views

จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท จดทะเบียนแก้ไขอำนาจกรรมการบริษัท



ภายหลังการจดทะเบียนบริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ จะมีการแบ่งการบริหารจัดการเป็น 3 ฝ่ายอย่างชัดเจนเป็นคือ (1) ฝ่ายผู้ถือหุ้น (2) ฝ่ายกรรมการบริษัท (3) ฝ่ายผู้บริหาร และเมื่อใดก็ตามที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง


ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ เพราะทั้ง 3 ฝ่าย ต่างมีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวเนื่องกันทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงในส่วนของ “ฝ่ายกรรมการบริษัท” ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย

 

บทความครั้งนี้เนื้อหาสาระจึงมุ่งเน้นในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริษัทเป็นหลักแต่ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาดังกล่าว ไปรู้จักกับ 3 ฝ่ายที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของบริษัทกันก่อนแต่พอสังเขป


ปรึกษาการจดทะเบียน ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


  รับจดทะเบียนบริษัท บริการครบจบในทุกขั้นตอน


ฝ่ายที่1 ผู้ถือหุ้น

ผู้ถือหุ้นก็คือ ผู้ที่มีความเป็นเจ้าของบริษัทที่จะได้รับส่วนแบ่งของกำไรหรือขาดทุนตามสัดส่วนที่ถือหุ้นอยู่รวมทั้งเมื่อบริษัททำการจ่ายเงินปันผลผู้ถือหุ้นก็จะได้รับเงินปันผลตามสัดส่วนหุ้นตนที่ถืออยู่

 

ฝ่ายที่2 กรรมการบริษัท

กรรมการบริษัทหากจะพูดให้เข้าใจได้ง่ายๆก็คือ กรรมการบริษัทเป็น “ตัวแทนของผู้ถือหุ้น” ที่ผู้ถือหุ้นได้มีมติให้ให้เข้ามาควบคุมบริษัทแทนตน เพื่อช่วยรักษาผลประโยชน์ให้กับ


กลุ่มผุ้ถือหุ้นให้มากที่สุดทั้งนี้หากผู้ถือหุ้น ถือหุ้นเกินเกิน 50 % คือมีอำนาจในการโหวตสูงก็มีสิทธิ์ที่จะแต่งตั้งกรรมการที่เป็นคนของตนเองเข้าไปนั่งเป็นกรรมการเพื่อควบคุมบริษัทและคอยดูแลผลประโยชน์ของตนเองได้


กรรมการบริษัท คือกลุ่มคนที่กำหนดทิศทาง กลยุทธ์ โครงสร้างบริษัท รวมทั้งยังมีหน้าที่ในการติดตามผลการดำเนินงานของฝ่ายบริหารจัดการของบริษัทเพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับประโยชน์มากที่สุด


นอกจากกรรมการบริษัทแล้วยังมีกรรมการอีกประเภทหนึ่งก็คือ กรรมการอิสระ ซึ่งหมายถึงกรรมการที่ถือหุ้นในบริษัทน้อยกว่า 1% และเป็นอิสระจาก อำนาจควบคุมของผู้ถือหุ้น


ทั้งนี้เพื่อการถ่วงดุลอำนาจภายในคณะกรรมการบริษัท ซึ่งเป็นไปเกณฑ์ของ ก.ล.ต. จึงมีการกำหนดว่าบริษัทต้องมีกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 และต้องไม่น้อยกว่า 3 คน


ด้วยบทบาทเงื่อนไขและคุณสมบัติที่กล่าวมาของทั้งผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทในข้างต้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากพบว่า  ผู้ถือหุ้นบริษัท จะแต่งตั้งตัวเองเข้าไปเป็นกรรมการบริษัทเพื่อดูแลผลประโยชน์ และเข้าไปกำหนดทิศทางของบริษัทโดยตรง

 

ฝ่ายที่3 ผู้บริหาร

ความหมายของผู้บริหารแบบแปลตรงตัวก็คือ ผู้ที่มีอำนาจในการบริหารจัดการบริษัท และควบคุมประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในบริษัทซึ่งในที่นี้เราจะพูดถึงผู้บริหารระดับสูงในแต่ละฝ่ายดังนี้


ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือ CEOซึ่งเป็นตำแหน่งบริหารสูงสุดของบริษัทซึ่งในบางบริษัทก็จะมีประธานแต่ละฝ่ายเพิ่มขึ้นอีกหลายตำแหน่งเพื่อกระจายอำนาจการบริหารอย่างเป็นสัดส่วน เช่น


CFOหรือ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน CTOหรือ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี COOหรือ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ โดยในบริษัทขนาดใหญ่ผู้บริหารระดับสูงสุดในด้านต่างๆ จะเรียกกันเป็น  C-LEVEL ทั้งสิ้น


ซึ่งผู้บริหารระดับสูงที่กล่าวมานั้นต่างก็มีหน้าที่ ที่จะต้องรายงานผลการดำเนินการของบริษัทต่อคณะกรรมการบริษัทเป็นรายไตรมาส หรือ  รายปีต่อ ทั้งนี้


เพื่อร่วมรับรู้สถานการณ์และสถานะผลการประกอบการของบริษัทร่วมกัน ด้วยเงื่อนไข คุณสมบัติและบทบาทหน้าที่ดังที่ได้กล่าวมา จึงทำให้หลายบริษัท


ที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทเป็นทั้งผู้ถือหุ้น กรรมการบริษัท และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเพราะมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่สามารถทำได้นั่นแอง


ปรึกษาการจดทะเบียน ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


  อ่าน 9 ขั้นตอน จดทะเบียนบริษัทออนไลน์


ทำไมต้องมีการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการ

เพราะมีกรรมการออกจากตำแหน่งและมีการแต่งตั้งกรรมการใหม่โดยการออกจากกรรมการมาจากกรณีดังต่อไปนี้


1.การครบวาระของกรรมการในการประชุมสามัญประจำปี ซึ่งมีเงื่อนไขกำหนดไว้ว่า กรรมการ1 ใน 3จะต้องออกจากตำแหน่ง (โดยเริ่มต้นกฎเกณฑ์นี้ ตอนครบ 2 ปีแรก หลังจากตั้งบริษัท)  


และถ้าหากไม่ได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นสำหรับการออกเมื่อครบวาระดังกล่าวนี้ ก็ให้ใช้วิธีคัดกรรมการออกด้วยการจับสลากและเมื่อเข้าปีที่ 3กำหนดให้กรรมการ


ที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดนานที่สุดออกจากตำแหน่งแล้วแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนกรรมการที่ออกไปแต่ทั้งนี้ก็สามารถแต่งตั้งกรรมการที่ออกจากตำแหน่งไปให้กลับมาเป็นกรรมการบริษัทอีกได้

 

2.กรณีที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้ออก หรืออีกนัยหนึ่งก็คือผู้ถือหุ้นสั่งปลดกรรมการออก และมีมติให้แต่งตั้งกรรมการใหม่แทน *การปลดกรรมการเก่าซึ่งออกจากตำแหน่งกรณีนี้ ต้องอาศัยมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้น

 

3.กรรมการลาออกจากตำแหน่ง ในกรณีต่างๆดังต่อไปนี้

(3.1)ลาออกโดยมีหนังสือลาออกถึงบริษัท หรือ (3.2)ลาออกจากตำแหน่งกรรมการด้วยวาจาโดยแจ้งในการประชุมคณะกรรมการ หรือลาออกในการประชุมผู้ถือหุ้นและที่ประชุมนั้น ๆ มีมติให้ออก


(3.3)กรรมการฯ เสียชีวิต (3.4)กรรการฯเป็นผู้ล้มละลาย (3.5)กรรมการฯเป็นผู้ไร้ความสามารถ

 

และไม่ว่าเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทเกิดจากสาเหตุใด การเปลี่ยนแปลงก็อาจทำให้อำนาจของกรรมการแต่ละคนที่เคยกำหนดไว้เปลี่ยนแปลงได้


ดังนั้นบริษัทจึงต้องจัดการประชุมผู้ถือหุ้น หรือจัดประชุมคณะกรรมการบริษัทแล้วแต่กรณี เพื่อจัดสรรเรื่องอำนาจให้เหมาะสมกับสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลง


ปรึกษาการจดทะเบียน ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


  แนะนำอ่าน สถานที่ที่จดทะเบียนบริษัท


การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท


1.กรณีการแต่งตั้งกรรมการ แบ่งออกเป็น2 ประเภทได้แก่


1.1 แต่งตั้งกรรมการโดยมีมติที่ประชุมของผู้ถือหุ้น และแต่งตั้งโดยมีมติที่ประชุมของคณะกรรมการโดยกรณีนี้กรรมการคนเก่าจะต้องออกจากตำแหน่งก่อนจึงจะสามารถแต่งตั้งกรรมการคนใหม่ได้ แต่การแต่งตั้งกรรมการเพิ่มต้องได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้น


1.2 กรรมการออกจากตำแหน่งด้วยเหตุผลบางอย่าง

-ครบกำหนดวาระ ตามข้อตกลงที่มี

-ออกจากตำแห่งโดยมติของที่ประชุมของผู้ถือหุ้น และมีมติแต่งตั้งกรรมการใหม่

-กรรมการออกจากตำแหน่งโดยมีหนังสือลาออก

-กรรมการเสียชีวิต

-กรรมการล้มละลาย

-กรรมการกลายเป็นบุคคลผู้ไร้ความสามารถ

 

2.กรณีการเปลี่ยนอำนาจกรรมการ

การเปลี่ยนอำนาจกรรมการนั้นจะแบ่งออกเป็น2 กรณีดังนี้

กรณีที่1 เพราะกรรมการคนเก่าออกจากตำแหน่ง จึงต้องมีการแต่งตั้งกรรมการคนใหม่มาแทน ต้องดำเนินเรื่องการเปลี่ยนอำนาจกรรมการ


กรณีที่2 แก้ไขอำนาจกรรมการเพื่อให้การบริหารจัดการได้สะดวกขึ้นกรณีนี้ปัญหาอาจอยู่ที่กรรมการบริษัทคนใดคนหนึ่งอาจรับเป็นกรรมการหลายบริษัท


หรือมีภารกิจเยอะ จนไม่มีเวลาลงนามเอกสาร หรือลงนามเอกสารล่าช้าไม่ทันการทำให้ระบบงานของบริษัทหยุดชะงัก จึงต้องทำการแต่งตั้งกรรมการคนใหม่ให้มีอำนาจและทำหน้าที่แทนคนเก่า


ซึ่งการแก้ไขอำนาจของกรรมการนั้น จะต้องมาจากการลงมติของประชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้นจึงจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงอำนาจได้แต่ถ้าหากบริษัทมีการตกลงไว้ว่า การแก้ไขอำนาจสามารให้ที่ประชุมคณะกรรมการลงมติได้ จึงจะสามารถใช้มติจากที่ประชุมของคณะกรรมการแก้ไขอำนาจได้


ข้อมูลที่ใช้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือแก้ไขอำนาจกรรมการ

(1) ชื่อกรรมการที่ออกจากตำแหน่ง (2) รายละเอียด ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ เลขที่บัตรประชาชนหรือบัตรแทนตัวอื่นๆ ของกรรมการคนใหม่ที่แต่งตั้งแทนคนเก่า (3) ข้อมูลการกระบุอำนาจกรรมการที่แก้ไขใหม่


เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือแก้ไขอำนาจกรรมการ

(1) คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (2) เอกสารคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด (3) เอกสารรายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม (4) รายละเอียดของคณะกรรมการคนใหม่ (กรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการคนใหม่)


(5) เอกสารที่เป็นหลักฐานการอนุญาตให้แต่งตั้งกรรมการคนใหม่ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(ในกรณีที่ธุรกิจมีกฎหมายพิเศษควบคุม) (6) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบแทนตัวอื่นๆของกรรมการคนใหม่ (7) สำเนาใบมรณะบัตร (ในกรณีกรรมการคนเก่าเสียชีวิต)


(8) คำสั่งศาล (ใช้ในกรณีที่บริษัทมีการพื้นฟูกิจการ) (9) สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรแทนตัวอื่นๆ ของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน (10) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่มอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนโดยต้องทำหนังสือมอบอำนาจและติดอากรแสตมป์


ปรึกษาการจดทะเบียน ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


  แนะนำอ่าน รับทำบัญชี ยื่นภาษีออนไลน์ ปรึกษาฟรี


ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือแก้ไขอำนาจกรรมการ

(1) ค่าธรรมเนียม กรรมการออกจากตำแหน่ง  400 บาท (จะลาออก กี่คนก็เสียเท่านี้) (2) ค่าธรรมเนียมกรรมการเข้าใหม่ คนละ 400 บาท (3) ค่าธรรมเนียมหนังสือรับรองหนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท (4) ค่าธรรมเนียมการรับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50บาท


สถานที่ยื่นขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือแก้ไขอำนาจกรรมการ

(1) หากสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัทตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ สามารถยื่นจดทะเบียนได้ที่ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 4 ถนนนนทบุรี 1 จังหวัดนนทบุรีหรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าทั้ง 5 เขต


(2) หากสำนักงานใหญ่ของบริษัทตั้งอยู่ในต่างจังหวัดให้ยื่นจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่สำนักงานแห่งใหญ่ชองบริษัทตั้งอยู่ (3)สามารถยื่นจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตได้ที่(e-Registration)

 

ขั้นตอนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการหรือแก้ไขอำนาจกรรมการ

1.กรณีประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติ

ขั้นตอนที่1 ทำหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นก่อนถึงวันประชุมอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ขั้นตอนที่2 ลงข้อความเชิญประชุมผู้ถือหุ้นในหนังสือพิมพ์อย่างน้อย1 ครั้ง และการส่งหนังสือเชิญประชุมให้ส่งเป็นไปรษณีย์ตอบรับแก่ผู้ถือหุ้น ขั้นตอนที่3 จัดประชุมผู้ถือหุ้น ขั้นตอนที่4 ยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน14 วัน นับตั้งแต่วันที่การลาออกมีผล


2.กรณีประชุมคณะกรรมการเพื่อขอมติ

ขั้นตอนที่1  เชิญคณะกรรมการบริษัทประชุม และจัดประชุมคณะกรรมการบริษัท ขั้นตอนที่2 ยื่นคำขอจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทภายใน14วัน นับตั้งแต่การขอลาออกมีผล


ปรึกษาการจดทะเบียน ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


  อ่าน ปิดงบบัญชี นำส่งกรมพัฒน์ กรมสรรพากร


สำนักงานบัญชี พีทูพี รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ รับจดทะเบียนแก้ไขอำนาจกรรมการ

การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทหรือแก้ไขอำนาจกรรมการ เป็นเรื่องสำคัญของบริษัทที่ต้องดำเนินการจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายต้องยอมรับว่า


ในแต่ละส่วนของการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทและเปลี่ยนแปลงอำนาจนั้นค่อนข้างเป็นเรื่องละเอียดและอาศัยความละเอียด รอบครอบ เพื่อไม่ให้การดำเนินการสูญเสียเวลาและเกิดความผิดพลาด

 

ดังนั้นหากบริษัทของคุณกำลังต้องดำเนินการการจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขอำนาจกรรมการนี้ต้องการผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทหรือแก้ไขอำนาจกรรมการ


เรายินดีให้คำปรึกษา พร้อมเป็นตัวแทนบริการยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ หรือแก้ไขอำนาจกรรมการ แทนท่านตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จลุล่วง เราคือ  “บริษัทสำนักงานบัญชี พีทูพี จำกัด”


สำนักงานบัญชีพีทูพี เรามีทีมบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทั้งความรู้ประสบการณ์ในการยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือแก้ไขอำนาจกรรมการ กับธุรกิจทุกประเภท มาอย่างต่อเนื่องตลอด 25 ปี


ปรึกษาการจดทะเบียน ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


  แนะนำอ่าน รับสอบบัญชี ออดิท เซ็นต์งบ

บทความที่น่าสนใจ