ปิดงบการเงิน
การปิดงบการเงิน
ปิดงบการเงิน คือหน้าที่ของนิติบุคคลตามกฎหมาย ประโยชน์ของการปิดงบการเงินเพื่อทราบถึงคุณภาพของการบริหารจัดการทางการเงินของบริษัท
รวมถึงการแสดงข้อมูล ผลการดำเนินกิจการตามรอบระยะเวลาบัญชี หลังจากกิจการได้ทำบัญชี ประกอบไปด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด
คือบทสรุปของการทำบัญชี ต้องมีการจัดทำงบการเงิน รวมถึงการปิดงบการเงิน เพื่อนำส่งงบการเงินดังกล่าวต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร
และหากนิติบุคคล บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ตามกฎหมาย ไม่นำส่งงบการเงินประจำปีในแต่ละรอบบัญชี จะมีโทษปรับตามที่กฎหมายกำหนด
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ รับข้อเสนอพิเศษ
โทรศัพท์ : 097 236 2994
Add Line : p2pacc
แนะนำอ่าน บริการรับตรวจสอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
หน้าที่นิติบุคคลตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปิดงบการเงิน
ปิดงบบัญชี
นิติบุคคลต้องดำเนินการปิดงบบัญชี ภายในระยะเวลา 12 เดือน นับแต่วันเริ่มทำบัญชี คือวันที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
และให้ปิดงบบัญชีทุกๆรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน หากไม่ดำเนินการมีความผิดปรับบริษัทและกรรมการผู้จัดการ ไม่เกิน 10,000 บาท
ทำงบการเงิน
ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนเจ้าของ งบการเงินเปรียบเทียบกับปีก่อน หากไม่จัดทำ
มีความผิดปรับบริษัท และกรรมการผู้จัดการ ไม่เกิน 50,000 บาท โดยงบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบ บัญชีรับอนุญาต
แนะนำอ่าน รายละเอียดบริการ ที่ปรึกษาบัญชี
จัดให้มีผู้สอบบัญชี
ต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีหนึ่งคน หรือหลายคนมาตรวจสอบงบการเงิน โดยต้องนำงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้น
เพื่ออนุมัติภายใน 4 เดือนนับแต่วันที่ปิดบัญชี ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิดปรับ บริษัทไม่เกิน 20,000 บาทกรรมการไม่เกิน 50,000 บาท
นำส่งงบการเงิน
ส่งงบการเงินที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ DBD e-Filing ไปยังกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 1 เดือน
นับแต่ วันที่งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิดปรับ บริษัทไม่เกิน50,000 บาท กรรมการผู้จัดการไม่เกิน 50,000 บาท
บริการรับทำบัญชี ยื่นภาษีออนไลน์ มีมาตรฐานการบัญชี
ประโยชน์ของการปิดงบการเงิน
- ผู้ประกอบการเห็นถึงภาพรวมของบริษัท และทิศทางการบริหารงานแต่ละปีได้ชัดเจนเพราะการปิดงบการเงินเหมือนกับเป็นการแจกแจงข้อมูลทางการเงินฐานะทางการเงินของกิจการ
- ผู้ประกอบการนำข้อมูลปิดงบการเงินที่ได้ไปสู่การวางแผนต่อยอดในการพัฒนาธุรกิจ การวิเคราะห์ยอดขายรายงานการวิเคราะห์สินค้าคงเหลือ รายงานการวิเคราะห์ลูกหนี้
- นำส่งข้อมูล งบการเงิน และภงด.50ต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องถูกต้องตามกฎหมาย
- ในการจัดทำการปิดงบการเงิน ทำให้กิจการได้ข้อมูลสถิติที่มีความละเอียดสูงและถูกต้องแม่นยำมีฐานข้อมูลของกิจการ
