ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ความหมาย ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร
คือ เงินที่บุคคลจ่าย ที่จดทะเบียนเป็นบริษัท หรือ นิติบุคคลต้อง หัก ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคลหรือ คนธรรมดา แล้วนำส่งเป็นภาษีให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามอัตราก้าวหน้า
ถ้าจะยื่นภาษีสิ้นปี ข้อมูลที่ต้องรู้คือรายได้ทั้งปี จากนั้นจึงค่อยหักค่าใช้จ่าย ตามที่กรมสรรพากรกำหนด และหักค่าลดหย่อนก่อนเข้าสู่ขั้นบันไดภาษีอัตราก้าวหน้าคิดจากสมการ
รายได้ทั้งปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อนส่วนตัว - เงินประกันสังคม = รายได้สุทธิ
1.ค่าใช้จ่าย
ปกติบุคคลธรรมดา ถ้ามีรายได้เป็นเงินเดือน สรรพากรกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงิน50% ของรายได้แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
สำหรับค่าลดหย่อน ปกติแล้วถ้าไม่ได้มีการหักลดหย่อนเพิ่มเติมด้านสุขภาพครอบครัว ที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล คนทั่วไปจะมีลดหย่อนอยู่ 2รายการ
2.ค่าลดหย่อนส่วนตัว
จำนวน 60,000 บาท ตามที่สรรพากรกำหนด
3.เงินประกันสังคม
ระบบประกันสังคมจะลดหย่อนได้ทั้งจำนวนที่จ่ายสมทบเข้าประกันสังคม แต่ไม่เกิน9,000 บาท เช่น ถ้าสมทบประกันสังคมที่ 5% และฐานค่าจ้างเกิน 15,000 บาทจะหักค่าลดหย่อนประกันสังคมที่จ่ายทั้งปีเท่ากับ 9,000 บาท (750x12 เดือน)
บริการรับทำบัญชี ราคาประหยัด
อัตราการหัก ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
1.เงินเดือน ค่าจ้าง (เงินได้ประเภทที่ 1)
หากคุณจ่ายเงินให้พนักงานหรือคนที่จ้างทำงานให้ ภาษีหัก ณที่จ่ายคือสิ่งที่ต้องหักไว้ ต้องหักเท่าไหร่ ต้องคำนวณเงินได้ทั้งปี
หักค่าลดหย่อนต่าง ๆ แล้วหักตามอัตราก้าวหน้าเหมือนกับคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายประเภทนี้คือไม่หักเลย
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง – ภ.ง.ด.1 ต้องนำส่งสรรพากรภายใน – วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือ วันที่ 15หากยื่นออนไลน์ ผู้ที่ต้องหัก – ผู้จ่ายทุกคน บุคคลธรรมดาก็ต้องหัก
2.จ้างทำให้ (เงินได้ประเภทที่ 2)
ถ้ามีการจ่ายเงินให้บุคคลธรรมดาที่เค้ารับทำอะไรให้ เช่นเป็นนายหน้าขายของได้ส่วนแบ่งคำตอบ หรือรับทำ หรือให้บริการอะไรบางอย่าง
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคือ สิ่งที่ไม่ควรลืมส่วนภาษีต้องหักเท่าไหร่ คือ ไม่หักเลย
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง – ภ.ง.ด.1 ต้องนำส่งภายใน – วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือ วันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ผู้ที่ต้องหัก – ผู้จ่ายทุกคน บุคคลธรรมดาก็ต้องหัก
3.จ้างทำของ / จ้างรับเหมา (เงินได้ประเภทที่ 7/8)
ถ้ามีการจ้างใครทำอะไรให้แล้วผู้รับจ้างต้องใช้อุปกรณ์อะไรเองถือเป็นการจ้างทำของหรือ ถ้าจ้างออกแบบให้ แล้วผู้รับจ้างออกแบบให้อย่างเดียวถือเป็นการจ้างทำงานให้
ต้องหักเท่าไหร่ – 3% แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง – ภ.ง.ด.3 ต้องนำส่งภายใน – วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือ วันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ผู้ที่ต้องหัก – บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
4.จ้างบริการวิชาชีพอิสระ (เงินได้ประเภทที่ 6)
การจ้างผู้สอบบัญชี นักเขียน หรือ ทนายความในการทำธุรกิจ วิชาชีพอิสระ ต้องหักเท่าไหร่ – 3% แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง – ภ.ง.ด. 3
ต้องนำส่งภายใน – วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือ วันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ผู้ที่ต้องหัก – บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
5.ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5)
ถ้ามีการเช่าออฟฟิศจากบุคคลธรรมดา คุณต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องหักเท่าไหร่ – 5% แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง – ภ.ง.ด.3
ต้องนำส่งภายใน – วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือ วันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ผู้ที่ต้องหัก – บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
6.ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5)
ถ้ามีการเช่าออฟฟิศจากนิติบุคคล ก็เหมือนกับเช่าจากบุคคลธรรมดา ต่างกันแค่แบบแล้วภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายประเภทนี้คือ5% ต้องหักเท่าไหร่ – 5%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง – ภ.ง.ด.53 ต้องนำส่งภายใน – วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือ วันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ผู้ที่ต้องหัก – บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
7.ค่าโฆษณา (เงินได้ประเภทที่ 8)
การจ้างบริษัทโฆษณาต่าง ๆ โฆษณาให้ ต้องหัก ณ ที่จ่ายด้วย ต้องหักเท่าไหร่ – 2% แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง – ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน – วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือ วันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ผู้ที่ต้องหัก – บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
8.ค่าขนส่ง (เงินได้ประเภทที่ 8)
การจ้างบริษัทขนส่ง ไม่สาธารณะ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่ง ต้องหักเท่าไหร่ – 1% แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง – ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน – วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือ วันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ผู้ที่ต้องหัก – บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
บริการให้คำปรึกษาด้านบัญชีภาษี สำหรับผู้ประกอบการ
ค่าใช้จ่ายที่ต้องหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมีอะไรบ้าง
ค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทจะถูกหัก ณ ที่จ่ายในเปอร์เซ็นต์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
**หัก 1%สำหรับค่าขนส่ง
ทุกครั้งที่มีการขายของและขนส่งโดยที่บริษัทหรือนิติบุคคลที่ให้บริการจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่งเช่น บริการขนส่งสินค้า
จากบริษัท โลจิสติกส์ เป็นต้น จะต้องหัก ณ ที่จ่าย 1%แต่ถ้ายังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ยังไม่ต้องหัก(แต่ถ้าเป็นหน่วยงานไปรษณีย์ไม่ต้องหัก ณที่จ่ายเพราะเป็นหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้น)
**หัก 2%สำหรับค่าโฆษณา
การโฆษณาสินค้าตามสื่อโฆษณาต่าง ๆ ผ่านเอเจนซี่ ในการโฆษณาให้แบรนด์หรือสินค้าเป็นที่รู้จักผ่านสื่อสิ่งพิมพ์หรือช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น InstagramFacebook ที่ไม่ใช่บริการด้านการตลาด ทำหัก ณ ที่จ่าย 2%
ส่วนบริการการตลาดคือ การจ้างบล็อกเกอร์รีวิวโฆษณาสินค้าจ้างการตลาดเป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดให้ หรือบริการออกบูท จะต้องหัก 3%
**หัก 3% สำหรับจ้างรับเหมาหรือบริการ
ค่าบริการที่เกิดขึ้นในกิจการทุกอย่างต้องมีการหัก ณ ที่จ่าย 3% เช่น จ้างทำนามบัตร จ้างทำของจ้างทำกราฟิก จ้างช่างภาพมาถ่ายรูป จ้างบล็อกเกอร์รีวิวสินค้า บริการสถานที่ถือเป็นการให้บริการทั้งหมด
**หัก 5%สำหรับค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์
การเช่าสถานที่เพื่อจัดสัมมนา หรือจัดอีเวนต์ชั่วคราวถือเป็นค่าบริการ ทำหัก ณที่จ่าย 3%สำหรับการเช่าที่ไม่มีสถานที่เป็นของตนเองแต่ถ้าเราถือกุญแจจะถือเป็นค่าเช่าสถานที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายจากเจ้าของที่ดิน 5%
นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายประเภท ค่าจ้างนักแสดง ดารา นักร้องอาชีพเพื่อการบันเทิงและเงินรางวัลจากการแข่งขันหรือการชิงโชคต่าง ๆ จะต้องหัก ณที่จ่าย 5%
บริการให้คำปรึกษา ด้านภาษีอากร ผู้ประกอบการ
ใครเป็นผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
1.ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.3 หมายถึง ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2.ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 หมายถึงผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายต้องปฏิบัติอย่างไร
1.มีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เว้นแต่บุคคลธรรมดาที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้ใช้เลขประจำตัวประชาชนแทน)
2.หักภาษี ณ ที่จ่ายทุกคราวที่จ่ายเงินได้ มีกฎหมายกำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย
3.ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ถูกหักภาษี กรณีที่เป็นรัฐบาลองค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือ องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นให้เจ้าพนักงานผู้จ่ายเงินได้ออกใบรับสำหรับค่าภาษีทีได้หักไว้ให้แก่ผู้รับเงิน
4.นำส่งภาษีที่ได้หักไว้ภายใน 7วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ณ ที่จ่ายมีสำนักงานตั้งอยู่
บริการรับจดทะเบียนบริษัท