ตราประทับบริษัท (ตรายาง)
ตราประทับบริษัท เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในธุรกิจหลังการจดทะเบียนบริษัทในทางกฎหมายไม่ได้บังคับให้ทุกกิจการต้องมีตราประทับแต่กิจการส่วนมากก็เลือกที่จะทำ
เนื่องจากตราประทับบริษัทมีข้อดีหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันตัวตน การป้องกันทุจริต นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กิจการและความเป็นสากลดำเนินการสะดวก
รวดเร็วกว่าการตามลายเซ็นรวมไปถึงการได้รับความไว้วางใจจากบริษัทคู่ค้าอีกด้วย สำนักงานบัญชี พีทูพี เรียนเชิญผู้ประกอบการศึกษาทำความเข้าใจ ตราประทับบริษัท ในหลักเกณฑ์ และข้อกำหนดของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ปรึกษางานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ : 097 236 2994
Add Line : p2pacc
แนะนำอ่านบริการ รับทำบัญชี ยื่นภาษี ราคาประหยัด ดูแลระบบบัญชี
ตราประทับบริษัทคือ
ตรายางที่มีโลโก้หรือชื่อบริษัทเพื่อเป็นตัวแทนของบริษัทนั้นๆใช้ประทับสำหรับรับรองเอกสาร ในการทำธุรกรรม หรือทำนิติกรรมต่างๆ ถือเป็นเครื่องมือที่ลดความยุ่งยากสำหรับงานเอกสารและเนื่องจากไม่ได้อยู่ในข้อบังคับของกฎหมายดังนั้นบริษัทสามารถมีหรือไม่มีตราประทับบริษัทก็ได้
วัตถุประสงค์การทำตราประทับบริษัท
เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของเอกสาร และชื่อเสียงของบริษัทด้วยความเป็นหลักสากล และเพื่อป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร เนื่องจากตราประทับบริษัทเป็นของเฉพาะตัวที่ไม่สามารถปลอมแปลงได้
ประโยชน์ตราประทับบริษัท
แม้ว่าปัจจุบันหลายบริษัทหันมาใช้การรับส่งไฟล์เอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว แต่การใช้ตราประทับบริษัทก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่เสมอจากบริษัทชั้นนำหลายแห่ง เนื่องจากมีความปลอดภัยและมีผลประโยชน์ดังนี้
- บริษัทได้รับความน่าเชื่อถือ และความเป็นสากล
- ป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ และทุจริตจากการปลอมแปลงเอกสาร
- ใช้ยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมต่างๆของกิจการ
- ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทคู่ค้า
- สะดวกและรวดเร็ว ในการทำนิติกรรมหรือธุรกรรม อย่างสมบูรณ์
ปรึกษางานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ : 097 236 2994
Add Line : p2pacc
ขอแนะนำอ่าน บริการจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ แบบครบวงจร
เงื่อนไขการทำตราประทับบริษัท
ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่าในส่วนของกฎหมายไม่ได้มีการบังคับให้ทุกกิจการต้องมีตราประทับบริษัทแต่ข้อบังคับของ ป.พ.พ. คือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำเป็นต้องมีตราประทับบริษัท
เพื่อใช้ประกอบการจดทะเบียนบริษัท และหากเจ้าของกิจการต้องการทำตราประทับบริษัทก็จะต้องอยู่ในเงื่อนไขของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. รูปแบบตราประทับต้องมีโลโก้ของบริษัท แต่จะมีชื่อบริษัทหรือไม่มีก็ได้
2. หากตราประทับที่มีชื่อของบริษัท ต้องตรงกับชื่อที่ขอยื่นจดทะเบียนบริษัท โดยสามารถใช้ชื่อเป็นภาษาไทยหรือ ภาษาอังกฤษก็ได้
3. ตราประทับบริษัทในนาม ในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน หากใช้ชื่อบริษัทเป็นภาษาไทยกำหนดให้ใช้คำว่าห้างหุ้นส่วน .... จำกัด หากใช้ชื่อภาษาอังกฤษ กำหนดว่าต้องระบุว่าเป็น LimitedPartnership (ห้ามใช้ตัวย่อ)
4. ตราประทับบริษัทในนาม นิติบุคคลหากใช้ชื่อบริษัทเป็นภาษาไทยต้องใช้คำว่า บริษัท ..... จำกัด หากใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษต้องระบุประเภทนิติบุคคล เช่น Company Limitd ตัวย่อ Co.,Ltd ส่วน Corporation Limited ตัวย่อCorp.,Ltd
5. ไม่ควรใช้หมึกสีดำในการประทับตราบริษัท เพราะอาจเกิดปัญหาแยกสำเนาไม่ออกหากนำไปถ่ายเอกสาร และง่ายต่อการปลอมแปลงเอกสาร ส่วนตราประทับจะใช้หมึกแบบในตัวหรือหมึกแยกก็ได้
6. ตราประทับบริษัท ต้องไม่มีสัญลักษณ์ เครื่องหมาย หรือข้อความต้องห้ามปรากฏอยู่ ดังนี้
- สัญลักษณ์ประจำชาติไทย เช่นตราแผ่นดิน, ตราครุฑ, ตราราชการ, เครื่องหมายกาชาด, ธงชาติ, ดอกราชพฤกษ์, ช้างไทยหรือ ศาลาไทย
- ข้อความที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ เช่นเครื่องราชอิสริยยศ, พระนามย่อ, และพระบรมสัญลักษณ์ต่างๆ ทุกรูปแบบ
ปรึกษางานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ : 097 236 2994
Add Line : p2pacc
ดูบริการ รับวางระบบบัญชี บริษัท โรงงาน
เงื่อนไขการใช้ตราประทับบริษัท
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นบทความว่าตราประทับบริษัทเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่สำคัญต่อธุรกิจเนื่องจากเป็นตัวแทนของบริษัททำให้ดูน่าเชื่อถือ ดังนั้นการใช้ตราประทับบริษัทจึงต้องใช้กับเอกสารที่มีความสำคัญ
เช่น การประทับตราบริษัทเพื่อขอจดทะเบียนบริษัท,การประทับตราบริษัทเพื่อสั่งจ่าย, การประทับตราบริษัทเพื่อจ่ายค่าแรงพนักงานและเอกสารสำคัญอื่นๆ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการทำนิติกรรมหรือธุรกรรมต่างๆ
กรณีแก้ไขตราประทับบริษัท
หากกิจการใดที่จดทะเบียนบริษัทโดยไม่มีตราประทับบริษัท ในภายหลังหากต้องการจัดทำจำเป็นต้องจดทะเบียนแก้ไขตราประทับบริษัทและส่งมอบเอกสารดังนี้
1. คำขอจดทะเบียนบริษัท (แบบ บอจ.1) พร้อมหนังสือรับรอง
2. แบบคำรับรองในการจดทะเบียนตราประทับบริษัทจำกัด
3. รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม หรือมติพิเศษ (แบบ บอจ.4)
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการที่ยื่นคำขอจดทะเบียนตราประทับบริษัทใหม่
5. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
6. กรณีผู้ขอจดทะเบียนทำตราประทับบริษัทไม่สามารถมายื่นคำขอด้วยตัวเองต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจและผู้รับอำนาจในการดำเนิน
แต่หากกิจการที่มีตราประทับบริษัทอยู่แล้ว ต้องการแก้ไข หรือทำใหม่ในกรณีตราประทับบริษัทสูญหายและไม่สามารถหาตราประทับแบบเดิมได้ ก็จำเป็นต้องจดทะเบียนแก้ไขตราประทับบริษัทใหม่เช่นกัน
ซึ่งตามหลักกระทรวงพาณิชย์ไม่ได้มีการบังคับให้ประชุมเพื่อลงมติก่อนแต่สามารถรวบรวมเอกสารและทำตราประทับบริษัทอันใหม่ ไปยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงได้เลย ในกรณีตราประทับอันเก่าสูญหาย
ให้ระบุในเอกสารว่า ตราสูญหาย และกรณีแก้ไขตราประทับให้น้ำอันเก่าไปยื่นในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงด้วย ซึ่งทั้งสองกรณีมีขั้นตอนการจดทะเบียนแก้ไขตราประทับดังนี้
1. จัดประชุมเพื่อลงมติให้มีการแก้ไข ตราประทับบริษัท(ไม่ได้อยู่ในกฎของกระทรวงพาณิชย์)
2. ทำเอกสารคำร้องขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขตราประทับบริษัทใหม่
3. นำเอกสารคำร้องที่จัดทำพร้อมตราประทับอันเก่าไปยื่นจดทะเบียนที่หน่วยงานกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยยื่นในนามกรรมการหากกรรมการไม่สามารถไปยื่นจดทะเบียนแก้ไขตราประทับด้วยตนเองต้องลงลายมือชื่อที่เอกสารคำร้อง และหนังสือมอบอำนาจพร้อมลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
4. เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ารับเอกสารและดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขตราประทับบริษัทให้แก่เจ้าของกิจการ
ปรึกษางานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ : 097 236 2994
Add Line : p2pacc
ศึกษาและทำความรู้จัก โปรแกรมบัญชี Express
สรุปการทำตราประทับ
สำหรับการจัดทำตราประทับบริษัทแนะนำให้ควรทำสำรองสัก 2-3 อัน และเก็บรูปแบบอันเก่าไว้เพื่อลดความยุ่งยากในกรณีตราประทับบริษัทสูญหาย
เนื่องจากต้องไปดำเนินการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขตราประทับบริษัทใหม่ ซึ่งนอกจากเป็นการทำงานซ้ำซ้อนยังทำให้กิจการเสียเวลาอีกด้วย