views

เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40

เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราควรศึกษาและทำความเข้าใจ เนื่องจากการเสียภาษี เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว


และเป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้พึงประเมินอยู่ในเกณฑ์ตามที่กฏหมายกำหนดไว้นั่นเอง


ความหมายของเงินได้พึงประเมิน


เงินได้พึงประเมิน คือ เงินได้หรือรายได้ในส่วนที่เราต้องนำไปเสียภาษี ตามที่กฏหมายกำหนดไว้ ซึ่งถ้าจะพูดถึงโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว


เงินได้ที่เราได้รับคือเงินได้พึงประเมินแทบจะทั้งสิ้น นอกเหนือจากเงินแล้วก็ยังมีสิ่งที่เป็นเงินได้พึงประเมินอีกหลายอย่างด้วยกัน


เช่น ทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ที่สามารถนำมาตีราคาได้ เงินค่าภาษีที่มีคนจ่ายแทนให้เรา เครดิตภาษีเงินปันผล


ทั้งนี้ เงินได้พึงประเมินบางประเภทก็จะยังมีข้อยกเว้นอยู่ ในกรณีที่กฏหมายระบุไว้ชัดเจนว่าเงินก้อนนั้นเป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี

สนใจปรึกษา ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


อ่านบริการ รับวางระบบบัญชี Workflow วางระบบงานฝ่ายบัญชี

ประเภทของเงินได้พึงประเมิน มาตรา 40


เชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 กันจนคุ้นหูแล้ว แต่ทราบหรือไม่ว่าแท้ที่จริงแล้ว


เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 นั้น มีอยู่ด้วยกันถึง 8 ประเภทเลยทีเดียว เพื่อให้ทุกท่านมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้น


สำนักงานบัญชี พีทูพี ของเราจึงได้รวบรวม เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 ทั้ง 8 ประเภท และคำอธิบายโดยย่อ ไว้ในบทความนี้แล้ว


เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 (1)


สำหรับประเภทที่ 1 นั้น คือ เงินได้ที่ได้รับมาจากการจ้างแรงงาน หรือก็คือการลงแรงเพื่อแลกกับค่าตอบแทนนั่นเอง ซึ่งรวมไปถึงในส่วนของ


เงินเดือน เงินค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง เงินโบนัส เงินบำเหน็จ เงินบำนาญ ค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง เงินที่ได้รับจากนายจ้าง


ทั้งค่าเช่าบ้านที่นายจ้างรับผิดชอบให้ เงินที่นายจ้างช่วยจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ให้ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นเงินที่ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระด้วยตัวเอง


ตลอดจนเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ ที่ลูกจ้างได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงาน เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(1) นี้ สามารถใช้เพื่อหักค่าใช้จ่ายได้ 50 % ของเงินได้


แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท  ในกรณีที่เป็นผู้มีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภทมารวมกัน โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาท


เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 (2)


สำหรับประเภทที่ 2 นั้น คือ เงินที่ได้รับมาจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าค่าตำแหน่งนั่นเอง รวมถึงเงินได้ที่ได้รับจาก


การถูกว่าจ้างให้ทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ส่วนลด เบี้ยประชุม เบี้ยเลี้ยง เงินบำเหน็จ เงินโบนัส เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากผู้ว่าจ้าง


ในกรณีที่มีบ้านประจำตำแหน่งหรือผู้ว่าจ้างชำระค่าเช่าบ้านให้เนื่องจากต้องออกไปทำงานนอกสถานที่ เงินได้ที่ได้รับจากการถูกว่าจ้างให้ทำงานให้


เงินที่นายจ้างช่วยจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ให้ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นเงินที่ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระด้วยตัวเอง ตลอดจนเงิน ทรัพย์สิน


หรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ และถูกว่าจ้างให้ทำงานให้ ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำรวมถึง


งานที่ได้รับจากการถูกว่าจ้างให้ทำงานให้ จะเป็นในรูปแบบของงานประจำหรือชั่วคราวก็ตาม โดยเงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(2) นี้


สามารถใช้เพื่อหักค่าใช้จ่ายได้ 50 % ของเงินได้ แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีที่เป็นผู้มีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2


ให้นำเงินทั้ง 2 ประเภทมารวมกัน โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาท


เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 (3)

 

สำหรับประเภทที่ 3 นั้น คือ เงินที่ได้รับจากค่าความนิยม ค่าชื่อเสียง ค่าลิขสิทธิ์ เงินปี หรือเงินได้ที่ได้รับเป็นรายปี ทั้งที่ได้จากพินัยกรรม นิติกรรม หรือได้รับจากคำพิพากษาของศาล โดยเงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 (3) นี้ สามารถนำไปใช้เพื่อหักค่าใช้จ่ายได้ สูงสุดถึง100,000 บาท เลยทีเดียว

 

เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 (4)


สำหรับเงินประเภทที่ 4 นั้น คือ เงินที่ได้รับในรูปแบบของดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งจากการทำกำไร  เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน


ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น และเงินที่ได้รับเป็นผลตอบแทนจากการลงทุนต่าง ๆ และประโยชน์ที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล


กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายไทยให้จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะสำหรับให้กู้ยืมเงิน ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยที่ได้รับจากพันธบัตร เงินฝาก


หุ้นกู้ ตั๋วเงิน เงินกู้ยืม โบนัสที่ผู้ถือหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหุ้นได้รับ เงินลดทุนเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไร


และเงินที่กันไว้รวมกัน เงินเพิ่มทุนซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือรับช่วงกันไว้รวมกัน ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล


ควบเข้ากัน รับช่วงต่อกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน การโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้


ที่บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก เฉพาะที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ทั้งนี้ เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 (4) นั้น


ทางกฎหมายผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สามารถที่จะเลือกเสียภาษีโดยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนการนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่น


ซึ่งส่งผลให้ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษี สามารถประหยัดภาษีได้ อย่างไรก็ดี ภาษีประเภทนี้ไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้

สนใจปรึกษา ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


แนะนำอ่าน รับทำบัญชี ยื่นภาษีออนไลน์ คุ้มค่าคุ้มราคา

เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 (5)


สำหรับประเภทที่ 5 นั้น คือ เงินที่ได้รับจากการปล่อยให้เช่าทรัพย์สิน ทั้งที่ได้รับเป็นเงินหรือในรูปแบบของประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้รับมาจาก


การให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินและซื้อขายเงินผ่อน โดยการเงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 (5)   นั้น มีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้


ในกรณีที่เป็นบ้านโรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง สามารถใช้เพื่อหักค่าใช้จ่ายได้ 30 % ในกรณีที่เป็นยานพาหนะ สามารถใช้เพื่อหักค่าใช้จ่ายได้ 30 %


สำหรับที่ดินที่ใช้เพื่อการเกษตร สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 20 % ในขณะที่ที่ดินที่ใช้ในการอื่น เช่น อยู่อาศัย แต่ไม่ได้ใช้เพื่อการเกษตร


สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 15% และทรัพย์สินอื่น ๆ สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 10%


เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 (6)


สำหรับเงินได้ประเภทที่ 6 นั้น คือ  เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คำจำกัดความของอาชีพอิสระก็คือบุคคลที่ทำอาชีพอิสระไม่ขึ้นอยู่กับนายจ้าง


ฟังดูคล้าย ๆ กับฟรีแลนซ์ แต่ก็ยังมีข้อแตกต่างที่ว่า อาชีพในหมวดหมู่นี้จะต้องเป็นอาชีพที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพเฉพาะทาง


ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ในกฎหมาย เช่น แพทย์และพยาบาลประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม


หรือวิชาชีพอื่น ๆ ที่ถูกกำหนดชนิดไว้แล้วโดยพระราชกฤษฎีกา เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(6) นั้น ในบางกลุ่มอาชีพสามารถใช้เพื่อหักค่าใช้จ่าย


แบบเหมาได้ 60% ในขณะที่บางกลุ่มอาชีพ เช่น กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม สามารถใช้เพื่อหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 30%


เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 (7)


สำหรับประเภทที่ 7 นั้น คือ เงินได้จากการรับเหมา ทั้งการรับเหมาก่อสร้าง และรับเหมาในรูปแบบอื่น ๆ เพราะนอกจากเครื่องมือแล้ว


ผู้รับเหมายังต้องลงทุนด้วยการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งใช้เป็นส่วนสำคัญในการดำเนินการ เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 (7)  นี้


สามารถนำไปใช้เพื่อหักได้ตามจริงและอัตราเหมา 60% แต่ต้องมีหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ แนบไปด้วย


เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 (8)


สำหรับประเภทที่ 8 นั้น คือ เงินได้จากการประกอบธุรกิจ การค้า การพาณิชย์ การเกษตร อุตสาหกรรม ขนส่ง อสังหาริมทรัพย์


หรือการเงินที่ได้รับในช่องทางอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากที่ระบุไว้ในประเภทต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 (8)  


สามารถนำไปใช้เพื่อหักได้ทั้งตามจริงและอัตราเหมา 60% ซึ่งจะมีทั้งหมด 43 ประเภทเงินได้


แนะนำอ่าน ติดตั้งและวางระบบ โปรแกรมบัญชี Express โดยผู้เชี่ยวชาญ


สรุปและนี่ก็คือ เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 ทั้ง 8 ประเภท


เราจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฏเกณฑ์ และเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของเราได้อีกด้วยหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม


สามารถติดต่อสอบถามได้โดยตรง ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของกรมสรรพากร หรือหากไม่สะดวกดำเนินการด้วยตัวเอง เราขอแนะนำวิธีที่ง่ายกว่านั้น


สำนักงานบัญชี พีทูพี ผู้เชี่ยวชาญด้านการบัญชี ด้วยประสบการณ์กว่า 25 ปี ที่จะช่วยอำนวยความสะดวก และดำเนินการด้านภาษีให้กับคุณ


สนใจบริการ รับจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน จ่ายน้อยปรึกษาเราฟรี

สำนักงานบัญชี พีทูพี บริการ


จัดเตรียมเอกสาร การยื่นเอกสาร ไม่ว่าคุณจะมีสถานภาพอยู่ในรูปแบบของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล หากคุณหรือบริษัทของคุณมองว่าภาษี


เป็นเรื่องที่ซับซ้อน และยุ่งยาก เรายินดีให้คำปรึกษาตลอดจนเป็นตัวช่วยในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


เพื่อการดำเนินการที่รวดเร็วและถูกต้อง ที่จะช่วยให้คุณหมดกังวลเรื่องภาษีได้ ด้วยบริการด้านภาษีจากเรา

สนใจปรึกษา ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


แนะนำอ่าน ที่ปรึกษาบัญชี ปรึกษางานฝ่ายบัญชี

บริษัท สำนักงานบัญชี พีทูพี จำกัด

โทรศัพท์ : 097 236 2994

ไอดีไลน์ : p2pacc

p2paccounting.com

บทความที่น่าสนใจ