จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการค้าออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะสามารถเข้าถึงได้ง่าย
สะดวกสบายใช้ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายน้อย ตอบโจทย์ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายส่งผลให้การตลาดออนไลน์มีมูลค่ามหาศาล และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีกในอนาคต
ความนิยมที่มากขึ้นนี้ก็มีปัญหาตามมาด้วยเช่นกันทั้งเกิดการฉ้อโกงในรูปแบบต่างๆ เช่น ผู้ซื้อโอนเงินแล้วแต่ไม่ยอมส่งของให้
หรือการใช้รูปสินค้าที่ไม่มีอยู่จริงมาหลอกขายลูกค้าและอีกสารพัดกลโกงที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ เรียกได้ว่าการขายออนไลน์
นอกจากจะเป็นโอกาสใหม่ๆของการทำธุรกิจแล้วยังมีช่องโหว่ให้เหล่ามิจฉาชีพได้กระทำการโกงอีกด้วย เพราะในโลกออนไลน์นั้น
บางครั้งก็ยากที่จะพิสูจน์ตัวตน ไม่ทราบที่มาที่ไปดังนั้นร้านค้าออนไลน์จึงต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า
เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจนำไปสู่การซื้อขายที่ราบรื่นและประสบผลสำเร็จส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศต่อไป
แนะนำอ่านจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขบริษัท
รัฐบาลได้เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจึงได้ให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยสำนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประกาศให้ผู้ที่เปิดร้านออนไลน์ ผู้ที่ทำการค้าขายบนอินเทอร์เน็ต shopee lazada pantip หรือประกอบธุรกิจเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นการจัดระเบียบการค้าออนไลน์ให้ได้มาตรฐาน
สร้างความน่าเชื่อถือให้กับประชาชนและหากร้านใดฝ่าฝืนจะมีโทษทางกฎหมายอีกด้วย
กิจการแบบใดที่เข้าข่ายต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนดประเภทของกิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ดังนี้
1.กิจการที่ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2.กิจการบริการอินเทอร์เน็ต (ISP) คือหน่วยงานที่บริการในการเชื่อมต่อระหว่างอินเทอร์เน็ตกับอุปกรณ์ต่างๆทําให้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้
3.กิจการให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web-Hosting)คือ ผู้ให้บริการเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อทำหน้าที่ในการรับฝากเว็บไซต์ให้เว็บไซต์ต่าง ๆ สามารถออนไลน์อยู่บนอินเทอร์เน็ตได้
4.กิจการบริการตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ (E-Marketplace)คือเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่น
ที่เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมร้านค้าเพื่อเป็นสื่อกลางในการซื้อ-ขายสินค้าโดยเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าไปโพสซื้อ-ขายได้
บริการให้คำปรึกษาด้านบัญชีภาษี สำหรับผู้ประกอบการ
ตัวอย่างกิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
-มีระบบการสั่งซื้อบนเว็บไซต์ เช่น ระบบกรอกแบบฟอร์ม ระบบตะกร้าสินค้า
-มีระบบการชําระเงิน ทั้งแบบออฟไลน์และแบบออนไลน์ เช่นการโอนเงินผ่านระบบบัญชีธนาคาร การชําระด้วยบัตรเครดิต
-มีระบบสมัครสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูล ความรู้ หรืออื่น ๆ โดยมีการคิดค่าใช้จ่าย
-มีวัตถุที่ประสงค์หลักในการรับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้อื่นและมีรายได้จากการโฆษณานั้น
-รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ หรือโฆษณาว่าเป็นผู้รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ (ถือว่าการออกแบบ
เว็บไซต์นั้นมีช่องทางการค้าปกติบนอินเทอร์เน็ต)
-เว็บไซต์ให้บริการเกมส์ออนไลน์ที่คิดค่าบริการจากผู้เล่น(เจ้าของเว็บไซต์ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์)
-เว็บไซต์ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่นการดาวน์โหลดสื่อ หนัง เพลง เกม เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการครอบคลุมประเภทของกิจการที่เกี่ยวกับการค้าออนไลน์ทั้งระบบ
ตั้งแต่ผู้เช่าพื้นที่บนอินเทอร์เน็ต ผู้ที่เป็นตลาดกลางอย่างแอพลิเคชั่นต่างๆผู้เปิดให้บริการสื่อและข้อมูล ไปจนถึงผู้ค้ารายย่อย
ที่ทำการค้าบนสื่อออนไลน์อย่างFacebook,Line หรือมีพื้นที่เป็นของตนเองบนอินเทอร์เน็ตแต่การจดทะเบียนนี้ไม่ได้รวมถึง
ผู้ที่ใช้ช่องทางออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์โฆษณาสินค้า ที่ไม่ได้ทำการซื้อขาย ชำระเงินผ่านช่องทางนั้นโดยตรง
สำหรับใครที่เข้าข่ายดังกล่าวให้รีบดำเนินการจดทะเบียนให้ถูกต้องเพื่อรักษาสิทธิและประโยชน์ของท่านเอง
บริการให้คำปรึกษาด้านภาษีอากร สำหรับผู้ประกอบการ
ประโยชน์ที่ผู้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะได้รับ
1.ได้ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นเอกสารรับรองการประกอบการค้าออนไลน์ซึ่งเอกสารนี้สามารถนำแสดงบนเว็บไซต์หรือร้านออนไลน์
เพื่อความน่าเชื่อถือหรือนำไปประกอบการทำธุรกรรมทางการเงินเป็นการแสดงและยืนยันแหล่งที่มาของรายได้
ของผู้ค้าในการขอสินเชื่อต่างๆเพื่อการดำเนินชีวิต การขยายกิจการ เป็นเอกสารประกอบการพิจารณาของธนาคารได้อีกทางหนึ่ง
2.ได้เครื่องหมายรับรองเมื่อได้เอกสารทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้วสามารถนำไปยื่นขอรับเครื่องหมายเพื่อรับรองร้านค้าออนไลน์ของเราได้
แต่ร้านค้าต้องจดทะเบียนเป็นชื่อโดเมนเนมของตนเองเท่านั้นหากเป็นร้านที่อยู่บนแพลตฟอร์มอื่น เช่น Facebook, Line จะไม่ได้สิทธิยื่นขอรับเครื่องหมายนี้ โดย
มีเครื่องหมายอยู่2 แบบ คือ
DBDREGISTERED เป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์รับรองการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
DBDVerified เป็นเครื่องหมายที่จะได้รับเมื่อผ่านการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด เท่านั้น
หากผู้ประกอบการต้องการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับร้านหรือองค์กร ก็ควรจะพัฒนาคุณภาพและระบบต่างๆ
ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือการได้เครื่องหมาย DBD Verified นั่นเอง
5.ได้สิทธิเข้าร่วมกิจกรรมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าการออกบูธแสดงสินค้า อบรม สัมมนาได้รับข่าวสารด้านพาณิชอิเลคทรอนิกส์เพื่อเป็นแนวทางต่อยอดธุรกิจต่อไป
4.เหนือกว่าคู่แข่งด้วยการสร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นการค้าขายออนไลน์ยุคนี้มีทั้งผู้ขายที่เป็นมืออาชีพดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
ในขณะเดียวกันก็มีผู้ที่ใช้ช่องทางนี้ในการแอบอ้าง ฉ้อโกงสร้างข้อมูลเท็จให้ลูกค้าหลงเชื่อ ตามที่พบเห็นได้บ่อยในพื้นที่ข่าว
ลูกค้าจึงต้องมีการพิจารณาตัดสินใจที่มากขึ้นในการซื้อสินค้าหรือบริการออนไลน์ในแต่ละครั้งผู้ประกอบการที่มีเอกสารและ
เครื่องหมายรับรองที่ถูกต้องจากรัฐจึงมีโอกาสได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามากกว่าร้านที่ไม่มีอะไรรับรองเลย
รับจดทะเบียนนิติบุคคล บริษัท ห้างหุ้นส่วน
ขั้นตอนการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
เอกสารที่ต้องเตรียมในการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการ
2.แบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ หรือ ทพ. สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ www.dbd.go.th(กรอกเฉพาะข้อ 1-8)
3.เอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเอกสารแนบแบบทพ. (ใช้กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์)
4.พิมพ์หน้าแรกของร้านค้าออนไลน์ สินค้า/บริการที่ประกอบการและวิธีการสั่งซื้อสินค้า/บริการ วิธีการชำระเงิน วิธีการส่งสินค้า
5.แผนที่ตั้งสถานประกอบการ
6.กรณีมอบอำนาจ ให้แนบหนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
นำเอกสารไปยื่นเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและจัดทำข้อมูลเมื่อได้รับทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เรียบร้อยแล้ว
หากผู้ปกระกอบการต้องการรับเครื่องหมายรับรอง DBD REGISTERED ให้ทำการเตรียมเอกสารดังนี้
1.สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค.0403)
2.สำเนารายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ (เอกสารแนบ ทพ.) กรอก 1 ใบต่อ 1 เว็บไซต์
3.สำเนาเอกสารการจดโดเมนเนมชื่อผู้จดทะเบียนโดเมนเนมต้องเป็นชื่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียนพาณิชย์ 4. เอกสารอื่น (ถ้ามี)
-ใบแสดงตัวแทนจำหน่าย
-ใบแสดงลิขสิทธิ์
-ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจนั้น
จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องไปที่ใด
ในการจดทะเบียนพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ต้องไปดำเนินการในพื้นที่ที่ตั้งของร้านหรือสำนักงานใหญ่ของร้าน ดังนี้
1.กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานเขตที่ตั้งของสำนักงานใหญ่นั้น
2.ส่วนภูมิภาค ให้ยื่น ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์เมืองพัทยา เทศบาลหรือองค์การบริการส่วนตำบลที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
3.สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในต่างประเทศและมาตั้งสำนักงานสาขาเพื่อประกอบกิจการในประเทศไทยให้จดทะเบียนในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบของสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ในเขตท้องที่นั้น
การจดทะเบียนพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทุกคน ไม่ว่าจะมีร้านขนาดเล็กหรือใหญ่
จำนวนสินค้าจะมากน้อยเพียงใด หรือจะตั้งอยู่บนพื้นที่ของตนเองหรือพื้นที่สื่อออนไลน์อื่นๆหากเข้าข่ายที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์กำหนด
ต้องไม่ละเลยที่จะทำการจดทะเบียนพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทั้งของผู้ซื้อ ผู้บริโภค ที่จะได้สินค้าตามตรงตามความต้องการ
ได้รับบริการที่ดีมีมาตรฐานจากร้านค้า ผู้ประกอบการเองก็ได้ความไว้วางใจความเชื่อมั่นส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ และยังมีสิทธิด้านกฎหมายต่างๆอย่างชอบธรรมอีกด้วย
ข้อมูลอ้างอิงจาก: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ www.dbd.go.th
จองชื่อจดทะเบียนบริษัท
สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่ไม่สะดวกดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ด้วยตนเอง
สามารถใช้บริการจากเรา บริษัทสำนักงานบัญชี พีทูพี ที่เปิดดำเนินงานด้านรับจดทะเบียนบริษัทจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
รับขึ้นและจดทะเบียนประกันสังคม รับทำบัญชีภาษีอากรแบบครบวงจร ทำหน้าที่ให้ท่านได้
บริการรับจดทะเบียนบริษัท