-บริษัทสามารถนำข้อมูลตัวเลขจากปิดงบการเงินมาใช้เพื่ออธิบายถึงแหล่งที่มาของเงินปันผลให้แก่หุ้นส่วนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ง่ายถูกต้องแม่นยำ
แนะนำอ่าน บริการวางระบบบัญชี Workflow งานฝ่ายบัญชี
ขั้นตอนเตรียมการปิดงบการเงิน
1 กำหนดวันปิดงบการเงิน
กำหนดวันปิดงบการเงินของบริษัท โดยส่วนใหญ่ธุรกิจในประเทศไทยมักถือเอาปีปฏิทินคือ วันที่31 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันปิดงวดบัญชี
2. กระทบยอดลูกหนี้
ทำการกระทบยอดลูกหนี้ ลูกหนี้การค้า แสดงรายงานลูกหนี้ จัดทำรายงานยืนยันยอดลูกหนี้คงเหลือณ วันสิ้นงวด บันทึกรายการให้ถูกต้องครบถ้วน
3.กระทบยอดเจ้าหนี้
การกระทบยอดเจ้าหนี้ก็คล้ายกับการกระทบยอดลูกหนี้ ให้ความสำคัญในเรื่องของหนี้สินคงคลังกับเจ้าหนี้ณ วันที่สิ้นงวด ตรวจสอบความถูกต้องและวางแผนจ่ายชำระเงินให้ตรงเวลาตามที่เจ้าหนี้กำหนด
4.ปรับปรุงสินค้าคงเหลือ
บันทึกรายการพร้อมการยืนยันบัญชีรายการตรวจเช็คสต๊อกสินค้าคงคลัง ณ วันสิ้นงวด
5.กระทบยอดเงินสดและเงินฝากธนาคาร รวมถึงการกระทบยอดเคลื่อนไหวเงินสด
เพื่อการปิดงบการเงินได้อย่างถูกต้องแม่นยำควรทำทุกเดือนเพื่อลดภาระงานลงในช่วงปลายปี แต่เมื่อถึงเวลาปิดบัญชีก็ควรต้องทำการตรวจสอบการกระทบยอดอีกครั้ง
6.กระทบยอดรายการอื่นๆ พร้อมการจัดประเภทรายการ
ทำการกระทบยอดรายการอื่น ๆ ในงบแสดงฐานะทางการเงินด้วยไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้นเช่น
การเปรียบเทียบสินทรัพย์ถาวรกับ FixedAssetsRegister ว่ามีการบันทึกค่าเสื่อมราคาถูกต้องหรือไม่ จะต้องทำการตรวจสอบความถูกต้องของยอดคงเหลือปลายปีอีกครั้งพร้อมกับหลักฐานทางการเงินอื่น ๆ
7.กระทบยอดภาษี และคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
กรณีที่เจ้าของธุรกิจได้จดภาษีมูลค่าเพิ่มสิ่งที่ต้องทำคือ การกระทบยอดรายได้ทั้งปี กับ ภ.พ.30
8. จัดทำงบการเงิน หรือ ปิดงบบัญชี
หากบริษัทใดที่เลือกใช้งานโปรแกรมการบันทึกบัญชีอยู่แล้วก็ถือเป็นเรื่องง่ายในการปิดงบการเงิน เพราะข้อมูลทุกอย่างในกิจการถูกบันทึกไว้อย่างเรียบร้อย
และการบันทึกบัญชีทุกรายการได้บันทึกอย่างถูกต้องตามขั้นตอน เพราะโปรแกรมบัญชีจะคำนวณข้อมูลทุกอย่างออกมาให้อย่างถูกต้องสามารถพิมพ์เป็นเอกสารออกมาได้เลย
อ่านบริการ ปรึกษาเรื่องบัญชีภาษี โดยผู้เชี่ยวชาญ
สรุปการปิดงบการเงิน
มีความสำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างมากในแต่ละรอบบัญชีต้องทำการปิดงบ อย่างละเอียดและรอบคอบ ให้สมบูรณ์เพื่อที่จะได้ยื่นนำส่ง
แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ ข้อมูลกรมสรรพากร หากบริษัททั่วไปผู้ดำเนินการปิดงบการเงิน คือนักบัญชีในตำแหน่งสมุห์บัญชี
ผู้จัดการแผนกบัญชีผู้ทำบัญชี ขึ้นกับแต่ละองค์กร ส่วนกิจการที่ไม่ได้ทำบัญชีเอง สำนักงานบัญชี หรือผู้ทำบัญชีฟรีแลนซ์ จะเป็นผู้ดำเนินการปิดงบการเงิน
เพื่อแสดงฐานการเงินให้หน่วยงานราชการและผู้เกี่ยวข้องทราบอย่างถูกต้องชัดเจน
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ รับข้อเสนอพิเศษ
โทรศัพท์ : 097 236 2994
Add Line : p2pacc
การปิดงบบัญชี นำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร
