views

เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ภาษีย้อนหลัง


เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ภาษีย้อนหลัง เชื่อว่าเจ้าของธุรกิจหลายๆ คนต้องเคยได้ยินคำเหล่านี้ แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจในเรื่องของเบี้ยปรับเงินเพิ่มภาษีย้อนหลัง


เรื่องของเบี้ยปรับเงินเพิ่มภาษีย้อนหลัง เป็นเรื่องที่เจ้าของธุรกิจควรให้ความสำคัญ เพราะถ้าหากละเลยดำเนินการผิดพลาด จะส่งผลให้เกิดความเสียตามมาในบริษัท


ปรึกษางานบัญชีภาษี

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


  อ่านใบกำกับภาษีรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice


ความหมายของเบี้ยปรับเงินเพิ่มภาษีย้อนหลัง

1. เบี้ยปรับ คือ หนึ่งในมาตรการลงโทษทางแพ่งของผู้มีเงินได้หรือเจ้าของธุรกิจที่เสียภาษีไม่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากรทั้งผู้ที่ละเลย ไม่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ถูกกำหนดไว้ในการเสียภาษีโดยผู้มีเงินได้


หรือเจ้าของธุรกิจที่มีความผิดในส่วนนี้ จะต้องรับผิดหรือจ่ายเงิน ประมาณ 1-2 เท่าตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายทั่ว เบี้ยปรับอาจปรับลดได้ตามความเหมาะสมในแต่ละกรณีตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี


2. เงินเพิ่มคือ กรณีที่ผู้มีเงินได้หรือเจ้าของธุรกิจไม่ดำเนินการชำระภาษีหรือนำส่งภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนดเป็นมาตรการบทลงโทษทางแพ่ง ตามประมวลรัษฎากร ที่นำมาใช้เพื่อเร่งรัดให้ผู้มีเงินได้หรือเจ้าของธุรกิจต้องชำระภาษีให้โดยเร็ว


3. ภาษีย้อนหลังคือ เป็นกระบวนการที่นำมาใช้กับผู้มีเงินได้หรือเจ้าของธุรกิจที่ไม่ได้ทำการชำระภาษีอย่างถูกต้องหรือเลี่ยงจากชำระภาษี เกิดขึ้นหลังจากการดำเนินการตรวจสอบย้อนหลังจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมสรรพากรกรมศุลกากร กรมสรรพสามิต


ปรึกษางานบัญชีภาษี

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


แนะนำอ่านบริการ รับทำบัญชี ยื่นภาษี จ่ายน้อยราคาประหยัด


เบี้ยปรับเงินเพิ่ม

เราก็ได้ทำความเข้าใจกันไปเบื้องต้นแล้วในส่วนของความหมายของเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ภาษีย้อนหลังตอนนี้เราจะมาดูเรื่องของเบี้ยปรับเงินเพิ่มกันก่อนว่ามีบทลงโทษในภาพรวมอย่างไรบ้างโดยเราสามารถแบ่งเบี้ยปรับออกได้เป็น 2 กรณีคือ


กรณีที่เป็นผู้มีเงินได้หรือผู้ประกอบกิจการที่เคยยื่นแบบเพิ่มเติมแล้วและเป็นผู้ที่ยังไม่ได้ยื่นแบบมาก่อน ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่เคยยื่นแบบมาก่อนจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มไปอีก โดยคิดเป็นอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น


เงินเพิ่ม

– คิดในอัตราร้อยละ 1.5 /เดือนของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น โดยให้นับเศษของเดือนเป็น 1 เดือน


– แต่หากในกรณีที่ไม่ต้องเสียภาษีก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม

เสียเงินเพิ่ม1.5% /เดือน โดยให้นับเศษของเดือนเป็น 1 เดือน (ไม่รวมเบี้ยปรับ)หากในกรณีที่อธิบดีอนุมัติให้สามารถขยายเวลาได้ให้ลดเหลือ 0.75% /เดือน โดยให้นับเศษของเดือนเป็น 1 เดือนเช่นเดิม


เบี้ยปรับ

หากในกรณีที่เป็นการยื่นเพิ่มเติมกล่าวคือผู้มีเงินได้หรือบริษัทได้เคยทำการยื่นภาษีเดือนนั้นไปแล้ว  ให้คิดเบี้ยปรับในอัตรา 2% – 20% โดยมีเงื่อนไขเบื้องต้นดังนี้

– ยื่นชำระภาษีภายใน 1-15 วันค่าเบี้ยปรับอัตรา 2%

– ยื่นชำระภาษีภายใน 16-30 วันค่าเบี้ยปรับอัตรา 5%

– ยื่นชำระภาษีภายใน 31-60 วันค่าเบี้ยปรับอัตรา 10%

– ยื่นชำระภาษีหลัง 60 วันไปแล้วค่าเบี้ยปรับอัตรา 20%


แต่หากกรณีที่ผู้มีเงินได้หรือบริษัทไม่ได้ดำเนินการยื่นแบบของเดือนนั้นมาก่อน จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างไปดังนี้

– ยื่นชำระภาษีภายใน 1-15 วันค่าเบี้ยปรับอัตรา 2% คูณ 2 เท่า

– ยื่นชำระภาษีภายใน 16-30 วันค่าเบี้ยปรับอัตรา 5% คูณ 2 เท่า

– ยื่นชำระภาษีภายใน 31-60 วันค่าเบี้ยปรับอัตรา 10% คูณ 2 เท่า

– ยื่นชำระภาษีหลัง 60 วันไปแล้วค่าเบี้ยปรับอัตรา 20% คูณ 2 เท่า

ทั้งนี้ กรณีไม่มีที่ต้องภาษีต้องชำระ ก็ไม่จำเป็นต้องเสียค่าเบี้ยปรับแต่อย่างไรก็ดี ผู้เสียภาษีจะยังคงต้องเสียค่าปรับอาญา


ภาษีย้อนหลัง

ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจในเรื่องของเบี้ยปรับเงินเพิ่มภาษีย้อนหลังกันต่อ ฉะนั้น อีกหนึ่งเรื่องที่เราต้องทำความเข้าใจก็คือภาษีย้อนหลังนั่นเองเราก็ได้ทราบถึงความหมายของภาษีย้อนหลังกันไปแล้วในตอนต้นของบทความภาษีย้อนหลังคือกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังการตรวจสอบภาษี ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อันดับแรกเราจะมาดูสาเหตุของการโดนเรียกภาษีย้อนหลังกันก่อน


ทำไมถึงโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง?

การที่คุณหรือธุรกิจของคุณถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังนั้นสาเหตุหลัก ๆ มาจาก 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 คุณยังไม่ได้ดำเนินการชำระค่าภาษีหรือคุณได้ดำเนินการชำระภาษีไปแล้วแต่ขั้นตอนการชำระภาษีของคุณไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์นั่นเอง


และใน กรณีที่ 2 อาจเกิดได้จากหลายกรณี ไม่ว่าจะเป็น การชำระภาษีไม่ครบถ้วน ถูกต้อง ตามจำนวนทั้งการระบุรายได้ที่ผิดพลาด คลาดเคลื่อน ตลอดจนการเลี่ยงชำระภาษีด้วยเจตนา


วิธีในการ ตรวจสอบภาษีย้อนหลัง ของเจ้าหน้าที่สรรพากร

1.การลงพื้นที่ คือ การลงพื้นที่เพื่อออกไปตรวจเยี่ยมผู้เสียภาษีด้วยตัวเองซึ่งส่วนใหญ่กรมสรรพากรมักมักจะเลือกลงพื้นที่ในกลุ่มผู้ประกอบกิจการหรือเจ้าของธุรกิจที่มีร้านค้าหรือบริษัทมากกว่า


2.การเข้าตรวจนับสต็อกสินค้า คือ วิธีนี้มักจะใช้กับเจ้าของธุรกิจ ที่ประกอบกิจการค้าขายทั้งในประเทศและสินค้าส่งออก เนื่องจากการนับสต็อกสินค้าและนับจากจำนวนสินค้านั้น จะช่วยให้ทราบว่าผู้ประกอบการได้เสียภาษีครบถ้วนหรือไม่


3.การตรวจสอบใบกำกับภาษี คือ อีกหนึ่งวิธีที่แพร่หลายที่เจ้าของกิจการมักจะทำเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีนั่นก็คือการปลอมแปลงเอกสารใบกำกับภาษีนั่นเอง ฉะนั้นเพื่อเป็นการตรวจสอบย้อนหลังให้แน่ใจ


