views

รับยื่นภาษี บุคคลธรรมดาขายออนไลน์

 

สำนักงานบัญชี พีทูพี บริการรับยื่นภาษี ธุรกิจขายออนไลน์ ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจ บุคคลธรรมดา บริษัทSME ธุรกิจขายออนไลน์ คำนวณภาษีถูกต้อง ประหยัดภาษีโดยการวางแผนภาษี การันตีไม่มี เบี้ยปรับเงินเพิ่ม



เหตุแห่งภาษี


ภาระหน้าที่ของผู้ประกอบการธุรกิจคือต้องนำส่งภาษีให้กับภาครัฐ ตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อสนับสนุนรัฐและกิจการของรัฐ ในรูปของเงินภาษีไม่ใช่การบริจาค หรือการจ่ายตามอัธยาศัย

 

การยื่นภาษี


การยื่นภาษี เป็นข้อกำหนดในกฎหมายสรรพากรว่าด้วยประชาชนคนไทย จำเป็นมีการยื่นภาษีแสดงรายได้  และเป็นหลักฐานการยื่นทำธุรกรรมในอนาคตได้


เพื่อแสดงถึงรายได้ของบุคคลนั้น ๆ เช่น การขอกู้เงิน กู้สินเชื่อต่าง ๆถ้าใครอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องจ่ายภาษีแล้วนั้น ภาษีเหล่านั้นจะถูกนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ

 

ใครบ้างต้องเสียภาษี ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล


1. บริษัท หรือห้างหุ่นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายไทย


2. บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย


3. กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไร โดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ


4. กิจการร่วมค้า


5. มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิ หรือ สมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์กรหรือสถานสาธารณกุศล


6. นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร


บริการที่ปรึกษาภาษี




ฐานภาษีในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล


1.กำไรสุทธิ


2.ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย


3.เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย


4.การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย

 

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล


ลักษณะนิติบุคคล – SME ทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการไม่เกิน 30 ล้านบาทภายในรอบระยะเวลาบัญชี


กำไรสุทธิ (บาท) = 0-300,000 / อัตราภาษี (ร้อยละ) =ยกเว้น


กำไรสุทธิ (บาท) = 300,001 – 3 ล้าน / อัตราภาษี(ร้อยละ) = 15


กำไรสุทธิ (บาท) = มากกว่า 3 ล้าน / อัตราภาษี(ร้อยละ) = 20


ลักษณะนิติบุคคลทั่วไปกำไรสุทธิ (บาท) ทั้งจำนวน / อัตราภาษี (ร้อยละ) 20

 

สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล(ภ.ง.ด.51, ภ.ง.ด.50, ภ.ง.ด.52, ภ.ง.ด.55)

 

1.ยื่นแบบได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่


**ภ.ง.ด.51 ยื่นแบบภายใน2 เดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี


**ภ.ง.ด.50,ภ.ง.ด.52,ภ.ง.ด.55, ยื่นแบบภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

 

2.ยื่นแบบผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์www.rd.go.th


**ภ.ง.ด.51 ยื่นแบบภายใน 2เดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี


ได้รับสิทธิพิเศษให้ขยายเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีออกไปเป็น ภายใน 2 เดือน 8 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี


6 เดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี


**ภ.ง.ด.50, ภ.ง.ด.52,ภ.ง.ด.55 ยื่นแบบภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี


ได้รับสิทธิพิเศษให้ขยายเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีออกไปเป็น ภายใน 158 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี


***หากวันสุดท้ายตรงกับวันหยุดราชการให้ขยายเวลายื่นแบบ และชำระภาษีออกไปอีก 1 วัน

 

บริการรับวางแผนภาษี


การชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล


1.การชำระภาษีสำหรับแบบที่ยื่นณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา


1.1 เงินสด


1.2 เช็คหรือดราฟต์


1.3 ธนาณัติ


1.4 บัตรอิเล็กทรอนิกส์บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตร Tax SmartCard (เฉพาะสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่มีเครื่องรูดบัตร)

 

2.การชำระภาษีสำหรับแบบที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต


2.1 ชำระแบบเชื่อมต่อไปยังระบบชำระเงินของธนาคารโดยตรง


**E-Payment ตัดเงินแบบ OnlineReal Time


**ATM บนอินเทอร์เน็ต


**บัตรเครดิตบนอินเทอร์เน็ต


2.2 ชำระด้วยชุดชำระเงิน (Pay in Slip) ช่องทางที่เปิดให้บริการ


**Counter Service (ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการยื่นแบบ,ไปรษณีย์, 7-Eleven, Tesco Lotus, Big C, TrueMoney CenPay, InternetBanking, Tele Banking, Phone Banking, Mobile Banking, Tax Smart Card.

