097-2362994
[email protected]
Line
หน้าแรก
บริการของเรา
รับทำบัญชี
รับตรวจสอบบัญชี
รับจดทะเบียนบริษัท
รับวางระบบบัญชี
รับวางแผนภาษี
รับคัดหนังสือรับรอง
โปรแกรมบัญชี Express
บทความ
เกี่ยวกับสำนักงานบัญชีเรา
ติดต่อเรา
2530
views
Line
โดย
สำนักงานบัญชีพีทูพี
เมื่อ
28 ก.ย. 2566
แชร์บนเฟสบุ๊ค
การจัดทำ เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ค่าใช้จ่าย
การบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายของกิจการลงในระบบบัญชี การจัดทำเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายหลักฐานเอกสารสำคัญที่จะต้องจัดเก็บ
เพื่อนำไปบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายที่กรมสรรพากรยอมรับในการเสียภาษี จะต้องมีการจัดทำและจัดเตรียมเอกสารอย่างไร มีเอกสารอะไรบ้างที่ต้องจัดเก็บ ไปเรียนรู้สาระสำคัญในบทความนี้
ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
อ่าน การติดตั้งและวางระบบ โปรแกรมบัญชี Express
การทำบัญชีที่ถูกต้อง
การทำบัญชีที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการประกอบธุรกิจ ซึ่งการทำบัญชีมีรายการหลายประเภทที่ต้องทำการบันทึกลงบัญชี แต่บทความในครั้งนี้
เราจะเน้นถึงเนื้อหาของ
การจัดทำเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่าย
เป็นหลัก ซึ่งเอกสารสำคัญที่จะต้องจัดเก็บ เพื่อนำไปบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายที่กรมสรรพากรยอมรับในการเสียภาษี
จะต้องมีการจัดทำและจัดเตรียมเอกสารอย่างไร มีเอกสารอะไรบ้างที่ต้องจัดเก็บ เราไปเรียนรู้สาระสำคัญเหล่านี้ในบทความนี้ตามลำดับกันเลย
ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
ปรึกษาบัญชี ปรึกษางานฝ่ายบัญชี
การบันทึกบัญชีค่าใช้จ่าย
การบันทึกค่าใช้จ่ายของกิจการลงในระบบบัญชี
เป็นเรื่องสำคัญเพราะเป็นรายจ่ายจริงของกิจการที่สามารถนำไปประกอบการคิดคำนวณในเรื่องของการลดหย่อนภาษีได้
ดังนั้นกิจการจึงควรมีความรู้พื้นฐานในการจัดทำหรือจัดเก็บเอกสารในกรณีดังกล่าว เพื่อความถูกต้องครบถ้วนตามที่กรมสรรพากรได้กำหนดเอาไว้
เอกสารจำเป็นที่ต้องใช้ประกอบการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายของกิจการ
บ่อยครั้งที่กิจการมักประสบปัญหาเรื่องหาเอกสารมาเป็นหลักฐานบันทึกค่าใช้จ่ายของกิจการไม่ได้ ทั้งๆที่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง
อีกทั้งหลายกิจการยังไม่เข้าใจระบบการจัดการเอกสารสำหรับการทำบัญชีซึ่งปัญหาดังกล่าว กรมสรรพากรได้มีแนวทางชี้แนะในการแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบกิจการ
เพื่อที่จะได้ดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามข้อบังคับของกรรมสรรพกร บทความครั้งนี้จึงได้นำความรู้ของการแก้ปัญหาในกรณีที่ไม่สามารถหาเอกสารหลักฐาน
และวิธีการจัดการเอกสารที่จะนำไปบันทึกบัญชีอย่างถูกต้องมาแบ่งปันกันเพื่อป้องกันการเกิดปัญหากับกิจการเมื่อถูกกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบ
เอกสารสำคัญที่ใช้ประกอบการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายมีอะไรบ้าง พร้อมกับวิธีการแก้ปัญหาหากไม่มีเอกสารสำคัญดังกล่าว
1.ใบรับการรับเงิน หรือใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายสินค้าหรือบริการ
1.1 ถ้าใบเสร็จเป็นภาษาต่างประเทศ จะต้องมีภาษาไทยกำกับและต้องใช้เลขสากลอารบิก หรือตัวเลขไทย ในการระบุมูลค่า
1.2 เอกสารระบุหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีพร้อมทั้งชื่อและที่อยู่ของทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ
1.3 ต้องแสดงวันที่เดือน ปี ที่ซื้อขาย พร้อมอ้างอิงเลขที่ใบเสร็จของผู้ขาย
1.4 ใบเสร็จต้องระบุชนิดของสินค้าหรือราคา พร้อมทั้งระบุราคา จำนวนที่ทำการขาย ให้ชัดเจน
1.5 เอกสารการชำระเงินในกรณีต่าง
- หากจ่ายชำระเป็นเช็คต้องถ่ายสำเนาเช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงินและขีดคร่อม Account Payee
- หากชำระโดยการโอนเงินผ่านธนาคาร ก็ต้องมีเอกสารการโอนเงิน
-หากชำระเป็นเงินสดก็ต้องมีสำเนาบัตรประชาชนแนบ และระบุรายละเอียดการชำระเงินในสำเนาบัตรประชาชน
2.ผู้ขายสามารถจัดทำใบสำคัญการรับเงิน ขึ้นมาพร้อมทั้งแนบสำเนาบัตรประชาชนเพื่อเป็นหลักฐานในการซื้อให้กับผู้ซื้อได้
3.เอกสารใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน
หากผู้ขายไม่ให้ใบเสร็จรับเงิน หรือไม่ยอมให้ พนักงานที่ได้รับมอบหมายจากกิจการให้เป็นผู้ไปซื้อสินค้าหรือบริการ
ก็สามารถจัดทำเอกสาร ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน ได้เช่นเดียวกันโดยลงรายละเอียดในการซื้อและลงลายมือชื่อในการจ่ายเงินในใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน
ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
รับจดทะเบียนบริษัท บริการครบจบในทุกขั้นตอน
กรณีที่ผู้ขายไม่ยอมออกใบเสร็จรับเงินให้เมื่อซื้อสินค้าและบริการ
สามารถแก้ปัญหาโดยจัดทำเอกสาร 3 รายการเพื่อใช้เป็นเอกสารหลักฐานที่ถูกต้อง และจัดเก็บเอกสารดังกล่าวไว้ด้วยกันเป็นชุดดังนี้
1.ใช้ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินดังรายละเอียดข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว
2.ถ่ายรูปสินค้า หรือรูปการใช้บริการแล้วปริ้นท์แนบไว้เป็นหลักฐาน
3.ใช้สำเนาสลิปโอนเงิน หรือสำเนาเช็คหรือสำเนาบัตรประชาชนผู้ ซื้อผู้ขาย
สำหรับรายจ่ายเฉพาะกรณี ค่าไฟฟ้าค่าน้ำประปา และเงินเดือนเจ้าของกิจการ
