views

ใบเสร็จ ใบกำกับภาษี ร้านค้าออนไลน์ Shopee Lazada


ทุกคนที่ทำธุรกิจย่อมมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับเรื่องของ ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี หรือเอกสารทางการเงินต่างๆเหล่านี้


เป็นสิ่งสำคัญที่คนทำธุรกิจจะต้องรู้และถือปฏิบัติ การมีความรู้เกี่ยวกับใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี จะทำให้การออกเอกสารนั้นๆ


ทำได้อย่างถูกต้องก่อประโยชน์สูงสุดต่อทั้งเจ้าของธุรกิจและผู้ที่มาซื้อสินค้า ท่านที่เปิดร้านออนไลน์ก็เช่นกัน ถึงแม้ว่าบริบทต่างๆ


ในการค้าขายจะเปลี่ยนไป แต่การออกใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ก็ยังคงต้องทำเป็นปกติเฉกเช่นเดียวกับร้านค้าจริงบนโลกออฟไลน์


บริการรับทำบัญชี ราคาที่ประหยัด ตามขนาดของกิจการ


ใบเสร็จรับเงินคืออะไร


ใบเสร็จรับเงิน (Receipt) คือ เอกสารที่ผู้รับเงินออกให้เป็นหลักฐานที่แสดงว่าได้รับการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว หรือลูกค้าได้ชำระเงินให้แล้ว


ซึ่งรายละเอียดในใบเสร็จรับเงินต้องระบุข้อมูลสำคัญในการซื้อขาย ชื่อ-สกุล ที่อยู่อาศัย เลขประจำตัวผู้เสียภาษี วันที่ทำรายการซื้อขาย


เลขที่ใบเสร็จรับเงิน และรายการสินค้าหรือบริการ โดยตามกฎหมายกำหนดให้ออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง เมื่อราคาสินค้าหรือบริการมีมูลค่าตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป


ใบกำกับภาษีคืออะไร


ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารที่ผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จะต้องออกให้ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการทุกครั้งที่มีการซื้อขายสินค้าหรือบริการ


เพื่อเป็นหลักฐานแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการนั้น ๆ รวมถึงแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บจากราคาของสินค้าหรือบริการในแต่ละครั้ง


โดยภาษีที่เก็บเพิ่มจากราคาสินค้าหรือบริการที่คิดกับลูกค้านั้น หากเป็นการขายสินค้า ผู้ประกอบการต้องออกใบกำกับภาษีให้ทุกครั้ง


ที่มีการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ แม้ยังไม่ได้มีการชำระเงินค่าสินค้าก็ตาม กรณีเป็นธุรกิจประเภทการบริการ จะต้องออกใบกำกับภาษีให้ทุกครั้ง


เมื่อมีการชำระค่าบริการ และสำเนาใบกำกับภาษีนั้น ผู้ประกอบการจะต้องเก็บรักษาไว้เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการลงรายงานภาษีขายต่อไป

 

ใบเสร็จรับเงิน และ กับใบกำกับภาษี ต่างกันอย่างไร


1.ใบเสร็จรับเงิน ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกใบเสร็จรับเงินเมื่อลูกค้าชำระแล้วเท่านั้นออกใบเสร็จรับเงินเมื่อยอดซื้อขาย มากกว่า 100 บาท


2.ใบกำกับภาษี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกใบกำกับภาษีทุกครั้งแม้ว่าลูกค้าจะยังไม่ชำระเงินออกใบกำกับภาษีทุกครั้ง ไม่มีขั้นต่ำ


ใบกำกับภาษี ร้านค้าออนไลน์ Shopee Lazada


ท่านที่ทำการค้าออนไลน์ ต้องพิจารณาการออกใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีให้ถูกต้อง ทั้งนี้ในส่วนของธุรกิจที่ต้องออกใบกำกับภาษี


จะมีรูปแบบของเอกสาร 2 ประเภท ได้แก่ ใบกำกับภาษีอย่างย่อ และใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

สนใจปรึกษา ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc

ทำบัญชี รายเดือน รายปี ราคาถูก


ใบกำกับภาษีอย่างย่อ


คือหลักฐานที่แสดงมูลค่าสินค้าและบริการนั้น ๆ ในแต่ละครั้ง ซึ่งใบกำกับภาษีอย่างย่อ เป็นเอกสารที่ร้านค้ากิจการประเภท ค้าปลีกที่ขายสินค้าและบริการ


ที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องออกให้กับลูกค้าทุกครั้ง ถ้าเป็นร้านค้าในนามบุคคลธรรมดาจะต้องมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จึงจะสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้


รายการที่ต้องมีในใบกำกับภาษีอย่างย่อ


-ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลข 13 หลักของผู้ออกใบกำกับ


-คำว่า ใบกำกับภาษี อย่างย่อ


-หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี


-ชื่อ ชนิด ประเภทสินค้า และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ


-วันที่ออกใบกำกับภาษี


-ข้อความที่ระบุในใบกำกับภาษีอย่างย่อว่า รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว


-ข้อความอื่น ๆ ที่กรมสรรพากรกำหนด

 

ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ


คือใบกำกับภาษีที่มีรายละเอียดครบถ้วน ผู้ซื้อสามารถนำไปใช้ประกอบเป็นภาษีซื้อได้ มีรายละเอียดดังนี้


1. ต้องมีคำว่า ใบกำกับภาษี ที่เห็นได้ชัดเจน


1.1 หากมีการออกเอกสารเป็นชุด มีเอกสารหลายฉบับในชุดเดียวกัน จะต้องมีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” แสดงในใบกำกับภาษี หรือสำเนาใบกำกับภาษีนั้น


1.2 หากมีการออกสำเนาของใบกำกับภาษี จะต้องมีคำว่า สำเนาใบกำกับภาษี แสดงบนสำเนาใบกำกับภาษีด้วย



2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวภาษี อากร สาขา หรือสำนักงานใหญ่ของผู้ที่ออกใบกำกับภาษี (ผู้ขายสินค้า/บริการ)


2.1 เป็นชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวภาษีอากร ตามใบ ภ.พ.20 หรือ เอกสารที่รับรองการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม


2.2 หากเป็นสำนักงานใหญ่ ต้องแสดงข้อความว่า สนญ.หรือ สาขา 00000 เลขห้าหลัก


2.3   หากเป็นสาขา จะต้องแสดงข้อความว่า สาขาที่ หรือ สาขา ตามตัวเลขสาขา 5 หลัก

 

3. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวภาษีอากร สาขา หรือสำนักงานใหญ่ของผู้ที่รับใบกำกับภาษี (ผู้ซื้อสินค้า/บริการ)


3.1   หากเป็นสำนักงานใหญ่ ต้องแสดงข้อความว่า สนญ. หรือสาขา 00000 เลขห้าหลัก


3.2   หากเป็นสาขา จะต้องแสดงข้อความว่า สาขาที่... หรือ สาขา... ตามตัวเลขสาขา 5 หลัก


3.3   ประเด็นด้าน เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เลข 13 หลัก ของผู้รับใบกำกับภาษี มีแนวทางปฏิบัติดังนี้


3.4 ถ้าผู้รับใบกำกับภาษี ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ได้จดภาษี ผู้ออกใบกำกับภาษี ผู้ขาย ไม่จำเป็นต้องใส่ข้อมูลเลข 13 หลักของผู้ซื้อก็ได้


3.5 ถ้าผู้ขายแจ้งให้กับผู้ซื้อ แล้วว่าต้องการทราบเลข 13หลักของลูกค้า แต่ลูกค้าไม่ได้แจ้งว่าเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีหรือแค่ไม่แจ้งเลข 13 หลัก


