ใบเปลี่ยนชื่อและนามสกุล

6.หลังจากดำเนินการขั้นต่างๆเสร็จแล้วระบบจะแสดงสถานะว่าให้รอตรวจสอบผลการอนุมัติทางอีเมลของผู้ทำบัญชีเป็นการเสร็จสิ้นการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

บริการวางระบบ โปรแกรมบัญชี Express โดยผู้เชี่ยวชาญ

หลังจากขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังนี้


หลังจากได้รับขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้วและเริ่มดำเนินงานในการเป็นผู้ทำบัญชี ท่านต้องทำตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้


1.ต้องพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีไม่น้อยกว่า๑๒ ชั่วโมงต่อปีปฏิทิน โดยเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งและเนื้อหาด้านอื่นตามที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด

2.ภายในวันที่ 30 มกราคม ของปีถัดไปต้องแจ้งการพัฒนาความรู้ทางวิชาชีพบัญชีที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th

3.ภายในวันที่ 30 มกราคม ของปีถัดไปต้องยืนยันรายชื่อธุรกิจที่รับทำบัญชี และสถานภาพการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีที่เว็บไซต์www.dbd.go.th
 

ดำเนินการเก็บชั่วโมง CPD


การเก็บชั่วโมง CBD เป็นหนึ่งข้อกำหนดหลังขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด ต้องมีการเก็บชั่วโมง CPD  เป็นจำนวน 12 ชั่วโมงต่อปีถ้าหากละเลยข้อกำหนดดังกล่าว

จะขาดคุณสมบัติการเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมายจะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาทและกรณีพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีไม่ครบตามที่กำหนด

ต้องพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง ให้ครบจำนวนชั่วโมงตามระยะเวลาที่ขาดหายไป
 

กิจกรรมที่สามารถนับชั่วโมง CPD ได้


1.การอบรมหรือสัมมนา รวมถึงการอบรมหรือสัมมนาในรูปแบบสื่อทางออนไลน์

2.ผู้ดำเนินการสัมมนา ผู้บรรยาย การเป็นวิทยากร

3.การเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐหรือสถาบันการศึกษาของเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือ ปวส.ทางการบัญชี หรือเทียบเท่า ไม่ว่าจะเป็นการสอนในฐานะอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษ

4.การผ่านการศึกษาเฉพาะรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีจากสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชนซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือ ปวส. ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า

5.จัดทำผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีโดยได้เผยแพร่ต่อสาธารณชนผ่านทางที่ประชุมวิชาการวารสารวิชาการ หรือในรูปแบบอื่นตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาวิชาชีพบัญชี เช่นการเขียนบทความ งานวิจัย หนังสือ หรือตำราทางวิชาการ เป็นต้น

แนะนำอ่านบริการ รับทำบัญชี ยื่นภาษี

สรุป


จากที่กล่าวมาทั้งหมดถึงกระบวนการได้มาซึ่งการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีมีกระบวนการทั้งคุณสมบัติ และ ขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆหากท่านต้องการเป็นหนึ่งคนที่ต้องการเป็นผู้ทำบัญชี

หวังว่าท่านจะได้รับข้อมูลต่างๆที่ครบถ้วน สำหรับท่านที่สนใจเรื่องด้านบัญชี ภาษี เว็บไซต์เราจะคอยนำเสนอบทความต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ให้สำหรับท่าน

โปรแกรมบัญชี ร้านค้าออนไลน์ Shopee Lazada


อ่าน รับจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน

บริษัท สำนักงานบัญชี พีทูพี จำกัด

บทความที่น่าสนใจ