1.รายจ่ายหมวดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาที่ไม่ใช้ชื่อของกิจการ
กรณีกิจการที่เช่าอาคาร สถานที่ในการดำเนินธุรกิจและใบเรียกเก็บค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปาเป็นชื่อของเจ้าของสถานที่ที่ให้เช่า กิจการจะต้องจัดเตรียมสัญญาเช่า
ที่มีข้อความระบุว่า ให้ผู้เช่าเป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าไฟฟ้าน้ำประปาเป็นเอกสารหลักฐานค่าใช้จ่ายแทน แต่ในระยะยาวกิจการควรทำการแจ้งทางการไฟฟ้า และการประปา
ให้เพิ่มชื่อของกิจการลงในใบเสร็จ ใบกำกับภาษีโดยระบุข้อความว่า จ่ายชำระโดย ..... ( ชื่อกิจการ ) ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการใช้เอกสารหลักฐานในการบันทึกค่าใช้จ่ายและการตรวจสอบ
2.รายจ่าย ในส่วนค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนของเจ้าของกิจการ
เงินเดือนของเจ้าของกิจการเป็นค่าใช้จ่ายรายการหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำในทุกๆเดือน ซึ่งจำเป็นต้องจัดทำเอกสารหลักฐานสำคัญเพื่อการลงบันทึกบัญชีและความถูกต้องตามข้อบังคับของสรรพากร โดยกรณีนี้ต้องจัดเตรียมเอกสารดังนี้
- หลักฐานสัญญาว่าจ้างการทำงานที่ระบุชื่อเจ้าของกิจการพร้อมเอกสารหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามค่าจ้างนั้น ๆ
- ใบสำคัญจ่ายและแนบหลักฐานการจ่ายเงิน ซึ่งหากจ่ายเป็นเช็คให้ระบุชื่อรับเงินและขีดคร่อม Account Payee หรือหากจ่ายเงินเดือนผ่านธนาคารก็ต้องสำเนาใบโอนเงินเป็นหลักฐาน
แต่หากจ่ายเป็นเงินสดก็ให้ผู้รับเงินถ่ายสำเนาบัตรประชาชนและระบุรายละเอียดว่าได้รับเงินเดือนเป็นมูลค่าเท่าไหร่ระบุวันเดือนปี และลงลายมือชื่อผู้รับเงินลงในสำเนาบัตรให้ครบ
ในการจัดทำเอกสารหลักฐานรายจ่ายมีสิ่งสำคัญที่ต้องรับรู้และพึงระวังดังนี้
1. ผู้ชายสินค้า หรือ บริการ (ผู้รับเงิน) ต้องเป็นผู้ขายสินค้าหรือบริการตามที่ที่ระบุไว้ในเอกสารอย่างแท้จริง
2. บุคคลใดที่กระทำการแอบอ้างและสร้างเอกสารหลักฐานเท็จ โดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี หรือเพื่อขอคืนภาษี จะต้องรับโทษจำคุก ตั้งแต่3 เดือน – 7 ปี และเสียค่าปรับตั้งแต่2,000 – 200,000 บาท ตามกฎหมายมาตรา 37
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนจ้างสำนักงานบัญชี
สำหรับบางกิจการที่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของภาษีการทำบัญชีประจำองค์กร อาจเลือกใช้สำนักงานบัญชีซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญมาดูแลบัญชีและภาษีของกิจการแทน
และถึงแม้บทความนี้จะมุ่งเน้นเรื่องการทำเอกสารหลักฐานในการบันทึกรายจ่ายลงบัญชีเป็นหลัก แต่เมื่อกล่าวถึง กรณีการจ้างสำนักงานทำบัญชีแล้ว
