097-2362994
[email protected]
Line
หน้าแรก
บริการของเรา
รับทำบัญชี
รับตรวจสอบบัญชี
รับจดทะเบียนบริษัท
รับวางระบบบัญชี
รับวางแผนภาษี
รับคัดหนังสือรับรอง
โปรแกรมบัญชี Express
บทความ
เกี่ยวกับสำนักงานบัญชีเรา
ติดต่อเรา
1043
views
Line
โดย
สำนักงานบัญชีพีทูพี
เมื่อ
13 พ.ย. 2566
แชร์บนเฟสบุ๊ค
การปิดงบบัญชี คืออะไรสำคัญอย่างไร
การปิดงบบัญชี คือสรุปรายงานทางการเงินการบัญชีที่แสดงถึงสถานะในการดำเนินธุรกิจของกิจการ ซึ่งประกอบด้วย งบดุล งบกระแสเงินสด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นและ งบกำไรขาดทุน
โดยการปิดงบบัญชีจะทำขึ้นเมื่อสิ้นรอบบัญชี เพื่อนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และกรมสรรพากร ตามที่กฎหมายกำหนด จะต้องปิดงบบัญชีอย่างไร บทความครั้งนี้ จะพาคุณมารู้จักเรื่องของการปิดงบบัญชีกันแบบ เข้าใจง่ายๆ
ใครบ้างที่ต้องปิดงบบัญชี
กฎหมายได้กำหนดให้นิติบุคคลอย่าง บริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด มีหน้าที่ที่ต้องปิดงบบัญชีปีละ 1 ครั้งเมื่อถึงกำหนดสิ้นรอบบัญชี เพื่อนำงบบัญชีนำส่ง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร
โดยกิจการต้องจัดหาผู้ทำบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชี เพื่อให้สามารถนำส่งงบบัญชีได้ตามกำหนด ซึ่งการปิดงบบัญชีนับเป็นปัญหาของกิจการที่ไม่มีพนักงานบัญชีประจำมักจะเจอ
ในขณะที่กิจการที่มีพนักงานบัญชีคอยจัดการเรื่องบัญชีประจำจะสามารถปิดงบบัญชี ได้โดยง่าย เพราะได้จัดทำบัญชีอยู่แล้วเป็นประจำในทุก ๆเดือน ทั้งนี้โดยทั่วไปการปิดงบบัญชี สำหรับกิจการจะจัดทำโดย ผู้จัดการแผนกบัญชี สมุห์บัญชีที่เป็นพนักงานประจำของกิจการ
แต่หากเป็นกิจการเปิดใหม่ หรือเป็นกิจการขนาดเล็กที่ยังไม่มีพนักงานบัญชีประจำ ก็สามารถจ้างสำนักงานบัญชี หรือผู้ทำบัญชีอิสระที่ให้บริการด้านทำบัญชี ด้านภาษีและช่วยปิดงบบัญชีแทนได้ตามวาระ
4 ขั้นตอนการปิดงบบัญชี
1. key เอกสารบันทึกตามระบบการทำบัญชีลงระบบซอฟแวร์ให้ครบถ้วน
2. จัดการปรับปรุงรายการทางบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งการปรับปรุงรายการทางบัญชีในช่วงปลายปีนั้น จะทำให้เกิดงบทดลองชุดที่ 1 ขึ้น
3. นำงบทดลองชุดที่ 1 มากระทบยอดทางบัญชี เพื่อตรวจสอบบัญชีว่าถูกต้องหรือไม่ และหากไม่ถูกต้องให้ทำการย้อนกลับไปแก้ไข และถ้าถูกต้องแล้วก็ให้
นำรายละเอียดดังกล่าวไปประกอบการทำงบบัญชี และเมื่อทำการกระทบยอดได้สำเร็จครบถ้วนแล้ว ก็จะได้งบทดลองชุดที่ 2 จึงนำไปทำงบบัญชีได้
4. จัดทำงบบัญชีซึ่งมีหลายงบบัญชีรวมทั้งหมายเหตุประกอบงบบัญชีด้วย
ปรึกษาปิดงบบัญชีประจำปี
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
แนะนำอ่าน บริการรับทำบัญชี ราคาประหยัด
กิจการที่ไม่เคยบันทึกบัญชีมีขั้นตอนในการปิดงบบัญชี มีดังนี้
1.รวบรวมเอกสารทางการเงิน โดยเฉพาะเอกสารบิลขายและบิลซื้อ โดยจัดเรียงเอกสารตามลำดับของเลขที่ โดยบิลซื้อต้องจัดเรียงตามประเภทของบิล เช่น บิลซื้อสินค้าบิลค่าน้ำมัน บิลค่าน้ำ ค่าไฟ บิลค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
2. กรณีที่เป็นบริษัทจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขายให้ครบถ้วน และต้องนำบิลซื้อ บิลขาย แนบพร้อมกับ รายงานภาษีซื้อภาษีขาย ในการยื่นเอกสารด้วย
3. ตรวจสอบเอกสารรายการเดินบัญชี ของกิจการให้ครบถ้วน หากขาดเอกสารของเดือนใด ต้องยื่นขอจากธนาคารให้ครบ
4.ในกรณีจ้างสำนักงานบัญชีจัดทำงบบัญชี เมื่อเอกสารพร้อม ให้ติดต่อสำนักงานบัญชี เพื่อจัดทำงบบัญชี
