097-2362994
[email protected]
Line
หน้าแรก
บริการของเรา
รับทำบัญชี
รับตรวจสอบบัญชี
รับจดทะเบียนบริษัท
รับวางระบบบัญชี
รับวางแผนภาษี
รับคัดหนังสือรับรอง
โปรแกรมบัญชี Express
บทความ
เกี่ยวกับสำนักงานบัญชีเรา
ติดต่อเรา
3903
views
Line
โดย
สำนักงานบัญชีพีทูพี
เมื่อ
7 ก.ค. 2565
แชร์บนเฟสบุ๊ค
อากรแสตมป์
ในการทำธุรกรรมหรือการทำธุรกิจต่างๆไม่ว่าจะเป็น การเช่าซื้อทรัพย์สิน การจ้างทำของต่างๆ การกู้เงิน หรือสัญญาเช่าต่างๆมักจะมีเอกสารอยู่หนึ่งตัว เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ
นั่นก็คือ สัญญา แต่ในการทำสัญญานั้น มักจะมีสิ่งหนึ่งที่หลายคนได้มองข้ามไป ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้ สัญญา ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย นั่นก็คือการติดอากรสแตมป์
อากรสแตมป์ คืออะไรทำไมถึงต้องติด
อากรแสตมป์ คือ อากรที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจาก การทําเอกสารต่างๆ ตามลักษณะ ที่ได้กําหนดเอาไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์
ท้ายประมวลกฎหมายรัษฎากรซึ่งการติดอากรสแตมป์นั้นสำคัญมาก เพราะในเอกสารที่จะใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในทางคดีจะต้องมีการติดอากรแสตมป์ตามอัตราที่กฎหมายซึ่งได้ระบุไว้ในประมวลรัษฎากร
มาตรา 118 ที่ได้กําหนดเอาไว้ว่า
“ตราสารใดไม่ปิดอากรแสตมป์ บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสําเนาตราสารนั้น เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้"
จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิด แสตมป์ครบจํานวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้วแต่ทั้งนี้ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากรตาม มาตรา 113 และมาตรา 114
ใครที่ต้องเป็นคนเสียค่าอากรสแตมป์
ผู้ที่มีอำนาจในการเสียค่าอากรสแตมป์ แบ่งได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้
1.บุคคลตามที่ระบุไวในบัญชี อัตราอากรแสตมป์ อาทิ ผู้รับประกันภัยผู้ให้กู้
2.เอกสารที่ทำขึ้นนอกประเทศไทย ให้ผู้ถือเอกสารคนแรกเป็นคนเสียภาษีอาการภายใน 30 วัน ภายใน 30ถ้าไม่ทำตาม ผู้ถือเอกสารคนใดคนหนึ่งจะต้องไปชำระอากรและยื่นเอกสารเพื่อให้รับรอง โอน สลักหลังหรือถือเอาประโยชน์ได้
3.ตั๋วที่ยื่นให้ชำระเงิน หากไม่ได้ปิดอากรสแตมป์ให้สมบูรณ์ ผู้รับตั๋วเงินจะเป็นคนชำระอากรสแตมป์แล้วไปไล่เบี้ยจากผู้ที่มีหน้าที่เสียอากร หรือจะหักจากเงินที่ชำระก็ได้
4.ผู้ที่มีหน้าที่เสียอากรตามที่ระบุไว้ในบัญชีอากรสแตมป์อาจตกลงกันเพื่อให้คู่กรณีเป็นผู้เสียอากรสแตมป์ก็ได้ เว้นแต่เอกสารนั้นจะทำนอกประเทศไทย
สนใจปรึกษา ติดต่อ
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
แนะนำอ่าน บริการรับทำบัญชี ในราคาประหยัด
อากรสแตมป์ เสียได้ อย่างไรบ้าง
การเสียอากรสแตมป์รวมไปถึงการขอคืนอากรสแตมป์ที่ชำระเกิน สามารถทำได้ 3 รูปแบบ
1.การชำระอากรโดยการปิดทับ
-การใช้สแตมป์ปิดทับจะต้องทำก่อนหรือขณะที่ทำเอกสารซึ่งราคาของสแตมป์จะต้องไม่น้อยกว่าราคาอากรที่ต้องเสียและทำการขีดฆ่าสแตมป์เพื่อให้ไม่สามารถนำสแตมป์มาใช่ได้อีก
2.การใช้สแตมป์ดุน
-เป็นการเสียอากร โดยใช้สแตมป์ดุนโดยราคาจะต้องไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและทำการขีดฆ่าหรือยื่นเอกสารให้เจ้าหน้าที่ประทับสแตมป์ดุน
และชำระเงินเป็นจำนวนที่ไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและทำการขีดฆ่าแล้ว
3.การชำระเป็นตัวเงิน
-สำหรับในบางกรณีนั้น ได้มีการกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรสแตมป์จะต้องชำระเป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ห้ามใช้สแตมป์ปิดทับโดยเด็ดขาด
เอกสารใดบ้าง ที่มีรายชื่อตามบัญชีอากรสแตมป์ และใครจะต้องเสียอากรสแตมป์
เอกสารที่มีการระบุไว้ตามบัญชีอากรสแตมป์ รวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่ตามบัญชีดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ชำระอากรสแตมป์ ดังต่อไปนี้
1.เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ
2.โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตรและใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัทสมาคม คณะบุคคลหรือองค์การใด ๆ เป็นผู้ออก
3. เช่าซื้อทรัพย์สิน
4.จ้างทำของ
5.กู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร
6.กรมธรรม์ประกันภัย
7.ใบมอบอำนาจ
8.ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท
9.ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วสัญญาใช้เงินและ ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วสัญญาใช้เงิน
10.บิลออฟเลดิง
11.ใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของบริษัท สมาคมคณะบุคคล หรือองค์การใด ๆและ พันธบัตรของรัฐบาลใด ๆ ที่ขายในประเทศไทย
12. เช็ค หรือหนังสือคำสั่งใด ๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค
13.ใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ย
14.เลตเตอร์ออฟเครดิต
รับตรวจสอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
15.เช็คสำหรับผู้เดินทาง
16.ใบรับของ
17.ค้ำประกัน
18.จำนำ
19. ใบรับของคลังสินค้า
20. คำสั่งให้ส่งมอบของ
21.ตัวแทน ในการ มอบอำนาจเฉพาะการ หรือ มอบอำนาจทั่วไป
22..คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ใน 2 กรณีคือ กรณีซึ่งพิพาทกันด้วยจำนวนเงินหรือราคาทุกจำนวนเงิน1,000 บาท หรือเศษของ 1,000บาท และกรณีอื่นซึ่งไม่กล่าวถึงจำนวนเงินหรือราคา
23..ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร
24.หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน
25.ข้อบังคับของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน
26.ข้อบังคับใหม่หรือสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของบริษัทจำกัดซึ่งเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ส่งต่อนายทะเบียน
27.หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน ทั้งในส่วนของ หนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนและหนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
28.ใบรับ เฉพาะตามที่ระบุ คือ ใบรับรางวัลสลากกินแบ่งของรัฐบาลและ ใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใด ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเมื่อนิติกรรม
ที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย
รู้ได้อย่างไร ว่าต้องติดอากรสแตมป์เท่าไหร่
อัตราการติดอากรสแตมป์ อาจมีระบุไว้ในบัญชีอากรสแตมป์ หากไม่มีระบุ จะใช้หลักการคำนวนที่ มูลค่าสัญญา1,000 บาท ติดอากรแสตมป์ 1 บาท
ยกเว้นการทำสัญญาเงินกู้มูลค่าสัญญา2,000 บาทติดอากรแสตมป์ 1 บาท (ติดสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท)
สนใจปรึกษา ติดต่อ
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
รับจดทะเบียนบริษัท จ่ายน้อย ราคาประหยัด
หากไม่ติดอากรสแตมป์มีผลอย่างไร
การไม่ติดอากรสแตมป์ หรือ ปิดอากรแสตมป์ไม่ครบจํานวนตามอัตรา จะส่งผลให้สัญญานั้น ไม่สมบูรณ์ ซึ่งผลของสัญญาที่ไม่สมบูรณ์นั้นจะทำให้ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานในทางคดีได้
นอกจากนี้การไม่ติดอากรสแตมป์หรือการติดสแตมป์ไม่ครบนั้น ยังทำให้ผู้ที่มีหน้าที่ต้องชำระอากรนั้น จะต้องเสียค่าปรับอีกด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับเรื่องของอากรสแตมป์ดวงเล็กๆแต่ไม่เล็กเลย เพราะผลของการมองข้ามอากรสแตมป์ดวงเล็กๆไปนี่ส่งผลเสียหายถึงทำให้สัญญาของเรา
ไม่สมบูรณ์ได้เลยทีเดียว เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก่อนทำสัญญาทุกครั้งอย่าลืมตรวจสอบเรื่องของ“อากรสแตมป์” ด้วยนะคะ
ควบคุมภายใน รับวางระบบบัญชี มีประสิทธิภาพ
รับติดตั้งวางระบบ ลงโปรแกรมบัญชี Express
ไอดีไลน์ : p2pacc
โทรสอบถามในรายละเอียด 097-2362994
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
www.p2paccounting.com
แชร์บนเฟสบุ๊ค
บทความที่น่าสนใจ
จดทะเบียนพาณิชย์
บัญชีภาษีพื้นฐาน สำหรับผู้ประกอบการ
ระดับ 5 ดาว โปรแกรมบัญชี Flowaccount
รายงานภาษีซื้อ-ภาษีขาย อย่างถูกต้อง เลี่ยงปัญหาภาษี เพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ
รับออกแบบ วางระบบบัญชี Workflow ฝ่ายบัญชี
สภาวิชาชีพบัญชี
ที่ปรึกษาบัญชี ธุรกิจเริ่มต้นใหม่
สรรพากรเรียกพบ แก้ไขได้อย่าเลี่ยงหนี
ปิดงบการเงิน รายงานกรมพัฒน์
รับทำบัญชี ธุรกิจโรงแรม ถูกต้องตรวจสอบได้
รับทำบัญชีบริษัทร้านขายยา
เปิดบัญชีบริษัท เลือกธนาคาร เตรียมเอกสารอย่างไร
3 ยอดฮิต โปรแกรมบัญชี มีอะไรบ้าง
วิธีเปลี่ยน แปรสภาพห้างหุ้นส่วน เป็นบริษัทจำกัด
จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