views

ผู้ทำบัญชี รับทำบัญชีได้ไม่เกินกี่รายต่อปี


หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่ต้องการใช้บริการผู้ทำบัญชีมาดูแลให้กับธุรกิจของคุณ ต้องบอกเลยว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณต้องรู้คุณสมบัติที่สำคัญ


ของผู้ทำบัญชีที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อคุณจะสามารถเลือกใช้บริการของผู้ทำบัญชีที่มีคุณภาพได้มาตรฐานที่เหมาะสม และดำเนินธุรกิจไปได้อย่างราบรื่น


แต่ก่อนอื่นเราอยากเชิญคุณมาทำความเข้าใช้กับความหมายของคำสองคำที่เกี่ยวข้องในเรื่องของบัญชีที่เรามักสับสนและอาจเข้าใจไม่ถูกต้องกันก่อนคำสองคำนั้นก็คือ “ ผู้บัญชี” และ “นักบัญชี”


“ผู้ทำบัญชี”  ความหมายถึงผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีขององค์กรธุรกิจที่ได้รับมอบหมาย และต้องมีคุณสมบัติตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดไว้ทั้งคุณสมบัติและเงื่อนไข


“นักบัญชี” มีหน้าที่ในการบันทึกกิจกรรมทางการเงินธุรกิจแล้วรายงานผลการดำเนินการของธุรกิจที่บันทึกไว้ต่อผู้บริหารบริษัท และมีหน้าที่จัดทำงบการเงินต่างๆ


งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะทางการเงิน  การคำนวณพร้อมยื่นชำระภาษีของธุรกิจที่ให้บริการนั้นด้วยในปัจจุบันนักบัญชีมีการนำเทคโนโลยี


โปรแกรมบัญชีมาพัฒนาวางระบบงานด้านบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพรวดเร็วมากขึ้นสำหรับอาชีพนักบัญชีจะต้องมีคุณสมบัติ เป็นผู้ที่มีความละเอียดรอบคอบ และที่สำคัญต้องมีใบประกอบวิชาชีพนักบัญชี


ปรึกษา งานบัญชี ภาษี

โทร : 097 236 2994

Add Line : p2pacc


  แนะนำอ่าน ติดตั้งและวางระบบ โปรแกรมบัญชี Express โดยผู้เชี่ยวชาญ


ถ้าเข้าใจกันกระจ่างแล้วสาระต่อไปของบทความนี้เราจะมาแบ่งปันความรู้กันในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ “ ผู้ทำบัญชี”  ซึ่งนอกจากจะตอบคำถามของหัวข้อเรื่องที่ว่า


“ผู้ทำบัญชีสามารถรับทำบัญชีได้ไม่เกินกี่รายต่อปีปฏิทิน”แล้ว ยังมีสาระเกี่ยวกับผู้ทำบัญชีหลายๆด้านมาแบ่งปันให้คุณได้ศึกษา


เพื่อจะเป็นข้อมูลในการเลือกสรรผู้ทำบัญชีที่เหมาะสมกับองค์กรธุรกิจของคุณด้วย พร้อมแล้วไปศึกษากันเลย


  แนะนำอ่าน ที่ปรึกษาบัญชี ปรึกษางานฝ่ายบัญชี


คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ทำบัญชี

หากคุณจะจ้างผู้ทำบัญชีมาดูแลเรื่องตัวเลขององค์กรธุรกิจของคุณเราแนะนำให้คุณตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้บัญชีที่คุณจะใช้บริการเบื้องต้นดังข้อต่อไปนี้


1.ผู้ทำบัญชีต้องเกิดมีภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ข้อนี้คุณสามารถตรวจสอบได้ไม่ยากโดยขอดูบัตรประจำตัวประชาชน ในขั้นตอนการของแนะนำตัวของนักทำบัญชีและการสัมภาษณ์ประวัติผู้ทำบัญชีโดยเบื้องต้น


2.ผู้ทำบัญชีต้องมีความรู้ด้านอ่านเขียน พูด ภาษาไทยอย่างเพียงพอในการสื่อสาร เพื่อที่จะสามารถทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้อย่างเข้าใจในวัตถุประสงค์และข้อมูลที่ตรงกัน


3.ผู้ทำบัญชีจะต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี หรือ ขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีอย่างถูกต้อง


4.ผู้ทำบัญชีต้องไม่เคยต้องคำพิพากษาจนต้องจำคุกในมาตรา 39 (3) แห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 หรือหากเคยต้องคำพิพากษามาก่อน ก็ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี


5.ผู้ทำบัญชีสามารถรับทำบัญชีตามคุณวุฒิการศึกษาที่กำหนดไว้ตามกฎเกณฑ์ดังนี้


5.1 วุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่าปริญญาตรี  สามารถทำบัญชีให้กับองค์กรธุรกิจได้ทุกประเภทและทุกขนาดกิจการ


5.2 วุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีแต่ไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางด้านการบัญชีโดยเฉพาะหรือเทียบเท่า

 

สามารถเป็นผู้ทำบัญชีให้กับธุรกิจประเภทห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนบริษัทจำกัด  ได้ ในวันปิดบัญชีในรอบปีที่ผ่านมาโดยต้องมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาทและรายได้ต่อปีรวมไม่เกิน 30 ล้านบาท


ปรึกษา งานบัญชี ภาษี

โทร : 097 236 2994

Add Line : p2pacc


แนะนำบริการ รับทำบัญชี ยื่นภาษี จ่ายน้อยราคาประหยัด


คุณสมบัติของผู้ทำบัญชี ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กำหนด

ซึ่งนอกจากคุณสมบัติเบื้องต้นของนักทำบัญชีดังที่ได้กล่าวมาแล้ว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ยังได้กำหนดคุณสมบัติเชิงลึกของผู้ทำบัญชีที่ถูกต้องตามกฎหมายไว้เพิ่มเติมหลายประการ


ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการมุ่งพัฒนาคุณภาพของผู้ทำบัญชี ให้เกิดมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องจนเป็นมืออาชีพที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล  ซึ่งข้อกำหนดเชิงลึกของกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีดังนี้


1. ผู้ทำบัญชีต้องแจ้งรายละเอียดการทำบัญชีในระบบงานe-Accountant ภายใน 30 วันนับแต่วันที่เริ่มทำบัญชี  และหากมีการเปลี่ยนแปลงตามที่ได้แจ้งไว้ ก็ต้องต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายใน30 วัน ตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน


2. ผู้ทำบัญชีจำเป็นต้องพัฒนาความรู้ด้านวิชาชีพบัญชี (CPD) อย่างต่อเนื่องโดยต้องไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปีปฏิทิน และใน 12 ชั่วโมง ต้องมีชั่วโมงบัญชีไม่น้อยกว่า6 ชั่วโมง


และเมื่อรับการพัฒนาความรู้ดังกล่าวแล้ว จะต้องทำการแจ้งต่อ CPD  ในทันทีหลังการเรียนรู้พัฒนาดังกล่าวสิ้นสุดลงซึ่งต้องแจ้งไม่เกินวันที่ 30 ม.ค. ของในปีถัดไป


โดยกรณีนี้สามารถแจ้งผ่านทางระบบ e-Accountantหรือระบบ CPD Online ของสภาวิชาชีพบัญชีได้ทั้งสองระบบตามความสะดวก


3.  ผู้ทำบัญชี ต้องยืนยันรายชื่อองค์กรธุรกิจที่รับทำบัญชีอย่างครบถ้วนพร้อมทั้งยืนยันการเป็นสมาชิกวิชาชีพบัญชี ผ่านทางระบบ e-Accountant


โดยผู้ทำบัญชี ต้องดำเนินการดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30ม.ค. ของปีถัดไป ทั้งนี้สามารถเริ่มการยืนยันได้ตั้งแต่ 1 ม.ค. ของปีนั้นๆเป็นต้นไป


4.ผู้รับทำบัญชีจะรับทำบัญชีให้กับองค์กรธุรกิจได้ไม่เกิน100 รายต่อปีปฏิทิน โดยนับตามจำนวนรายธุรกิจ ไม่ได้นับตามรอบปีบัญชีงบการเงิน


ในกรณีที่ผู้ทำบัญชีไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดของกรมพัฒนาธุรกิจการที่กำหนดไว้ได้ ผู้ทำบัญชีจะต้องได้รับบทลงโทษในรูปแบบของเสียค่าปรับไม่เกิน10,000 บาท


และอาจส่งผลกระทบในการนำส่งงบการเงินทางระบบ DBDe-filing ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาทางบัญชีขององค์กรธุรกิจที่ผู้ทำบัญชีรับทำด้วย


เพราะผู้ทำบัญชีมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากสำหรับการดำเนินธุรกิจให้ราบรื่น  เพราะผู้ทำบัญชีเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการนำเสนอข้อมูลทางบัญชีขององค์กรธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล


บริการรับตรวจสอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)



ดังนั้นการเลือกผู้ทำบัญชีที่มีคุณภาพ ย่อมส่งผลที่ดีต่อข้อมูลธุรกิจของคุณ ดังนั้นคุณจึงต้องพิจารณาอย่างรอบครอบในการเลือกผู้ทำบัญชีที่มีความรู้ที่ทันสมัย


มีการอัพเดทข้อมูลทั้งในเรื่องของบัญชีภาษี ใช้โปรแกรมทางบัญชีที่มีมาตรฐาน รวมทั้งมีประสบการณ์โดยตรง และเชื่อถือได้ ทั้งนี้ข้อบังคับต่างๆของกรมพัฒนาธุรกิจ


ที่กล่าวมาก็ล้วนมีวัตถุประสงค์ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ”นักทำบัญชี”ให้เพิ่มมากขึ้น  แม้ในปัจจุบันจะมีการสำรวจล่าสุดในช่วงปลายปี2565 ว่าอาชีพกลุ่มผู้ทำบัญชีจะมีมากถึง 7 หมื่นกว่าคน


สำนักงานบัญชีที่รับทำบัญชีมากถึงหมื่นกว่าแห่ง แต่ก็มีข้อมูลระบุว่าในจำนวนสำนักงานรับทำบัญชี หมื่นกว่าแห่งมีสำนักงานบัญชีที่มีคุณภาพเพียง160 กว่าแห่งเท่านั้น


คราวนี้บทพิจารณาหนักก็ต้องอยู่ที่คุณแล้วว่าจะเลือกสรร  และพิจารณาผู้ทำบัญชีอย่างรอบครอบอย่างไร  ซึ่งคุณก็ยังไม่ได้โดดเดี่ยวเสียทีเดียวเพราะคุณยังมีตัวช่วยสำคัญ


ที่คุณสามารถโทรสอบถามรายละเอียดและข้อมูลสำคัญๆเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1570 ส่วนส่งเสริมพัฒนาวิชาชีพบัญชี กองกำกับบัญชีธุรกิจ โทร 02 5474395 และ www.dbd.go.th


ปรึกษา งานบัญชี ภาษี

โทร : 097 236 2994

Add Line : p2pacc


บริการรับวางแผนภาษี ลดหย่อนภาษี


เพราะประสิทธิภาพการจัดทำบัญชี หมายถึง  การทำบัญชีที่เน้นไปที่ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นของข้อมูลที่ได้จัดทำในทางบัญชีที่เป็นข้อมูล


ที่มีความถูกต้องครบถ้วน เชื่อถือได้  และทันตามกำหนดเวลา ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจด้านการวางแผนการตลาด  การควบคุมการผลิต


การวัดผลการดำเนินงาน จนไปถึงการตัดสินใจขยายธุรกิจและเงินลงทุน ดังนั้นในการเลือกผู้ทำบัญชีจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณา

เทคนิคการเลือกนักทำบัญชีให้มีประสิทธิภาพ


1.ตรวจสอบคุณสมบัติทางด้านการศึกษาเกี่ยวกับความรู้ทางบัญชีว่าเป็นไปตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้กำหนดคุณสมบัติเอาไว้ว่า


- วุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่าปริญญาตรี สามารถทำบัญชีให้กับองค์กรธุรกิจได้ทุกประเภทและทุกขนาดกิจการ


- วุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีแต่ไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)ทางด้านการบัญชีโดยเฉพาะหรือเทียบเท่าสามารถเป็นผู้ทำบัญชี


ให้กับธุรกิจประเภทห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนบริษัทจำกัด  ได้ในวันปิดบัญชีในรอบปีที่ผ่านมา โดยต้องมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาทมีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้ต่อปีรวมไม่เกิน 30 ล้านบาท


2.ตรวจสอบประวัติผู้ทำบัญชีว่าต้องไม่เคยต้องคำพิพากษาจนต้องจำคุก  ใน พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี  หรือหากเคยต้องคำพิพากษาแต่พ้นโทษมาแล้วตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป


3.สอบถามประสบการณ์การทำงานด้านบัญชี  และดูหลักฐานที่เชื่อถือได้


4.หากได้รับการการันตีจากหน่วยงาน หรือผู้ที่เคยใช้บริการที่เชื่อถือได้จะดีมาก


5.ใช้ผู้มีความรู้เรื่องบัญชี หรือนักบัญชี เป็นผู้สัมภาษณ์คัดเลือกผู้ทำบัญชีโดยตรง


เชื่อว่าสาระเกี่ยวกับ “”ผู้ทำบัญชี” ที่นำมาฝากในครั้งนี้จะช่วยให้คุณได้ผู้ทำบัญชีที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับธุรกิจของคุณ พบกันใหม่ในบทความบัญชีที่มีสาระแต่เข้าใจง่ายและมีประโยชน์กับธุรกิจของคุณ


ปรึกษา งานบัญชี ภาษี

โทร : 097 236 2994

Add Line : p2pacc


บริการรับจดทะเบียนบริษัท ครบวงจร


บทความที่น่าสนใจ