5. เมื่อจัดทำงบบัญชีเสร็จสิ้น นำส่งงบบัญชีที่ปิด ยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร ภายใน 150 วัน โดยนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
กำหนดเวลายื่นงบบัญชี
1. กิจการห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจการนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือนนับแต่ วันปิดบัญชี
2. กิจการบริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด ต้องให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทำการตรวจสอบและรับรองงบบัญชีก่อน แล้วจึงนำเสนอ เพื่อขออนุมัติงบในที่ประชุมใหญ่ สามัญประจำปี
ซึ่งบริษัทจะต้องจัดให้มีการประชุม เพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน โดยนับแต่วันปิดบัญชี และต้องนำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ภายใน 14 วัน นับจากวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี
ปรึกษาปิดงบบัญชีประจำปี
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
ตรวจสอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA
5 เรื่องที่ต้องทำเมื่อปิดงบบัญชีแล้ว
1. หากกิจการจดทะเบียนเป็นบริษัท ต้องจัดให้มีการประชุมสามัญประจำปี ภายในวันที่ 30 เม.ย.ของปีถัดไป เพื่อขออนุมัติงบบัญชีจากที่ประชุม ทั้งนี้ต้องมีการประกาศเพื่อเชิญประชุมใน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน
ต้องจัดประชุมภายใน 4 เดือนหลังจากวันสิ้นรอบ โดยในข้อนี้กิจการที่เป็นห้างหุ้นส่วนไม่ต้องทำ ดังนั้นขั้นตอนแรกที่นักบัญชีต้องทำก็คือ การประกาศเชิญประชุมในหนังสือพิมพ์
2. หลังจากจัดประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว ต้องยื่นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 14 วัน ซึ่งการส่งรายชื่อบัญชีผู้ถือหุ้นนี้เป็นหน้าที่ของกิจการที่เป็นบริษัทเท่านั้น กิจการที่เป็นห้างหุ้นส่วนไม่ต้องทำ
3. ยื่นงบบัญชีประจำปี สำหรับกิจการที่เป็นบริษัท หลังจากที่นำส่ง บัญชีผู้ถือหุ้นเรียบร้อยแล้ว ต้องทำการยื่นงบบัญชี โดยกรมพัฒนาธุรกิจธุรกิจการค้าได้กำหนดให้ทำการยื่นผ่าน DRD-e-filing พร้อมทั้งแนบเอกสารเพิ่มเติม
รายงานผู้ตรวจสอบบัญชี หมายเหตุงบการเงิน ซึ่งข้อปฏิบัตินี้ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ก็ต้องกระทำเหมือนกัน แต่หากกิจการมีทุนไม่เกิน 5 ล้าน มีรายได้และสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้าน ไม่ต้องนำส่งในส่วนของรายงานของผู้สอบบัญชี แต่ต้องนำส่งกรมสรรพากร
ซึ่งข้อกฎหมายที่แตกต่างกันระหว่างบริษัทจำกัด กับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล คือบริษัทต้องนำส่งงบบัญชี หลังการประชุมภายใน 1 เดือน แต่ห้างหุ้นส่วนต้องนำส่งภายใน 5 เดือนหลังจากปิดงบบัญชี
4. ยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือ แบบ ภงด.50 ข้อนี้เป็นหน้าที่ของทั้งบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องยื่นภายใน 150 วันหลังจากปิดบัญชี
แต่หากยื่นผ่านระบบ DRD-e-filing วันที่ในการนำส่งจะถูกขยายระยะเวลาเพิ่มให้อีก 8 วัน และในส่วนของห้างหุ้นส่วน อย่าได้ลืมมายื่นงบบัญชีนี้ ให้กับกรมสรรพากรพร้อมหน้ารายงานการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบบัญชี
และหากจ้างสำนักงานบัญชีมาดูแลเรื่องบัญชีให้กับกิจการ อย่าลืมตกลงกันให้ดีว่าจะจ่ายระบบภาษีอย่างไร และทุกอย่างที่กิจการจ่ายเงินต้องขอหลักฐานการจ่ายให้ครบถ้วน
5.รวมเอกสารการดำเนินการทุกๆอย่างที่ได้ทำในทั้ง 4 ข้อที่ผ่านมาให้ครบ นอกจากนั้นยังต้องขอเอกสารเพิ่มเติมจากนักบัญชี เพื่อให้ปิดงานได้อย่างสมบูรณ์ดังนี้
ปรึกษาปิดงบบัญชีประจำปี
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
บริการรับปิดงบเปล่า ราคาถูก
เอกสารที่กิจการต้องจัดเก็บ หลังการปิดงบบัญชี มีดังนี้
1. หลักฐานการส่งงบบัญชี เช่น บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น หนังสือเชิญประชุม
2.หลักฐานการยื่นและชำระภาษีตลอดทั้งปี ทั้งรายเดือน รายปี ที่มีการชำระภาษีในทุกรายการ
3.หลักฐานการลงบัญชี เช่น สมุดบัญชี รายละเอียดการตัดสต็อก รายงานภาษีซื้อ ภาษีขายที่ให้นักบัญชีทำ
ประโยชน์ของการ ปิดงบบัญชี
1.รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง และพร้อมนำส่งต่อให้ผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบ และเซ็นรับรองงบบัญชี
2.ทำให้เจ้าของกิจการสามารถนำข้อมูลไปทำรายงานเพื่อวิเคราะห์กิจการได้ เช่น รายงานการวิเคราะห์ยอดขาย รายงานการวิเคราะห์สินค้าคงเหลือ รายงานการวิเคราะห์ลูกหนี้
3.สามารถนำข้อมูลตัวเลขผลกำไร ที่ได้จากการปิดงบบัญชีได้ไปกำหนดการจ่ายเงินปันผลประจำปีของกิจการได้
4.เจ้าของกิจการสามารถปิดงบบัญชี ได้ทุกเดือน หรือทุกไตรมาส เพื่อสรุปตัวเลขทางการเงินของกิจการ จะช่วยทำให้ทราบข้อมูลทางการการเงินในปัจจุบัน และเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการดำเนินกิจการเจ้าของกิจการมากขึ้น
ค่าปรับโทษของกิจการไม่ปิดงบบัญชี
การนำส่งงบบัญชีล่าช้า หรือไม่ส่งงบบัญชี จะมีความผิดตามที่กฎหมายกำหนด โดยจะต้องถูกลงโทษ และเสียค่าปรับให้กับทั้ง 2 หน่วยงาน คือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และหน่วยงานกรรมสรรพากร
ซึ่งมีโทษทางอาญาปรับ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี กรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน ของกิจการนั้น ๆ ตั้งแต่การเสียค่าปรับไปจนถึงจำคุก โดยแตกต่างกันตามข้อกำหนดของหน่วยงานทั้งสองหน่วยงาน
ปรึกษาปิดงบบัญชีประจำปี
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
บริการรับปิดงบการเงิน งบการเงินย้อนหลัง
สรุปการปิดงบบัญชี
การปิดบัญชี ไม่ใช่แค่เพื่อการจัดนำบัญชีเพื่อส่ง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร แต่ต้องเก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้องไว้ให้ครบถ้วน และผู้เป็นเจ้าของเมื่อได้หลักฐานแล้วควรต้องอ่านงบการเงิน
วิเคราะห์ข้อมูลภาษีดูตัวเลขกำไร ขาดทุน รายการ สินทรัพย์ หนี้สิน เงินทุน เพราะตัวเลขเหล่านี้จะสะท้อนข้อเท็จจริงของสถานะกิจการ และหากพบปัญหาให้รีบปรึกษานักบัญชีโดยทันที เพื่อหาข้อผิดพลาดที่ต้องแก้ไข ปรับปรุง
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง และเพื่อให้เจ้าของมีความเข้าใจในธุรกิจของตนมากขึ้นเพื่อจะนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจวางแผนธุรกิจได้อย่างมั่นใจ
ปรึกษาปิดงบบัญชีประจำปี
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
รับสอบบัญชี ออดิท เซ็นต์งบ โดยผู้ตรวจสอบบัญชี
แชร์บนเฟสบุ๊ค
บทความที่น่าสนใจ
ระยะเวลาการปิดบัญชี
วางแผนลดหย่อนภาษี
รับจดทะเบียนบริษัท สมุทรสาคร ปรึกษาทีมงานมืออาชีพ
ระบบอีเพย์เม้นท์
การจ่ายเงินปันผล บริษัทจํากัด
ตราประทับบริษัท (ตรายาง) ตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนด ต้องมีไหม
บัญชีบริษัท ต้องทำอะไรบ้าง
จดทะเบียนพาณิชย์
รับทำบัญชีร้านอาหาร การันตีเห็นกำไรขาดทุน
โปรแกรมบัญชี On cloud
จัดแฟ้มเอกสารบัญชีบริษัท ให้ใช้ง่ายมีประสิทธิภาพ
รับจ้างทำบัญชี ครบวงจร
จดทะเบียนพาณิชย์
รับจดจัดตั้งบริษัท ออนไลน์
กำหนดเวลายื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม