views

บัญชีภาษีพื้นฐาน สำหรับผู้ประกอบการ


นอกจากการวางแผนธุรกิจแล้วอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรจะต้องศึกษาก็คือเรื่องของบัญชีภาษีพื้นฐาน สำหรับผู้ประกอบการนั่นเอง


ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น ตามแนวทางที่กฎหมายได้กำหนดไว้


บัญชีภาษีคืออะไร ?


นอกจากความรู้ในเรื่องของการจัดทำบัญชีการเงินของบริษัทแล้วอีกหนึ่งเรื่องที่เป็นเรื่องของบัญชีภาษีพื้นฐานสำหรับผู้ประกอบการก็คือ


เรื่องของบัญชีภาษีบัญชีภาษีอากร คือการจัดทำบัญชีเพื่อแสดงข้อมูลทางการเงินของบริษัท โดยมีการปรับเปลี่ยนข้อมูลทางบัญชีบางรายการ


เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฏหมายภาษีอากรเพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงการจัดทำรายการ


ที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดกฏหมายภาษีอากรอีกด้วยทั้งการจัดเก็บเอกสารหลักฐาน การจัดทำบัญชีพิเศษ และเอกสารอื่น ๆ ตามที่กฎหมายภาษีอากรกำหนด


ประเภทของภาษี


ภาษีถูกแบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆเพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจเรื่องของบัญชีภาษีพื้นฐาน สำหรับผู้ประกอบการได้อย่างถูกต้องและชัดเจน


ผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีเสียก่อน


จ้างทำบัญชียื่นภาษี ปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญ รับข้อเสนอพิเศษ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


อ่านบริการรับวางระบบบัญชี วางระบบงานฝ่ายบัญชี ครบวงจร

ภาษีเงินได้นิติบุคคล


ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่สรรพากรเรียกเก็บจากเงินได้ของนิติบุคคลซึ่งก็คือผู้ประกอบการที่จดทะเบียนธุรกิจไว้ในรูปแบบของ


บริษัท ห้างหุ้นส่วน โดยแบบแสดงภาษีเงินได้นิติบุคคลจะถูกแบ่งออกเป็น2 แบบ ได้แก่ ภ.ง.ด.50 ซึ่งต้องยื่นภายใน 150 วัน


หลังวันที่ปิดระบบบัญชีและ ภ.ง.ด.51 ซึ่งต้องยื่นภายใน 2เดือนหลังรอบบัญชีภาษีครึ่งปี


นอกจากบริษัทที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคลแล้วนั้น นิติบุคคลอื่น ๆ


ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ก็จำเป็นต้องเสียภาษีประเภทนี้เช่นกัน

 

- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่ก่อตั้งตามกฎหมายไทย


- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่ก่อตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศโดยมีข้อกำหนดให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย


- กิจการที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาผลกำไรทางการค้า


- กิจการร่วมค้า


- มูลนิธิหรือสมาคมที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อประกอบกิจการและแสวงหาผลกำไร


- นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย


ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคือ เงินในส่วนที่นิติบุคคลทั้งในรูปแบบบริษัทและห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ทำการหักไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน (บุคคลทั่วไปหรือนิติบุคคล)


และนำส่งเป็นภาษีให้สรรพากรโดยจะต้องทำการส่งให้สรรพากร ไม่เกิน วันที่ 7 ของเดือนถัดไปนั่นเอง โดยผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย


กรณีผู้ถูกหักที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดาจะต้องนำส่งภาษีที่หักด้วยแบบ ภ.ง.ด. 3  แต่ถ้าหากว่าผู้ถูกหักมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้แบบนิติบุคคล


จะต้องนำส่งภาษีที่หักด้วยแบบ ภ.ง.ด. 53  ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นเดือนที่ได้ทำการจ่ายเงินทั้งนี้ สำหรับการจ่ายเงินตั้งเเต่ 500 บาทขึ้นไป


จะต้องมีการออกหนังสือรับรองการหักภาษีณ ที่จ่าย จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ต้นฉบับและสำเนา 2 ฉบับ ให้ไว้กับคู่ค้าของเรา เพื่อให้คู่ค้า


ใช้ในการขอคืนภาษี 1 ฉบับ และเก็บไว้เป็นหลักฐาน 1 ฉบับ ส่วนอีก 2 ฉบับ เราจะต้องทำการเก็บไว้กับตัวเอง เพื่อใช้ส่งภาษี1 ฉบับ และเก็บไว้เป็นหลักฐาน 1 ฉบับ


ข้อควรรู้เกี่ยวกับภาษีประเภทนี้ก็คือผู้รับเงินสามารถขอคืนภาษีประเภทนี้ได้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษีไว้


เมื่อมีการจ่ายเงินหรือซื้อสินค้าโดยมีข้อกำหนดตามประเภทของเงินได้ และอัตราภาษีที่กำหนดในการหัก ณ ที่จ่าย นอกจากนี้ในการจ่ายภาษีประเภทนี้


มีข้อคำนึงที่สำคัญอยู่ 2 ข้อก็คือ เราจ่ายเงินให้กับใคร (มีผลต่อประเภทแบบที่ยื่น)และเราจ่ายเงินให้กับอะไร (มีผลต่ออัตราภาษีที่หัก)


จ้างทำบัญชียื่นภาษี ปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญ รับข้อเสนอพิเศษ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


บริการรับตรวจสอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

ภาษีมูลค่าเพิ่ม


ภาษีมูลค่าเพิ่มคือ การที่ผู้ประกอบการหรือผู้จัดจำหน่ายสินค้าเก็บภาษีจากการจำหน่ายสินค้าและบริการทั้งสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ


และสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีอัตราของภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่7%


ใครที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ?


ผู้ประกอบกิจการที่มีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี จากการจำหน่ายสินค้าและบริการนั่นเอง นอกจากนี้ยังรวมถึงผู้ประกอบกิจการในกลุ่ม


ก่อสร้าง โรงงานติดตั้งเครื่องจักร ผู้ประกอบการที่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทยแต่มีการดำเนินการจำหน่ายสินค้าหรือบริการในประเทศไทย


ในกรณีนี้ต้องมอบหมายให้ตัวแทนที่อยู่ในประเทศไทยรับหน้าที่ในการดำเนินการจดทะเบียนให้

 

ใครที่ได้รับ‘ยกเว้น’ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ?


ผู้ประกอบกิจการที่จัดจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรทั้งปุ๋ย อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้ทั้งกับพืชและสัตว์ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับสัตว์


รวมถึงสัตว์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต สินค้าที่เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์นิตยสาร ตำราเรียน ตลอดจนผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม


ตามกฎหมายหรือมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี ธุรกิจให้บริการขนส่งในประเทศโดยท่าอากาศยาน การส่งออกในเขตอุตสาหกรรม


ส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในประเทศ อย่างไรก็ดี


ถึงแม้จะมีสิทธิ์ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแต่หากต้องการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็สามารถทำได้เช่นกัน

 

ส่วนกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นได้แก่ ผู้ประกอบการที่มีได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี ทั้งจากการจำหน่ายสินค้าและบริการ


ผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ผู้ประกอบการที่ได้รับการประกาศจากกรมสรรพากร เป็นต้น

 

ภาษีธุรกิจเฉพาะ


ภาษีธุรกิจเฉพาะคือ ภาษีที่เก็บจากกิจการบางประเภทตามที่กฏหมายกำหนดไว้ซึ่งภาษีประเภทนี้จะเป็นภาษีคนละประเภทกับภาษีมูลค่าเพิ่ม


โดยผู้ประกอบการจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะด้วยแบบคำขอ ภ.ธ.01 ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มกิจการ


โดยกลุ่มกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะนั้นมีตัวอย่าง ดังต่อไปนี้


- ผู้ประกอบกิจการธนาคาร


- ผู้ประกอบกิจการในกลุ่มธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์


- ผู้ประกอบกิจการในกลุ่มประกันชีวิต


- ผู้ประกอบกิจการรับจำนำ


- ผู้ประกอบกิจการในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์


และผู้ประกอบกิจการอื่น ๆ ตามที่กฏหมายกำหนด ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลจากกรมสรรพากรได้


แต่หากผู้ประกอบกิจการได้มีการจ้างวานสำนักงานบัญชีให้ช่วยดูแลในส่วนของภาษีให้ก็สามารถแจ้งไปทางสำนักงานบัญชีของตน เพื่อให้ช่วยประสานงานและอำนวยความสะดวกให้ได้

 

บริการรับวางแผนภาษี ลดหย่อนภาษี

อากรแสตมป์


อากรแสตมป์ คือภาษีที่ทางกรมสรรพากรจัดเก็บจากการทำสัญญา/ตราสาร จัดเป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรอีกประเภทหนึ่ง


โดยจะถูกเรียกเก็บเมื่อมีการทำตราสารระหว่างกัน ใน 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอากรแสตมป์ซึ่งจะใช้การขีดฆ่าแทนการใช้แสตมป์ดังกล่าว

 

ผลจากการไม่ได้ติดอากรแสตมป์


อากรแสตมป์มีความสำคัญอย่างมากในการดำเนินการทางกฏหมายหากลืมติดอากรแสตมป์จะส่งผลให้ตราสารนั้น ๆไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีแพ่งได้


จะสามารถดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อเสียอากรแสตมป์(อากรแสตมป์ถูกขีดฆ่า) ครบจำนวนแล้วเท่านั้นนอกจากจะไม่สามารถดำเนินการได้โดยสมบูรณ์แล้ว


กฏหมายยังมีข้อบังคับห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ทำหรือบันทึกสิ่งใด ๆลงในตราสารที่ไม่ได้มีการติดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องอีกด้วย จนกว่าจะดำเนินการเสียอากรแสตมป์ให้ถูกต้องและครบถ้วนตามกฎหมาย


อีกหนึ่งเรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับอากรแสตมป์ก็คืออากรแสตมป์นั้นสามารถหาซื้อได้ที่ไปรษณีย์ ซึ่งในความจริงแล้ว หากต้องการติดต่อขอซื้ออากรแสตมป์


จะต้องติดต่อซื้อจากกรมสรรพากรหรือจุดให้บริการของรัฐอื่น ๆ ที่จะต้องมีการติดอากรแสตมป์ เนื่องจากว่าแสตมป์ที่ใช้ติดกับซองจดหมายนั้นเป็นแสตมป์คนละประเภทกับอากรแสตมป์นั่นเอง

 

และนี่ก็คือบัญชีภาษีพื้นฐาน สำหรับผู้ประกอบการที่ผู้ประกอบการควรจะเรียนรู้และศึกษาไว้นั่นเองถึงแม้ว่าเรื่องของภาษีนั้น


จะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้ประกอบการควรต้องศึกษาไว้แต่การดำเนินการในด้านภาษีนั้น ก็ยังต้องใช้ความระเอียดรอบคอบตลอดจนประสบกาณ์ในการดำเนินการอย่างมาก เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น

 

หากวันนี้คุณคือหนึ่งในผู้ประกอบการที่มองว่าบัญชีภาษีพื้นฐาน สำหรับผู้ประกอบการนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและยุ่งยากเกินไปสำหรับคุณ


คุณยังมีอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อการดำเนินการที่ถูกต้องและสะดวกสบายก็คือการยกหน้าที่รับผิดชอบในส่วนนี้ให้กับสำนักงานบัญชีนั่นเอง


แนะนำอ่านบริการ รับทำบัญชี ยื่นภาษี จ่ายน้อยราคาประหยัด


สำนักงานบัญชีพีทูพี มีบริการดูแลจัดการด้านภาษีเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับบริษัทของคุณทั้งการจัดเตรียมเอกสารภาษี


การจัดทำบัญชีภาษีตลอดจนให้คำปรึกษาและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยประสบการณ์ดำเนินการกว่า 25 ปีเต็ม


ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญในทุก ๆ ขั้นตอน เพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินการไปได้อย่างราบรื่นถูกต้อง และโปร่งใส


จ้างทำบัญชียื่นภาษี ปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญ รับข้อเสนอพิเศษ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc



อ่านการให้บริการรับจดทะเบียนบริษัท ในราคาที่ประหยัด


บริษัท สำนักงานบัญชี พีทูพี จำกัด
p2paccounting.com

บทความที่น่าสนใจ