views

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย


ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ?


ภาษีหัก ณ ที่จ่ายน่าจะเป็นคำคุ้นหูของใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานและรับเงินเป็นครั้งคราวซึ่งผู้จ่ายเงินจะขอหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายก่อนที่จะนำเงินได้สุทธิจ่ายให้แก่ผู้รับเงินต่อไป

การหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้น ยังมีขั้นตอนให้ผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินต้องมีหน้าที่ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปเมื่อถึงเวลาที่ต้องชำระภาษีให้แก่สรรพากร

ซึ่งกำหนดรอบระยะเวลาการชำระภาษีทั้งการชำระภาษีในนามบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล เมื่อพิจารณาต้นทางก่อนการชำระภาษีโดยทั่วไปตามรอบระยะเวลาแล้ว

การหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถแบ่งการหักภาษี ออกได้ดังนี้


1.การหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับบุคคลธรรมดา

2.การหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับนิติบุคคล

ซึ่งการหักภาษี ณที่จ่ายทั้งสองประเภทนี้ มีอัตราการหักภาษี และการนำจ่ายที่ต่างกันเพราะเมื่อผู้รับเงินมีสถานะที่ต่างกัน การหักภาษี ณ ที่จ่ายทั้งในแง่ของวิธีการหักภาษี ยอดการหักภาษี ก็ย่อมแตกต่างกันไปด้วยนั่นเอง

สนใจปรึกษา ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc

แนะนำอ่านบริการรับทำบัญชีในราคาที่ประหยัด

การหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับบุคคลธรรมดา


การหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับบุคคลธรรมดาจะมีการกำหนดอัตราการหักภาษีที่ต่างจากนิติบุคคลโดยสามารถแบ่งแยกออกเป็นรายการต่าง ๆ ได้ ดังนี้


1.การหักภาษีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินหักไว้ในอัตราร้อยละ 5

2.การหักภาษีเงินได้จากการประกอบอาชีพอิสระทั่วไปเช่น การดำเนินการตามวิชาชีพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการบัญชี กฎหมาย การประกอบโรคศิลปะเป็นต้น ให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 3

3.การหักภาษีในกรณีที่มีการรับเหมาก่อสร้างซึ่งผู้รับเหมาเป็นผู้จัดหาสัมภาระในการทำงานนั้น ๆ ให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 3

4.การหักภาษีจากการประกวดรางวัลการแข่งขันต่าง ๆ การชิงโชค เหล่านี้ให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 5

5.การหักภาษีจากดารา นักแสดงสาธารณะให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 5

6.การหักภาษีสำหรับการโฆษณาให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 2

7.การหักภาษีจากการรับจ้างทำของให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 3

8.การหักภาษีจากการให้บริการต่าง ๆให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 3

9.การหักภาษีจากกรณีมีการส่งเสริมการขายการรับเงินรางวัลหรือประโยชน์อื่นใด ให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 3

10.การหักภาษีจากค่าขนส่งทั่วไปให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 1

ที่กล่าวมาคือการหักภาษีณ ที่จ่ายสำหรับบุคคลธรรมดาเท่านั้น เพราะหากเป็นการหักภาษี ณที่จ่ายสำหรับนิติบุคคล จะถูกแยกประเภทไว้อย่างชัดเจนเพราะมีการคำนวณเรื่องของเงินได้ที่ต่างกัน ดังนั้นจึงมีอัตราการหักภาษี ณที่จ่ายที่ต่างกันออกไปด้วย
 
บริการรับตรวจสอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีได้รับอนุญาต

การหักภาษีณ ที่จ่ายสำหรับนิติบุคคล


1.การหักภาษีจากเงินได้จากค่านายหน้าค่าแห่งกู๊ดวิลล์ หรือค่าแห่งสิทธิอื่น ๆ ให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 3

2.การหักภาษีสำหรับดอกเบี้ยเงินฝากดอกเบี้ยหรือตั๋วเงิน ให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 10 (สำหรับมูลนิธิ) และร้อยละ 1(สำหรับห้างหุ้นส่วนจำกัด)

3.การหักภาษีในกรณีเงินปันผลเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดอันเกิดจากการลงทุน ให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 10

4.การหักภาษีในกรณีให้เช่าทรัพย์สิน สำหรับห้างหุ้นส่วนจำกัดให้หักไว้ในอัตราร้อยละ5 สำหรับมูลนิธิหรือสมาคมให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 10

5.การประกอบวิชาชีพอิสระให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 3 สำหรับห้างหุ้นส่วนจำกัด และหักไว้ในอัตราร้อยละ 10สำหรับมูลนิธิหรือสมาคม

6.การบริการจ้างทำของ ให้หักไว้ในอัตราร้อยละ5

7.เงินจากการประกวดชนะรางวัล การแข่งขันหรือการชิงโชคอื่น ๆ ให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 5

8.ค่าโฆษณาสินค้าและ/หรือบริการให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 2

9.ค่าบริการต่าง ๆให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 3

10.ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าประกันต่าง ๆเฉพาะที่มีการจ่ายให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนั้น ๆ ให้นำหักภาษี ณที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1

11.ค่าขนส่งต่าง ๆแต่ต้องไม่รวมถึงค่าขนส่งสาธารณะ ให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 1
 

ต้องรับเงินเท่าใด จึงจะต้องหักภาษี ณที่จ่าย ?


สำหรับยอดเงินที่จะต้องทำการหักภาษี ณที่จ่าย คือยอดเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงินด้วยจำนวนเงินตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป

สนใจปรึกษา ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc

บริการรับวางระบบบัญชี วางระบบงานฝ่ายบัญชี

ทำไมจึงต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ?


จากการจ้างงานผู้จ่ายเงินจะดำเนินการหักเงินเพื่อเป็นการหักภาษีณ ที่จ่ายออกจากเงินของผู้รับเงิน ทั้งนี้จะมีการหักภาษี ณที่จ่ายก่อนดำเนินการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเงิน

ดังนั้นผู้รับเงินจึงได้รับเงินสุทธิที่ไม่เต็มตามยอดเงินจ้างที่ได้ตกลงไว้เพราะมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ออกจากเงินค่าจ้างนั้นโดยตรงเพื่อนำส่งต่อกรมสรรพากรในช่วงชำระภาษีนั่นเอง

แต่ทั้งนี้ผู้จ่ายเงินยังคงมีหน้าที่ในการนำส่งหนังสือการหักภาษีณ ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงินเพื่อให้ผู้รับเงินใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันว่าได้ถูกหักภาษี ณที่จ่ายจากยอดเงินจำนวนนี้แล้ว

ซึ่งผู้รับเงินสามารถนำภาษีที่ได้ถูกหัก ณที่จ่ายนี้ ไปคำนวณการเสียภาษีเพื่อชำระต่อสรรพากรตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดหากคำนวณแล้วมีสิทธิ์ได้รับเงินชำระภาษีคืน

ก็สามารถทำเรื่องขอคืนเงินได้แต่หากคำนวณแล้วยังคงมีหน้าที่ต้องนำส่งชำระภาษีแก่สรรพากรอีกผู้รับเงินนั้นก็ยังคงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีต่อไป
 

ผลของการไม่หักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นอย่างไร ?


การชำระภาษีสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลถือว่าเป็น หน้าที่ ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ หากชำระภาษีไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องก็อาจมีความผิดและต้องเสียค่าปรับ

ให้แก่สรรพากร ซึ่งการหักภาษี ณที่จ่ายก็เช่นเดียวกัน ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายก่อนจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเงิน ทั้งนี้หากผู้จ่ายเงินมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย

และนำส่งเงินหรือคำนวณเงินที่ต้องชำระให้แก่สรรพากรไม่ถูกต้องหรือหักนำส่งเงินไม่ถูกต้องผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องร่วมรับผิดชำระภาษีให้แก่สรรพากรร่วมกับผู้รับเงินนั้นด้วย
 

ข้อควรระวังสำหรับการหักภาษี ณ ที่จ่าย


ถ้าผู้จ่ายเงินที่ได้ดำเนินการหักภาษี ณที่จ่ายไปแล้ว มิได้ดำเนินการส่งนำเงินที่หักภาษี ณที่จ่ายไปส่งแก่สรรพากรภายในเวลาที่กำหนด ก็อาจต้องเสียค่าปรับ

ตามที่กฎหมายกำหนดโดยต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ซึ่งคนไทยทุกคนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้แก่สรรพากรซึ่งหากมีการละเลยหรือจงใจหลีกเลี่ยง

การเสียภาษีอากรให้แก่รัฐบาลจะถือว่ามีความผิดอาจได้รับโทษทั้งจำและปรับดังนั้นการยินยอมให้ผู้มีหน้าที่จ่ายเงิน หักภาษี ณที่จ่ายตั้งแต่ตอนจ่ายเงินค่าจ้าง

จึงอาจถือได้ว่าเป็นการทยอยชำระภาษีซึ่งถือว่าเป็นผลดีต่อทั้งผู้จ่ายและผู้รับเงินด้วย

แนะนำอ่านรายละเอียด โปรแกรมบัญชี Express

สำนักงานบัญชี พีทูพีได้ให้บริการด้านภาษี


ทุกรูปแบบ ทั้งแบบบุคคลธรมดาและนิติบุคคลผู้ประกอบการผู้ที่สนใจ หากเกิดข้อสงสัย หรือมีปัญหาในการดำเนินการต่างๆสามารถติดต่อเข้ามาได้

เพื่อรับคำปรึกษาจากเรา ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย สำนักงานบัญชี พีทูพีดำเนินการโดยบุคลากรมืออาชีพ ประสบการณ์สูง พร้อมยินดีต้อนรับทุกท่าน
 

บริการของเรา


* ให้คำปรึกษาด้านบัญชีเพื่อจัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป

* ให้คำปรึกษาด้านภาษี เพื่อวางแผนภาษีลดหย่อนภาษีให้ถูกต้องและครบถ้วนตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด

* บริการจัดเตรียมข้อมูลและสอบทานข้อมูลก่อนส่งให้กรมสรรพากรตรวจสอบ

* บริการเข้าพบและให้คำชี้แจงกับกรมสรรพากรกรณีสรรพากร ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

สนใจปรึกษา ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc



บริการรับจดทะเบียนบริษัท
บริษัท สำนักงานบัญชี พีทูพี จำกัด
โทรศัพท์ : 097 236 2994
ไอดีไลน์ : p2pacc
www.p2paccounting.com

บทความที่น่าสนใจ