ให้ทราบ การที่ผู้ขายไม่ได้ใส่เลข 13 หลักลงไปในใบกำกับภาษี ก็ถือว่าไม่ได้ตั้งใจออกใบกำกับภาษีไม่ถูกต้องไม่ได้มีความผิดแต่อย่างใด


3.6 ใบกำกับภาษีที่ไม่มีข้อมูลเลข 13 หลักของผู้ซื้อ ผู้ซื้อไม่สามารถนำใบกำกับภาษีนั้นไปใช้เป็นภาษีซื้อได้ แม้ว่าจะเป็นผู้ซื้อจะจด Vat ก็ตาม


3.7 ลูกค้าที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษี ไม่มีความจำเป็นต้องแจ้งเลข 13 หลักให้กับผู้ซื้อ

 

4.หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี


4.1ใบกำกับภาษี จะต้องมีเลขที่ด้วย ถ้าไม่มีเลขที่ จะไม่สามารถนำมาใช้เป็นภาษีซื้อได้ และ การออกใบกำกับภาษี ที่ไม่มีเลขที่นั้น


4.2ผู้ออกใบกำกับภาษีมีความผิดฐานออกใบกำกับภาษีไม่ครบถ้วนด้วย โดยจะมีโทษปรับ 2,000 บาท


แนะนำอ่านบริการรับวางระบบบัญชี


5.ชื่อ ชนิด ประเภท และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ


5.1ต้องมีบอกว่าสินค้า/บริการ แต่ละชนิดนั้น เป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษี หรือ ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม


5.2ต้องมีข้อมูลรายการสินค้า/บริการ ในใบกำกับภาษี หมายความว่า ไม่สามารถใช้ในวางบิล ที่มีแค่ข้อมูลรายการใบแจ้งหนี้ ที่รอรับชำระมาเป็นใบกำกับภาษี ได้ เนื่องจากข้อมูลไม่ครบถ้วน

6.จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้า หรือบริการที่แสดงอย่างชัดเจน

7.วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี


8.วัน เดือน ปี ที่แสดง จะต้องเป็น วัน เดือน ปี ที่เกิดจุดรับรู้ภาษีมูลค่าเพิ่ม


9.ปีที่ใช้ จะเป็น ค.ศ. หรือ พ.ศ. ก็ได้

 

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ และ ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบต่างกันอย่างไร


ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ไม่จำเป็นต้องแสดง ชื่อ-สกุล ที่อยู่อาศัย เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าและบริการ


ชื่อ ชนิด และประเภทของสินค้าสามารถแสดงเป็นรหัสสินค้าได้ มีข้อความแสดงอย่างชัดเจนว่าราคาสินค้าหรือบริการนั้น ๆ มีการรวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว


ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ไม่สามารถนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อส่ง ภ.พ. 30 ได้

 

ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ต้องแสดง ชื่อ-สกุล ที่อยู่อาศัย และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอย่างชัดเจน


ชื่อ ชนิด และประเภทของสินค้าต้องแสดง อย่างชัดเจน ต้องแยกจำนวนราคาภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากราคาสินค้าหรือบริการ


อย่างชัดเจนใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ สามารถนำไปหักภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อส่ง ภ.พ. 30 ได้


อ่านรายละเอียดโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Express


เจ้าของธุรกิจร้านค้าออนไลน์ ดำเนินกิจการบนแอปพลิเคชัน Shopee Lazada สามารถออกใบเสร็จ ใบกำกับภาษีได้ ดังนี้

 

Shopee : การขอใบกำกับภาษีสำหรับผู้ซื้อ  


กรณีที่ร้านค้านั้นเป็นร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือมีสิทธิถูกต้องตามกฎหมาย ในการออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบและทางร้านค้าได้


ขอเปิดใช้บริการฟีเจอร์ ขอใบกำกับภาษีกับ Shopee ผู้ซื้อจะเห็นแถบ “ใบกำกับภาษีเต็มรูป” ในหน้าทำการสั่งซื้อ เพื่อกดขอใบกับกับภาษีจากร้านค้าได้เลย

 