ก็จำเป็นต้องพูดถึงเอกสารหลักฐานที่ต้องลงบันทึกบัญชีรายรับไปด้วยสักเล็กน้อยอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งก็ถือเป็นความรู้เพิ่มเติมให้กับผู้อ่าน ช่วยทำให้มองเห็นในภาพรวมการบันทึกลงบัญชีที่ถูกต้อง
1.กิจการ ต้องเก็บรักษาเอกสารหลักฐานทางบัญชีที่แม้ทำการปิดงบทางการเงินประจำปีแล้วไว้5 ปี ตามข้อบังคับของกรมสรรพากร ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิดปัญหา เมื่อถูกเรียกตรวจสอบย้อนหลัง
2.การจ้างสำนักงานบัญชีทำบัญชีกิจการจะต้องส่งเอกสารหลักฐานทางบัญชีในทุกๆเดือนไปให้กับสำนักงานบัญชีเพื่อบันทึกลงบัญชีและจัดทำภาษี
และส่วนใหญ่กว่ากิจการจะได้เอกสารหลักฐานคืนจากสำนักงานบัญชีก็ต้องใช้ระยะเวลานานเพราะจะส่งเอกสารคืนได้เมื่อได้สรุปงบปลายปี
และยื่นงบการเงินประจำปีเสร็จเรียบร้อยแล้วซึ่งสำนักงานบัญชีอาจจะไม่นำส่งคืนกิจดารในกรณีตกลงกันว่าสำนักงานบัญชีจะเป็นผู้เก็บรักษาเอกสารไว้ให้
3.ด้วยเอกสารที่นำส่งสำนักงานบัญชีล้วนเป็นเอกสารสำคัญที่กิจการอาจจะต้องใช้ข้อมูลของเอกสารระหว่างปี หรือกรณีที่อยากป้องกันไม่ให้เอกสารสูญหายกิจการอจะต้องหาวิธีบันทึกข้อมูลดังกล่าว
โดยอาจใช้โปรแกรมการบันทึกข้อมูลทางบัญชีหรือถ่ายเอกสารจัดแฟ้มแยกประเภท หรือสแกนเอกสารแล้วสร้างไฟล์แยกประเภทให้ชัดเจนเพื่อความสะดวกในการเรียกข้อมูลมาใช้ เพราะหากรอที่จะได้รับเอกสารคืนจะใช้เวลานาน
ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
อ่าน 9 ขั้นตอน จดทะเบียนบริษัทออนไลน์
ต้องนำส่งเอกสารอะไรบ้างให้กับสำนักงานบัญชี
เมื่อจ้างสำนักงานบัญชีให้กิจการจะต้องนำส่งเอกสารหลักฐานให้กับสำนักงานบัญชีในทุกๆเดือนดังนี้
1.ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี ซึ่งเป็นรายรับ ที่ได้จากการขายของกิจการ
เป็นเอกสารแสดง รายการขายสินค้าที่มีข้อมูลครบถ้วนตามกรมสรรพากรกำหนดว่า ขายสินค้าหรือบริการอะไรมูลค่าเท่าไหร่ ขายสินค้าให้ใคร ให้ใคร
และต้องระบุวิธีชำระเงิน ซึ่งถ้าไม่ได้ระบุต้องทำใบสำคัญรับ เพื่อยืนยันการรับเงิน นอกจากนั้นต้องระบุวันเดือนปีที่ขาย เลขที่เอกสารที่ออก และลงลายมือซื่อของพนักขายของกิจการด้วย
และหากกิจการมีการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม เอกสารจะต้องแยกแสดงยอดภาษีมูลค่าเพิ่มให้เห็นอย่างชัดเจนพร้อมทั้งแนบใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ที่ออกให้ลูกค้า แล้วจัดเก็บรวมเป็นชุดเพื่อเตรียมส่ง สำนักงานบัญชีทุกๆรอบเดือน
2.หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย(ที่ถูกหักไป) ต้องจัดทำเอกสารรับรองการหักภาษี ณที่จ่าย
กรณีรายได้ของกิจการตามข้อกำหนดของกรมสรรพากรที่กำหนดไว้แต่ละประเภท ซึ่งหากไม่ได้รับ กิจการต้องทวงขอจากลูกค้าเพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันว่าถูกหักภาษีจริง
3.ใบเสร็จรับเงิน-ใบกำกับภาษีในการซื้อ ( รายจ่าย)
คือเอกสารหลักฐานที่ใช้ยืนยันว่าเกิดการซื้อที่เป็นค่าใช้จ่ายของกิจการจริง ซึ่งในกรณีที่ใบเสร็จที่ได้รับไม่ระบุวิธีการชำระเงินไว้ให้
กิจการจะต้องจัดทำ” ใบสำคัญจ่าย” เพื่อใช้แปะเอกสารเป็นใบแรกและตามด้วยเอกสารหลักฐานใบอื่นๆ แล้วจัดเก็บเป็นชุด เพื่อยืนยันการชำระเงินซื้อ และส่งให้กับสำนักงานบัญชี
4.เอกสารรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (โดยกิจการจะเป็นผู้ที่หักภาษี)
คือใบทวิ 50 ซึ่งเป็นเอกสารรับรองการหักภาษีณ ที่จ่ายโดยกิจการต้องเป็นผู้จัดทำ
ตามประเภทค่าใช้จ่ายและตามอัตราส่วนที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อให้แก่ผู้รับเงินที่เป็นผู้ขายสินค้าหรือบริการและอย่าลืมจัดเก็บสำเนาเอกสารรับรองการหักภาษี แล้วรวมกับใบเสร็จรับเงินไว้เป็นชุดเพื่อส่งสำนักงานบัญชี
5.เอกสารการส่งเงินประกันสังคม
หากกิจการมีการจ้างพนักงานตั้งแต่1 คนขึ้นไปประกันสังคมให้กับพนักงานโดยกิจการมีหน้าที่ชำระค่าประกันสังคมร่วมกับพนักงานคนละครึ่ง
ตามจำนวนที่เรียกเก็บตามข้อบังคับของประกันสังคมปละจะต้องนำส่งประกันสังคมในทุกๆวันที่ 15 ของทุกเดือนถัดไปและเก็บสำเนาเอกสารการนำส่งไว้เป็นหลักฐานการชำระเงินเพื่อเตรียมนำส่งสำนักงานบัญชี
สำหรับจัดส่งเอกสารทางบัญชีทั้ง 5 รายการนี้ ควรจัดส่งให้กับสำนักงานบัญชีในทุก ๆ เดือนเพื่อให้สำนักงานบัญชีนำไปบันทึกบัญชีของกิจการ
และเพื่อนำส่งยอดภาษีแก่สรรพากรทั้งนี้กิจการควรจะต้องจัดส่งในทุก ๆ เดือน เพื่อจัดการไม่ให้เอกสารมีจำนวนมากจนเกินไปและก่อนนำส่งกิจการควรจัดเตรียมและตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วน
เอกสารที่จะนำส่งอย่างละเอียด และควรทำใบสรุปปะหน้าเอกสารที่นำส่งว่ามีกี่ประเภทกี่รายการ จะช่วยทำข้อมูลชัดเจน ป้องกันการบันทึกที่ตกหล่นซึ่งจะเป็นผลดีทั้งต่อกิจการและสำนักงานบัญชีที่จะตรวจเช็คข้อมูลของเอกสารได้อย่างครบถ้วน
ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
แนะนำอ่าน เตรียมเอกสารจัดตั้งบริษัท
แชร์บนเฟสบุ๊ค
บทความที่น่าสนใจ
ต้นทุนการผลิต
สภาวิชาชีพบัญชี
วิธีแก้ไข เอกสารบัญชีสูญหาย เสียหาย
จดทะเบียนบริษัท ต้องอ่าน ทุกแง่มุมของการจดทะเบียนบริษัท
ทุนจดทะเบียนบริษัท จัดตั้งใหม่เท่าไหร่
ช่องทางการรับเงินคืนภาษี
พนักงานบัญชีออนไลน์ ดูแลจัดการงานบัญชี
เพิ่มทุนบริษัท ต้องอ่าน การเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท
ใบกำกับภาษี อ่านแล้วเคลียร์
ใบเสร็จรับเงิน หลักฐานชำระเงิน
ขั้นตอนการลงทะเบียน e-tax invoice สมัครอย่างไร
ยื่นเสียภาษี ร้านค้าออนไลน์
จดทะเบียน อย. อย่างไร เอกสารอะไรบ้าง
จดทะเบียนพาณิชย์
รับทำบัญชี สมุทรปราการ ใส่ใจดูแล ราคาประหยัด