views

ภาษี e-service แพลตฟอร์มออนไลน์



ภาษี e-service หรือการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากแพลตฟอร์ม digital ต่างชาติที่ให้บริการผู้บริโภคในไทย นับว่าเป็นกฎหมายใหม่ที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายมา ตั้งแต่เดือนกันยายน 2564


เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจบนโลกออนไลน์ หรือผู้ซื้อสินค้าและใช้บริการบนโลกออนไลน์ต้องเรียนรู้ให้เข้าใจ ไม่เช่นนั้นอาจมีโอกาสโดนบวกภาษี VAT 7% เพิ่มอีก

 

กฎหมายภาษี E-Service คืออะไร

กฎหมาย e-service เป็นกฎหมายที่กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากผู้ให้บริการต่างประเทศ และแพลตฟอร์มต่างประเทศ ที่ให้บริการทางระบบออนไลน์ แก่ผู้ใช้บริการในไทย และมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี


ปรึกษาบัญชีภาษี ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


  อ่าน บริการรับวางแผนภาษี

 

มาทำความเข้าใจกับบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ และอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม


บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ คือบริการที่หมายถึงทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ และมีการส่งมอบผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรืออิเล็กทรอนิกส์  โดยมีบริการเป็นไปโดยอัตโนมัติ


อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม คือช่องทางกาตลาด กระบวนการที่ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ให้บริการแก่ผู้รับบริการ เช่น Google, Facebook, Line, Netflix เป็นต้น

 

ธุรกิจต่างประเทศประเภทใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย E-Service

E-Service เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการต่างประเทศที่ให้บริการดังต่อไปนี้


1. บริการให้ดาวน์โหลด บริการเกม บริการดูภาพยนตร์ ฟังเพลงออนไลน์


2. บริการให้ดาวน์โหลดสติ๊กเกอร์ใน แชท แอปพลิเคชั่น


3. บริการที่ให้การรับส่งสัญญาณถ่ายทอดไฟล์มัลติมีเดียทั้งภาพและเสียงผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น ถ่ายทอดสด concert event เกม รายการต่างๆ หรือที่เรียกรวมว่าบริการสตรีมมิ่ง


4. บริการพื้นที่โฆษณาบนเว็บไซต์ หรือ แอปพลิเคชั่น ต่างๆ

 

ข้อกำหนดของภาษี e-Service

กฎหมายได้กำหนดเกี่ยวกับภาษี e-Service ไว้ดังนี้


1. ผู้ประกอบการต่างประเทศที่มีรายได้ จากการให้บริการแก่คนไทยผ่านระบบออนไลน์ social mediaเกิน 1.8 ล้านบาท ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้กรมสรรพากร แต่หากรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาท ก็ยังไม่ต้องยื่นจดและไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม


2. ผู้ประกอบการต่างประเทศที่ให้บริการผ่านออนไลน์แก่คนไทยที่เป็นบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (B2C) ต้องถูกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม


3. ผู้ประกอบการต่างประเทศที่ให้บริการผ่านระบบออนไลน์แก่ผู้ใช้บริกาในไทย ไม่ต้องออกใบกำกับภาษี


ปรึกษาบัญชีภาษี ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


  อ่านบทความ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม



ทำไมประเทศไทยจึงต้องมีกฎหมาย พรบ. การเสียภาษี e-service

ในยุค digital ได้เกิดธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์จากบริษัทต่างประเทศที่ให้บริการออนไลน์หลากหลายรูปแบบเป็นจำนวนมากในประเทศไทย จึงมีเหตุผลที่สรรพากร ต้องออกกฎหมายดังนี้


เพราะแพลตฟอร์ม digital ต่างชาติ ไม่ได้เสียภาษีเช่นเดียวกับผู้ประกอบการในไทยที่ต้องยื่นภาษีชำระ VAT 7% ดังนั้น ภาษี e-service จึงต้องทำให้เกิดความเป็นธรรม


ระหว่างผู้ประกอบการในไทยกับผู้ประกอบการต่างประเทศ จึงถือเป็นการปรับปรุงกฎหมายในการจัดเก็บภาษีให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจ digital


ปัจจุบันมีจำนวนประทศมากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก ที่ออกกฎหมายเพื่อจัดเก็บ ภาษี e-service ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการต่างชาติต้องจดทะเบียนและเสียภาษี โดยกรมสรรพากรคาดว่าจะสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการต่างประเทศได้มากขึ้น ถึงปีละ 5,000 ล้านบาท


กฎหมายมีการบังคับใช้อย่างไร

ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศแก่ผู้ใช้ที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนี้


1. เมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีมีหน้าที่ยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม


2. เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากยอดขายโดยไม่สามารถนำภาษีซื้อมาหักทั้งนี้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างประเทศ สามารถยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านทาง online ได้

 

กรณีที่ผู้เกี่ยวข้องกับภาษี e-service ต้องทำความเข้าใจ

1. กรณีธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ จากบริษัทต่างประเทศที่ให้บริการออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่างๆ ได้แก่แพลตฟอร์ม E-Commerce ขายของออนไลน์ แพลตฟอร์มโฆษณา


อาทิ Google หรือแพลตฟอร์มเอเยนซี่สำหรับ จองโรงแรม ตั๋วเดินทาง รวมทั้งแพลตฟอร์มตัวกลาง เช่น บริการเรียกรถรับส่ง บริการสั่งอาหาร และแพลตฟอร์มบริการเล่นเกมออนไลน์ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง


- จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบของกรมสรรพากรที่เปิดให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ VAT for Electronic Service : VES บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร โดยสามารถจดทะเบียนได้แล้วตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา


- เมื่อทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้วแล้ว กรมสรรพากรจะทำการเผยแพร่รายชื่อผู้ประกอบการ e - Service จากต่างประเทศที่ได้จดทะเบียนบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร จากนั้นจะสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมชำระภาษีเป็นรายเดือน ได้ตั้งแต่วันที่ 1-23 ในเดือนถัดไป

 

2. กรณีผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่ใช้บริการในเชิงของพาณิชย์ หรือ ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจการบนแพลตฟอร์มข้ามชาติ


- กรณีที่ผู้ใช้บริการเชิงพาณิชย์ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเป็นบริษัทที่จดทะเบียน VAT อยู่แล้ว และมีการชำระภาษีรายเดือน ผู้ใช้บริการเชิงพาณิชย์ สามารถดำเนินการแจ้งหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี  VAT ให้แก่แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ เพื่อให้ทางแพลตฟอร์มต่างประเทศไม่เรียกเก็บ VAT เพิ่ม


- ขั้นตอนต่อไป ให้ทำการยื่นแบบและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ. 36 โดยสามารถนำใบเสร็จรับเงินที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มมาหักเป็นภาษีซื้อได้ โดยที่ผู้ประกอบการ e - Service จากต่างประเทศไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีและไม่มีสิทธินำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย


ทั้งนี้ในส่วนของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทั่วไปในไทย ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการเก็บภาษี e-service เพราะนโยบายดังกล่าวนี้จะเก็บภาษีมูลเพิ่มเฉพาะแพลตฟอร์ม digital ต่างชาติเท่านั้น

 

3. กรณีผู้ซื้อสินค้าและบริการจากแพลตฟอร์มต่างประเทศ กรณีหมายรวมถึงการซื้อสินค้าผ่านทาง  E-Commerce การจองโรงแรมที่พัก บริการสั่งอาหาร กรณีนี้มีโอกาสที่ต้องจ่ายบริการด้วยการบวก VAT 7%


เพราะผู้ประกอบการต่างประเทศที่มีต้นทุนการชำระภาษี VAT 7% เป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจที่จู่ ๆ จะมีค่าบริการเพิ่มขึ้น เช่น เมื่อซื้อสินค้า 100 บาท จะต้องจ่ายเพิ่มเป็น 107 บาท เป็นต้น

 

ปรึกษาบัญชีภาษี ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


  อ่าน บริการรับทำบัญชี ยื่นภาษี



หลักการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของผู้ให้บริการต่างประเทศและแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บริการทางออนไลน์ แก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทย


(1) กฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินค่าบริการให้กับผู้ประกอบการที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ไม่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม หากผู้จ่ายเงินมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม


(2) กฎหมายกำหนดให้ผุให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศ ที่ให้บริการแก่ผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในไทย ที่มีรายรับจากการให้บริการดังกล่าวเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี


ยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน ถ้าหากผู้ประกอบการดังกล่าวมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาท แต่ประสงค์จะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็สามารถขอจดทะเบียนได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด


(3) กฎหมายกำหนดให้การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการต่างประเทศสามารถดำเนินการผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรได้


(4) กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการในต่างประเทศที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดดังนี้


- ให้ผู้ประกอบการในต่างประเทศ ต้องเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หากให้บริการแก่ผู้รับบริการ ในประเทศไทยไทยที่ไม่ได้เป็นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผู้รับบริการในไทยต้องแจ้งเลขทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้ประกอบการในต่างประเทศทราบก่อนชำระค่าบริการเพื่อแสดงตนว่าได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่


- ให้ผู้ประกอบการต่างประเทศเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยไม่อนุญาตให้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้รับบริการในไทย


- ต้องทำการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร และให้นำเงินส่งกรมสรรพากรผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด


- ไม่สามารถนำยอดภาษีซื้อที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนในไทยเรียกเก็บ มาหักออกจากภาษีขาย หรือทำการขอคืนจากกรมสรรพากรได้


- ไม่ต้องทำ และออกใบกำกับภาษี


- มีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานภาษีขาย แต่ไม่ต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ


- หากมีความผิดในกรณีต่าง ๆ อาทิ ไม่จดทะเบียน ไม่นำส่งเงิน ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มหรือมีความผิดในกรณีอื่นๆ ต้องเสียค่าเบี้ยปรับ และมีโทษปรับอาญา

 

ปรึกษาบัญชีภาษี ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


  อ่านบทความ ที่ปรึกษาภาษี วางแผนภาษี



สรุปภาษี e-service

แม้เรื่องภาษี e-service ภาษีแพลตฟอร์มออนไลน์ จะเกิดขึ้นและมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2564  แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากที่ไม่รู้จัก และไม่เข้าใจภาษีในรูปแบบนี้ ดังนั้นการเรียนรู้ให้เข้าใจเรื่องของภาษี e-service จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องตามให้ทัน สำหรับการดำเนินชีวิตในยุค digital


ปรึกษาปัญหาภาษี ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


  บริการ ที่ปรึกษาบัญชี


บทความที่น่าสนใจ