กรมสรรพากรจึงใช้วิธีการตรวจสอบภาษี ด้วยการสอบยันใบกำกับภาษีเพื่อตรวจสอบดูว่าธุรกิจนั้น ๆได้มีการปลอมแปลงเอกสารบ้างไหม จากนั้นจึงนำข้อมูลในส่วนนี้มาคำนวณและเรียกเก็บภาษีย้อนหลังนั่นเอง


4. การตรวจคืนภาษี คือ ในส่วนของวิธีนี้ เป็นกระบวนการตรวจสอบภาษีย้อนหลังที่ใช้กับบุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้


5. การตรวจค้น คือเป็นวิธีที่ใช้ในกรณีที่ถูกตั้งข้อสงสัยค่อนข้างชัดเจนว่ามีการเลี่ยงภาษีเป็นจำนวนมากโดยมีขั้นตอนการดำเนินการคือทางกรมสรรพากรจะเข้าตรวจค้นเอกสารต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมหลักฐาน พร้อมทั้งยึดและอายัดบัญชีรวมถึงเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการหลีกเลี่ยงภาษี


6. การออกหมายเรียกตรวจสอบภาษี คือ วิธีนี้ทางกรมสรรพากรจะทำการออกหมายเรียกถึงผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเพื่อดำเนินการขอตรวจสอบภาษีโดยผู้ที่ได้รับหมายเรียกในครั้งนี้จะต้องดำเนินการนำส่งเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษีให้แก่กรมสรรพากรและหากถูกตรวจพบว่ามีการหลีกเลี่ยงภาษีก็จะถูกดำเนินการเรียกภาษีย้อนหลังนั่นเอง


ปรึกษางานบัญชีภาษี

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


บริการรับตรวจสอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)


วิธีป้องกันการเรียกเก็บภาษีย้อนหลังทำอย่างไรได้บ้าง?

หลังจากที่ได้ทราบถึงสาเหตุและวิธีการตรวจสอบภาษีย้อนหลังของกรมสรรพากรกันไปแล้วเรามาดูวิธีการป้องกันการถูกเรียกเก็บภาษีย้อนเพื่อไม่ให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นกับธุรกิจของคุณ


ยื่นภาษีทุกปี

อีกหนึ่งความเข้าใจผิดที่ผู้มีเงินได้มักจะพลาดกันก็คือการที่คิดว่ารายได้ของเรานั้น ไม่ถึงตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เสียภาษี จึงไม่ทำการยื่นภาษีความจริงแล้วการยื่นภาษีกับการชำระภาษีเป็นคนละเรื่องกันกล่าวคือหน้าที่ยื่นภาษีเพื่อแสดงรายได้ให้กรมสรรพากรตรวจสอบเป็นหน้าที่ของทุกคน


โดยจำนวนภาษที่ต้องชำระและค่าลดหย่อนจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลในการกรอกข้อมูลเราจึงต้องมั่นใจว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่เรากรอกลงไปนั้นถูกต้องและครบถ้วนทั้งการระบุประเภทของเงินได้ สิทธิ์ลดหย่อน ตลอดจนกองทุนต่าง ๆ เพื่อเป็นการรักษาสิทธิ์ของคุณในกรณีที่คุณได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพื่อรับเงินภาษีคืนนั่นเอง


ทำบัญชีรายเดือน

การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐานนอกจากจะช่วยในเรื่องของการบริหารจัดการเงินของคุณแต่ยังช่วยให้คุณมีหลักฐานทั้งในการรับเงินและจ่ายเงินอีกด้วยซึ่งหลักฐานในส่วนนี้สามารถนำไปใช้เพื่อประกอบกับการยื่นภาษีในแต่ละปีได้


โดยเฉพาะ ในกรณีที่คุณมีรายได้มากกว่า 1 ช่องทาง หรือมีรายได้จากอาชีพเสริม การจดบันทึกรายรับไว้จะเป็นวิธีที่ช่วยให้คุณทราบถึงแหล่งที่มาของการเงินได้


ติดตามข่าวสารเรื่องภาษี

การติดตามข่าวสารเรื่องภาษีแต่ละปีจะช่วยให้คุณทราบข้อกฏหมาย เงื่อนไข และข้อยกเว้นในแต่ละปีมากขึ้นเพื่อให้การดำเนินการของคุณ


เป็นไปอย่างถูกต้องตามข้อกำหนดอีกทั้งเพื่อผลประโยชน์ในการยื่นรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีของคุณอีกด้วยและนี่ก็คือวิธีการป้องกันการถูกเรียกภาษีย้อนหลังที่เรานำมาฝากกันหรือหากคุณสนใจวิธีที่ง่ายกว่านั้น เพียงใช้บริการของสำนักงานบัญชี พีทูพี


ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในด้านของภาษีให้กับคุณแบบครบวงจรตั้งแต่ขั้นตอนการจัดเตรียมเอกสาร ยื่นเอกสารตลอดจนเป็นผู้ประสานงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนอกจากนี้คุณยังได้รับบริการปรึกษาฟรีจากเราในทุก ๆ ขั้นตอนอีกด้วย

ปรึกษางานบัญชีภาษี

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


อ่านบริการรับวางระบบบัญชี วางระบบงานฝ่ายบัญชี ครบวงจร


บทลงโทษ

กรณีที่ 1 ยื่นแบบภาษีในระยะเวลาที่กำหนดแต่ชำระภาษีไม่ครบหรือคลาดเคลื่อน มีค่าปรับดังนี้

-ต้องชำระเบี้ยปรับ 0.5 - 1 เท่า ของค่าภาษีที่ต้องจ่าย


- เต้องชำระเงินเพิ่ม 1.5% /เดือนของภาษีที่ต้องจ่าย (เริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ)


กรณีที่ 2 ไม่ได้ดำเนินการยื่นแบบภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนด มีค่าปรับดังนี้

- ระวางโทษปรับทางอาญาสูงสุด 2,000 บาท


- เสียเบี้ยปรับ 1 - 2 เท่า ของค่าภาษีที่ต้องจ่าย


- เสียเงินเพิ่ม 1.5% /เดือนของภาษีที่ต้องจ่าย (เริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ)


กรณีที่ 3 เจตนาละเลยไม่ยื่นแบบภาษีภายในกำหนดเพื่อเลี่ยงภาษีมีค่าปรับดังนี้

- มีโทษปรับทางอาญาสูงสุด 5,000 บาท จำคุกสูงสุด 6 เดือน


- เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของค่าภาษีที่ต้องจ่าย


- เสียเงินเพิ่ม 1.5% /เดือนของภาษีที่ต้องจ่าย (เริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ)


กรณีที่4  เจตนาหนีภาษี มีค่าปรับดังนี้

- มีโทษปรับทางอาญาตั้งแต่ 2,000 - 200,000 บาท จำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี


- เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของค่าภาษีที่ต้องจ่าย


- เสียเงินเพิ่ม 1.5% /เดือนของภาษีที่ต้องจ่าย (เริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ)


นี่ก็คือข้อมูลของเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ภาษีย้อนหลัง

ที่เรานำมาฝากกัน เรียกได้ว่าบทลงโทษนั้นค่อนข้างจะหนักทีเดียวทั้งการเสี่ยงเสียค่าปรับหรือยิ่งไปกว่านั้นก็อาจจะถูกดำเนินคดีและจำคุกได้ ฉะนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจตามมาได้


เราขอแนะนำให้คุณดำเนินการยื่นและชำระภาษีในทุก ๆ ปีหรือคุณจะยกหน้าที่ในส่วนนี้ให้กับสำนักงานบัญชีเพื่อให้สำนักงานบัญชีดำเนินการในส่วนนี้ให้ โดยควรเลือกจากประสบการณ์ของสำนักงานบัญชีเป็นหลักนั่นเอง


สำนักงานบัญชี พีทูพี ดำเนินการด้วยผู้เชี่ยวชาญในทุก ๆ ขั้นตอน ด้วยประสบการณ์กว่า 25 ปีเต็ม คุณจึงมั่นใจได้คุณจะได้รับการดำเนินการที่ถูกต้อง แม่นยำ และสะดวกแน่นอน


ปรึกษางานบัญชีภาษี

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


บริการรับวางแผนภาษี ลดหย่อนภาษี

บทความที่น่าสนใจ