 

บทกำหนดโทษ ภ.ง.ด.51


1.กรณียื่นรายการและชำระภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิ


โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีก ร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระไว้ขาด


2.กรณียื่นรายการและชำระภาษีจากกำไรสุทธิจริง


โดยยื่นรายการและชำระภาษีไว้ไม่ถูกต้องโดยไม่มีเหตุอันสมควร ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องชำระขาดไป ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ20 ของภาษีที่ชำระไว้ขาด


3.กรณีไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51หรือไม่ยื่นภายในกำหนดเวลา และมีภาษีต้องเสีย


ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ20 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ


4.กรณีไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51หรือไม่ยื่นภายในกำหนดเวลา


เว้นแต่จะแสดงว่า ได้มีเหตุสุดวิสัยต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

 

5.เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล


มีหน้าที่ต้องยื่นแบบภ.ง.ด.50 พร้อมยื่นบัญชี โดยมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือผู้สอบบัญชีอากรแล้วแต่กรณี ตรวจสอบและรับรอง ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีพร้อมกับชำระภาษี (ถ้ามี) โดยนำภาษีที่ชำระไว้ตาม ภ.ง.ด.51 มาหักออกก่อน

 

บริการรับทำบัญชี ราคาประหยัด


บทกำหนดโทษ ภ.ง.ด.50


1.กรณีบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ชำระภาษี ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี


จะต้องคำนวณ และชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละ1.5 ต่อเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติม ทั้งนี้ให้คำนวณเงินเพิ่มเป็นรายเดือน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯ จนถึงวันยื่นแบบฯและชำระภาษี แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติม


2.กรณีบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นแบบฯ


ตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 68แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ยื่นบัญชีตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากรภายในกำหนดเวลาดังกล่าว อาจต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 4,000 บาท (มาตรา 35แห่งประมวลรัษฎากร)

 

บทกำหนดโทษ ภ.ง.ด.52


1.กรณีบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ชำระภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี


จะต้องคำนวณและชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของภาษีที่ชำระเพิ่มเติม ทั้งนี้ให้คำนวณเงินเพิ่มเป็นรายเดือน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯ จนถึงวันยื่นแบบฯและชำระภาษี


2.กรณีบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นแบบฯ


ตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 68แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ยื่นบัญชีตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฏากรภายในกำหนดเวลาดังกล่าว อาจต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 4,000 บาท (มาตรา 35แห่งประมวลรัษฎากร)

 

บทกำหนดโทษ ภ.ง.ด.55


1.กรณีมูลนิธิ หรือสมาคมไม่ชำระภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี


จะต้องคำนวณและชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของภาษีที่ชำระเพิ่มเติม ทั้งนี้ให้คำนวณเงินเพิ่มเป็นรายเดือน นับแต่วันพ้นกำหนดเวล่ยื่นแบบฯ จนถึงวันยื่นแบบฯชำระภาษี


2.กรณีกองทุนรวมไม่ชำระภาษีภายใน150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี


จะต้องคำนวณและชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของภาษีที่ชำระเพิ่มเติมทั้งนี้ให้คำนวณเงินเพิ่มเป็นรายเดือน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯจนถึงวันยื่นแบบฯ และชำระภาษี


3.กรณีมูลนิธิหรือสมาคมหรือกองทุนรวม ไม่ยื่นแบบฯ


ตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 68แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ยื่นบัญชีตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากรภายในกำหนดเวลาดังกล่าง อาจต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 4,000 บาท (มาตรา 35แห่งประมวลรัษฎากร)



ทั้งหมดเป็นเรื่องของการ ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งจะเห็นได้ว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ที่สำหรับผู้ประกอบการ เราสามารถจัดการดูงานด้านภาษี


ตั้งแต่ขั้นตอนวางระบบ วางแผนภาษี คำนวณยื่นภาษีเงินดำเนินการแทนท่านผู้ประกอบการเพื่อคลายกังวลอันเนื่องจากท่านอาจจะไม่มีความรู้ด้านภาษีอากร


การให้มืออาชีพเข้ามาช่วยงานด้านภาษีคำนวณยื่นภาษีให้จะดีกว่าและถูกต้องมีประสิทธิภาพมากกว่า

 

บริการรับจดทะเบียนนิติบุคคล


บริษัท สำนักงานบัญชีพีทูพีจำกัด ให้บริการรับยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลบริษัท ห้างหุ้นส่วน ผู้ประกอบการค้าออนไลน์โดยเราครอบคลุมทุกเรื่องการทำบัญชีแบบครบวงจร


มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญการทำบัญชีวางแผนภาษี วางระบบบัญชี สอนใช้โปรแกรมบัญชีด้วยประสบการณ์กว่า 25 ปี  ท่านสามารถวางใจในการรับทำบัญชี


ที่โปร่งใสรักษาความลับ ความปลอดภัย ข้อมูลลูกค้าของสำนักงานบัญชีมั่นใจเราได้ทุกผลงาน


สำนักงานบัญชีพีทูพีให้บริการรับทำบัญชีตามมาตรฐานครบวงจร บริการรับทำบัญชีทั้งรายเดือนและรายปี บริการรับยื่นภาษีรายเดือนทุกแบบ


บริการยื่นประกันสังคมทุกแบบ บริการบันทึกบัญชี บริการจัดทำสมุดรายวัน  บริการปิดงบการเงิน รวมถึงรับตรวจสอบบัญชีประจำปี ตรวจสอบ BOI  ตรวจสอบการควบคุมภายใน


รับจดทะเบียนบริษัทรับวางระบบบัญชี และอีกมากมาย สอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณมนปพร (ชมพู่)

โทรศัพท์ :  097 236 2994 ไอดีไลน์ :  p2pacc 

เว็บไซต์: https://www.p2paccounting.com/



บทความที่น่าสนใจ