กรณีร้านค้าไม่มีฟีเจอร์ขอใบกำกับภาษีผ่านแอปพลิเคชัน Shopee ผู้ซื้อสามารถขอใบกำกับภาษีกับร้านค้าผ่านการแชทของ Shopee ได้โดยตรง


โดยมีขั้นตอนและข้อมูลในการขอใบกำกับภาษี ดังต่อไปนี้  


*** ก่อนสั่งซื้อ โปรดติดต่อผู้ขายโดยตรงผ่านแชทเพื่อตรวจสอบเงื่อนไขในการออกใบกำกับภาษี


*** หลังสั่งซื้อสำเร็จ โปรดติดต่อผู้ขายโดยตรงผ่านแชทเพื่อให้ข้อมูลในการออกใบกำกับภาษี


เอกสารและข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการออกใบกำกับภาษี ได้แก่


1.ชื่อ-นามสกุล/ ชื่อบริษัท ของผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อ


2.เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อ


3.ที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อ

 

Shopee : การขอ ใบกำกับภาษี สำหรับผู้ขาย


ผู้ขายสามารถทำการขอใบเสร็จ ใบกำกับภาษี อิเล็กทรอนิกส์แบบย่อ หรือใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ ค่าธรรมเนียมการขาย


ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม ค่าขนส่ง และอื่นๆ ผ่านทาง e-Tax Web Portal ใน Seller Centre ได้ด้วยตนเอง โดยผู้ขายต้องเตรียมข้อมูลเพื่อ


ลงทะเบียน e-Tax Web Portal (เฉพาะครั้งแรกที่เข้าใช้งาน) ดังต่อไปนี้


1.ชื่อ - นามสกุล (สำหรับบุคคลธรรมดา) หรือ ชื่อบริษัท (สำหรับนิติบุคคล)


2.เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร


3.ที่อยู่ (สำหรับออกใบกำกับภาษี)


4.สำนักงานใหญ่ หรือ สาขา


5.เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง (เช่น ภ.พ.20, หนังสือรับรองบริษัท, บัตรประจำตัวประชาชน)

สนใจปรึกษา ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc

แนะนำอ่านบริการ ที่ปรึกษาภาษี


Lazada : การสร้างเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt


ระบบ Leceipt มีบริการเชื่อมต่อกับ Lazada สำหรับการสร้างเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ต่าง ๆ ออกมาได้เป็นทั้งไฟล์ PDF และ XML


ทำให้ไม่ต้องกรอกข้อมูลใหม่ เอกสารด้านภาษีที่สามารถออกได้ มีดังนี้


1.ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี


2.ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีอย่างย่อ


3.ใบเสร็จรับเงิน


4.ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี


5.ใบส่งของ ใบกำกับภาษี


6.ใบกำกับภาษี


บริการรับตรวจสอบบัญชี


ร้านค้าออนไลน์ Shopee Lazada เป็นธุรกิจหนึ่งที่ต้องเกี่ยวข้องกับภาษี


เช่นเดียวกับกิจการประเภทอื่นๆ เอกสารหลักฐานทางการเงิน และเอกสารทางภาษีต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของกิจการจะต้องศึกษาให้เข้าใจ


หากท่านเจ้าของกิจการมองหาผู้ช่วย หรือที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี สำนักงานบัญชี พีทูพี ยินดีให้บริการทุกท่าน


เรามอบความเอาใจใส่ดูแล จากมืออาชีพประสบการณ์กว่า 25 ปี ท่านจึงเชื่อมั่นได้ว่า


" เราจะอยู่เคียงข้างท่านจนเดินไปถึงจุดหมายได้อย่างแน่นอน "

สนใจปรึกษา ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc



บริการรับจดทะเบียนบริษัท
บริษัทสำนักงานบัญชี พีทูพี จำกัด
โทรศัพท์ :  097 236 2994
ไอดีไลน์ :  p2pacc
www.p2paccounting.com

บทความที่น่าสนใจ