จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จดVAT
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT เป็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลหากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท
จะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ให้กับกรมสรรพากรแต่มักจะมีคำถามว่า จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อจด VAT แล้ว มีข้อดีข้อเสียอย่างไร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง
เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือ การให้บริการ ในปัจจุบันอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7% หรือที่เรามักคุ้นชินกับว่า VAT7%
ใครบ้างต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ เราเรียกสั้น ๆ ว่า จด VAT ตามกฎหมายกำหนดให้ผู้ที่มีรายได้เกิน 1.8ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยรายได้ที่กล่าวถึงคือ ยอดขาย หรือรายรับจริง ๆ ที่ยังไม่หักต้นทุนหรือกำไร โดยให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 30วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน
หากผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประกอบกิจการโดยไม่ทำการจดทะเบียน จะมีโทษตามกฎหมาย จำคุกไม่เกิน 1 เดือน/ปรับ5,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
แนะนำอ่าน บริการรับทำบัญชี ราคาประหยัด
วัตถุประสงค์ของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
สำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่อาจจะยังสงสัยว่าการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น จดทะเบียนไปทำไมวัตถุประสงค์คืออะไร
1.การจัดการบัญชีเป็นระบบมากขึ้น
เพราะบริษัทจะต้องทำบัญชีรายงานภาษีซื้อ- ขายทุกเดือน และเก็บรายงานไว้เผื่อให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรมาตรวจทำให้คุณต้องลงบัญชีการซื้อ-ขายสินค้าอย่างเป็นระบบ
ซึ่งการทำบัญชีอย่างเป็นระบบจะทำให้คุณสามารถตรวจสอบความถูกต้องของการทำธุรกิจและพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับบัญชีธุรกิจได้ง่ายขึ้น
2.กิจการมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเครื่องการันตีว่า ธุรกิจของคุณเป็นธุรกิจที่เชื่อถือได้เป็นบริษัทที่มีตัวตนอยู่จริง เพราะได้รับการตรวจสอบจากกรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว
3.เพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น
ลูกค้าหรือคู่ค้าของคุณจำนวนมากมักจะขอใบกำกับภาษี ทุกครั้งที่ทำการซื้อขายสินค้าและบริการเพราะต้องการนำไปใช้ประโยชน์
เป็นภาษีซื้อเพื่อลดภาระภาษีของฝ่ายลูกค้า หมายความว่าหากคุณไม่ได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ อาจจะทำให้คุณพลาดโอกาสในการทำธุรกิจได้
4.จด VAT ขอคืนภาษีซื้อได้
ไม่ว่าสินค้าที่คุณซื้อนั้นจะเป็นการซื้อของใช้ในอุปกรณ์สำนักงานและของที่ซื้อมาขาย คุณก็สามารถนำมาขอคืนภาษีซื้อได้ นั่นหมายความว่าต้นทุนของสินค้าของคุณจะถูกลง จากการขอคือภาษีซื้อนั่นเอง
1.เป็นธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นหรือไม่
**ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน1.8 ล้านบาทต่อปี
**ธุรกิจค้าขายพืชผลทางการเกษตรภายในประเทศเช่น ข้าว ข้าวโพด ปอ มันสำปะหลัง ผักและผลไม้
**ธุรกิจค้าขายสัตว์ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิตภายในประเทศเช่น โค กระบือ ไก่ เนื้อสัตว์ กุ้ง ปลา
**การให้บริการห้องสมุดพิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
**การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทางราชการและเอกชน
----ที่กล่าวมานี้เป็นส่วนหนึ่งของประเภทธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้นและคุณสามารถตรวจสอบธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลเค่าเพิ่มได้ที่ www.rd.go.th
2.เป็นธุรกิจที่มีรายได้เกิน1,800,000 ต่อปีหรือไม่
หากคุณต้องการจด VAT เราแนะนำให้คุณสำรวจรายได้ต่อปีของคุณก่อนว่าธุรกิจของคุณมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (เฉลี่ยเดือนละ 150,000) หรือไม่
(รายได้ในที่นี้คือ ยอดขายที่เกิดขึ้นจริง ๆ ไม่ใช่กำไรหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว)และหากธุรกิจของคุณมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องดำเนินการจด Vat
ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มูลค่าของฐานภาษีเกิน 1.8 ล้านบาท(แต่ถ้ายอดขายตลอดทั้งปี 1.8 ล้านบาทพอดี จะยังไม่ถูกบังคับให้ต้องจด Vat แต่อย่างใด)
3.ธุรกิจของคุณมี Vat เป็นต้นทุนหรือไม่
หากคุณทำธุรกิจประเภท ซื้อมาขายไปหรือ ธุรกิจที่สินค้าต้นทางมีการคิด Vat คุณควรจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม Vat ด้วยเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่จะช่วยลดต้นทุนให้คุณได้มาก
4.ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการเข้าระบบ Vat หรือไม่
นอกจากประเภทธุรกิจหรือรายได้แล้วจะต้องเช็คด้วยว่า ลูกค้าหรือผู้ที่มาใช้บริการธุรกิจของคุณนั้นเป็นผู้เท เข้าระบบVat หรือไม่
หากลูกค้าและผู้ใช้บริการส่วนใหญ่อยู่ในระบบ Vat เราแนะนำให้คุณดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มVat ด้วย แม้ว่ารายได้จะไม่ถึง 1.8 ล้านบาท
เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ลูกค้ายิ่งถ้าลูกค้าของคุณเป็นธุรกิจขนาดใหญ่จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากหากคุณไม่ได้จด Vat อาจจะเสียลูกค้ากลุ่มนี้ไปเลย
อ่านที่ปรึกษาภาษี มีความสำคัญอย่างไร
ขั้นตอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.ยื่นแบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภ.พ.01 ได้ 2 ช่องทาง
--ทางอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพากร
--ณ สรรพากรพื้นที่ทั้งในกรุงเทพมหานคร และ ส่วนภูมิภาค กรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง ยื่น ณ สรรพากรพื้นที่ในท้องที่ที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียว
2.กรมสรรพากร ออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.20) ให้แก่ผู้ประกอบการ
ยื่นคำขอจดทะเบียน
ผู้ประกอบการสามารถยื่นแบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ แบบ ภ.พ.01 พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องผ่าน2 ช่องทางคือ
**ทางอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพากร
**ณสรรพากรพื้นที่ตั้งสถานประกอบการ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และส่วนภูมิภาค
กรณีมีสถานประกอบการหลายแห่งยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียว