097-2362994
[email protected]
Line
หน้าแรก
บริการของเรา
รับทำบัญชี
รับตรวจสอบบัญชี
รับจดทะเบียนบริษัท
รับวางระบบบัญชี
รับวางแผนภาษี
รับคัดหนังสือรับรอง
โปรแกรมบัญชี Express
บทความ
เกี่ยวกับสำนักงานบัญชีเรา
ติดต่อเรา
1054
views
Line
โดย
สำนักงานบัญชีพีทูพี
เมื่อ
13 ก.ค. 2565
แชร์บนเฟสบุ๊ค
วางแผนลดหย่อนภาษี
ทุกปีจากการทำงานอย่างหนัก ภาษีเป็นเรื่องหนึ่งที่น่าปวดหัวที่สุด หากท่านไม่ได้เป็นพนักงานบริษัท ที่มีฝ่ายบัญชีจัดการให้ หรือท่านมีรายได้เกินช่องทางเดียว ท่านอาจจะต้องบริหารจัดการภาษีด้วยตัวเอง
และเมื่อไม่ได้เตรียมการวางแผนทางด้านภาษีที่ดี เรื่องการจัดการภาษีก็จะกลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนในทันทีวันนี้จึงจะพาท่านมาทำความรู้จักกับ
วางแผนลดหย่อนภาษี
ที่ท่านสามารถเข้าใจง่ายๆ
เริ่มต้นคำนวณได้ด้วยตัวเองโดยที่ในปีนี้ และปีถัดๆไป เรื่องการจัดการด้านภาษีส่วนบุคคลจะไม่เป็น สิ่งที่ท่านต้องกังวลอีกต่อไป ท่านจะได้ทำหน้าที่ในฐานะพลเมืองได้อย่างเต็มความภาคภูมิใจ และยังใช้ประโยชน์จากการ
วางแผนลดหย่อนภาษี
ได้อย่างคุ้มค่าที่สุดอีกด้วย
วางแผนลดหย่อนภาษี ติดต่อ
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
ดูบริการ รับติดตั้งวางระบบ ลงโปรแกรมบัญชี Express
เริ่มต้นวางแผนลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ทำไมต้องวางแผนทางด้านภาษี
ในฐานะพลเมืองของประเทศการจ่ายภาษีคือหน้าที่สำคัญสำหรับทุกคนในประเทศนั้นๆจึงมีคำกล่าวกล่าวจากผู้ร่วมก่อตั้งประเทศอเมริกาเบนจามิน แฟรงคลินกล่าวว่า
ในโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน นอกจากความตายและภาษี
การทำหน้าที่ตรงนี้จึงเป็นการสร้างเมืองสร้างสังคมภาพรวมให้ขับเคลื่อนในทุกรูปแบบเพื่อให้สังคมเกิดการพัฒนาในด้านต่างๆอย่างแท้จริงจึงจำเป็นที่จะต้องทำการวางแผนเรื่องภาษีอย่างถูกต้องเพื่อให้เราได้ทำหน้าที่ตามกฎหมาย
ในฐานะพลเมืองที่ดีและการวางแผนภาษีไม่ใช่การหลบหรือเลี่ยงภาษี แต่เป็นการบริหาร เพื่อให้เสียภาษีอย่างถูกต้องและน้อยที่สุด จากการลดหย่อนภาษีที่ทางรัฐบาลให้ทางเลือกกับคนในประเทศได้ใช้สิทธิตามที่กฎหมายกำหนด
เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวในการลดค่าใช้จ่ายด้านภาษีและเพื่อประโยชน์ของประเทศที่สามารถขับเคลื่อนได้จากการลดหย่อนภาษีดังกล่าวอีกด้วย
ทำความรู้จักกับการวางแผนลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การวางแผนลดหน่อยภาษีคือการเตรียมการเพื่อเสียภาษีได้อย่างถูกต้องโดยในสิทธิประประโยชน์ที่ทางกฎหมายได้กำหนดเอาไว้สำหรับการลดหย่อนภาษีประจำปีเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวในการลดค่าใช้จ่ายด้านภาษี
เริ่มต้นวางแผนการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ่งหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจก่อนเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีคือการลดหย่อนภาษี ไม่ใช่การลดภาษี การลดหย่อนภาษีเป็นเพียงสิทธิให้ใช้เพื่อผลประโยชน์ทางด้านภาษี
โดยนำ เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิจากนั้นนำเงินได้สุทธิคูณกับอัตราภาษีแต่ละขั้นบันได จึงจะสามารถนำมาหักภาษี
วางแผนลดหย่อนภาษี ติดต่อ
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
อ่านบทความรับวางแผนภาษี ลดหย่อนภาษี
สิ่งที่ต้องเข้าใจเรื่องการลดหย่อนภาษี
การลดหย่อนภาษีจะมีการปรับเปลี่ยนแปลงทุกปีจากข้อกำหนดของรัฐบาลในปีนั้นๆค่าใช้จ่าย และ การลดหย่อนภาษีการหักลบจากเงินได้ไม่เหมือนกัน ค่าใช้จ่าย สัมพันธ์กับประเภทของเงินได้บุคคลธรรมดาค่าลดหย่อนภาษี สัมพันธ์กับตัวบุคคล
ประเภทของเงินได้บุคคลธรรมดา และอัตราการหักค่าใช้จ่าย
เงินได้บุคคลธรรมดาคือบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ไม่ว่าจากช่องทางไหนเมื่อมีรายได้จำเป็นที่จะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาเงินได้บุคคลธรรมดาทั้ง 8 ประเภท และอัตราการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 3
ประเภทที่ 1
– เงินเดือน อัตราการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หากมีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภทรวมกัน แต่หักได้ไม่เกิน 100,000บาท 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หากมีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภทรวมกันแต่หักได้ไม่เกิน 100,000บาท
ประเภทที่ 2
– การจ้างทำงาน อัตราการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หากมีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภทรวมกันแต่หักได้ไม่เกิน 100,000บาท 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หากมีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภทรวมกันแต่หักได้ไม่เกิน 100,000บาท
ประเภทที่ 3
– ค่าลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา อัตราการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หรือตามจริง
ประเภทที่ 4
– เงินได้ที่ได้จากการดอกเบี้ยเงินปันผล และ Cryptocurrency อัตราการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาหักค่าใช้จ่ายไม่ได้
ประเภทที่ 5
– ค่าเช่า การให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินอัตราการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา ตามจริงหรืออัตราเหมา 30%20% 15% 30% 10%
ประเภทที่ 6
– ค่าวิชาชีพอิสระเช่น เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรมการบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้เป็นต้น อัตราการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา ตามจริงหรืออัตราเหมา 60%30%
ประเภทที่ 7
– ค่ารับจ้างเหมาทั้งค่าแรงและค่าเครื่องมืออัตราการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา ตามจริงหรืออัตราเหมา 60%
ประเภทที่ 8
– เงินได้อื่นๆ ที่ไม่เข้าประเภทที่ 1-7 เช่น การขายของ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตรการอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้นอัตราการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา ตามจริงหรืออัตราเหมา 60%
วางแผนลดหย่อนภาษี ติดต่อ
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
ดูบริการ รับวางระบบบัญชี ระบบงานฝ่ายบัญชี
รายการลดหย่อนภาษี ประเภทต่างๆ รายการลดหย่อนปี 2565 ได้แก่
สิทธิเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว : 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้จดทะเบียนสมรสเท่านั้น : 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนบุตร : 30,000- 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนบิดามารดา อายุ 60 ปีขึ้นไปและมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทในปีภาษี : คนละ 30,000 บาท
- ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาค : คนละ 60,000 บาท
- ค่าฝากครรค์และทำคลอด :ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา อายุ 60 ปีขึ้นไปและมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทในปีภาษี : ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
สิทธิเกี่ยวกับประกันชีวิต การออม การลงทุน
- เบี้ยประกันทั่วไป / เงินฝากแบบมีประกัน: ตามที่จ่ายจริงแต่เมื่อรวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท (คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท)
- เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง :ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาทและเมื่อรวมกับเบี้ยประชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- กบข. / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ /กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน : ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นของเงินเดือน และเมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF : ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็น ของเงินที่ต้องเสียภาษีและเมื่อรวมกับ กบข. /กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน แล้วไม่เกิน 500,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ :ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็น ของเงินที่ต้องเสียภาษี และเมื่อรวมกับ กบข. /กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF แล้วไม่เกิน 500,000 บาท
- เงินประกันสังคม :ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 9,000 บาท
- กองทุนการออมแห่งชาติ กอช. :ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 13,000 บาท และเมื่อรวมกับ กบข. / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ /กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน / กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้วไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม SSF : ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็น ของเงินที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 200,000 บาทและเมื่อรวมกับ กบข. / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ /กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน / กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF /เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ และกองทุนการออมแห่งชาติ กอช.แล้วไม่เกิน 500,000 บาท
- เงินลงทุนธุรกิจ SocialEnterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) :ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000บาท
สิทธิเกี่ยวกับมาตรการทางเศรษฐกิจและสังคม
-ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย : ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
-ช็อปดีมีคืน 2565 :ตามจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท (รอประกาศเป็นกฎหมาย)
สิทธิค่าลดหย่อนเพื่อบริจาค
-เงินบริจาคทั่วไป :ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็น ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
-เงินบริจาคนักการเมือง : ตามจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
-เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา การกีฬาการพัฒนาสังคม สาธารณประโยชน์ และสถานพยาบาลรัฐ : 2 เท่าของเงินบริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็น ของเงินได้ที่หักค่าลดหย่อน
หมายเหตุ: รายการลดหย่อนภาษีจะมีการปรับเปลี่ยนทุกปี
อัตราภาษีเงินได้ แบบขั้นบันได
1.เงินได้สุทธิ 0 –150,000 บาท : อัตราภาษี 0% หรือได้รับการยกเว้นภาษี ภาษี = 0
2.เงินได้สุทธิ 150,000– 300,000 บาท : อัตราภาษี 5% ภาษี =(เงินได้สุทธิ – 150,000) x5%
3.เงินได้สุทธิ 300,001– 500,000 บาท : อัตราภาษี 10% ภาษี = [(เงินได้สุทธิ – 300,000) x10% ] + 7,500
4.เงินได้สุทธิ 500,001– 750,000 บาท : อัตราภาษี 15% ภาษี = [(เงินได้สุทธิ – 500,000) x15% ] + 27,500
5.เงินได้สุทธิ 750,001– 1 ล้านบาท : อัตราภาษี 20% ภาษี = [(เงินได้สุทธิ – 750,000) x20% ] + 65,000
6.เงินได้สุทธิ 1,000,001– 2,000,000 บาท : อัตราภาษี 25% ภาษี = [(เงินได้สุทธิ – 1,000,000) x25% ] + 115,000
7.เงินได้สุทธิ 2,000,001– 5,000,000 บาท : อัตราภาษี 30% ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 2,000,000) x30% ] +365,000
8.เงินได้สุทธิมากกว่า 5 ล้านบาท : อัตราภาษี 35% ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 5,000,000) x35% ] +1,265,000
คำนวณภาษีที่เข้าใจง่ายที่สุด วิธีคำนวณภาษีอย่างง่าย
1.นำเงินได้ทั้งปี หักค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าลดหย่อนต่าง ๆ เพื่อหาเงินได้สุทธิ
2.สูตรคำนวณ คือ เงินได้ - ค่าใช้จ่าย -ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
3.นำเงินได้สุทธิมาเทียบกับอัตราภาษีแบบขั้นบันไดแล้วนำเงินได้สุทธิคูณกับอัตราภาษีแต่ละขั้นบันไดเพื่อหาว่าเราต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่
4.สูตรคำนวณ คือ เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี (ตามขั้นบันได) = เงินภาษีที่ต้องจ่าย
วางแผนลดหย่อนภาษี ติดต่อ
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
แนะนำอ่าน รับจดทะเบียนบริษัท ราคาถูก ปรึกษาฟรี
สรุปการวางแผนลดหย่อนภาษี
เห็นไหมครับการวางแผนลดหย่อนภาษีและการคำนวณภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาง่ายนิดเดียว เรียกได้ว่าแค่ทำความเข้าใจนิดหน่อย ท่านก็ไม่มีความจำเป็นต้องกังวลกับช่วงสิ้นปีอีกต่อไปแล้ว
เพราะท่านสามารถบริหารจัดการเรื่องภาษีส่วนบุคคลได้ตั้งแต่ต้นปี และคำแนะนำสำคัญคือให้ซื้อสิทธิประโยชน์ทางภาษีเท่าที่จำเป็นเพราะหากท่านละเลยการคำนวณไป ค่าใช้จ่ายในการซื้อกรมธรรมต่างๆ อาจจะแพงกว่าภาษีที่ท่านจะต้องจ่าย
ขอให้ท่านมีชีวิตที่มีความสุขและใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างคุ้มค่าที่สุด หากท่านสนใจเรื่องด้านภาษีเว็บไซต์เราจะคอยนำเสนอเรื่องที่เป็นประโยชน์ให้สำหรับท่าน
วางแผนลดหย่อนภาษี ติดต่อ
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
บริการ รับทำบัญชี ยื่นภาษี
แชร์บนเฟสบุ๊ค
บทความที่น่าสนใจ
บัญชีภาษีพื้นฐาน สำหรับผู้ประกอบการ
คุณสมบัติโปรแกรม FlowAccount
จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ที่ไหน ใช้เอกสารอะไรบ้าง
ลดข้อโต้แย้งกับสรรพากร ทำบัญชีภาษี
ต้นทุนการผลิต
วันเริ่มทำบัญชี
แก้ไข ขีดฆ่า เติมคำ ในคำขอจดทะเบียนบริษัท
ใบแจ้งหนี้ ใบวางบิล คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
การคำนวณภาษีจากยอดขาย
งบกำไรขาดทุน
อ่านก่อน จ้างบริษัทรับทำบัญชี
เงินได้พึงประเมิน 8 ประเภท มาตรา 40
ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ คืออะไร
ที่ปรึกษาทางการเงิน วางแผนการเงิน
จัดทำเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ค่าใช้จ่าย