views

บริการรับทำบัญชี SME Startup


 

บริการรับทำบัญชีธุรกิจ SME Startup บริการได้มาตรฐานการบัญชี ดูแลพัฒนาวางระบบบัญชี ธุรกิจ SMEs Startup ถูกต้องตามกฎหมายภาษี


บริการรับทำบัญชี ธุรกิจ SME Startup การจ้างบริษัทหรือผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแลจัดการบัญชีภาษีสำหรับ SME Startup เป็นการเริ่มต้นธุรกิจอย่างถูกต้องเพื่อระบบบัญชีในธุรกิจมีความถูกต้องโปร่งใส


และสามารถจัดการได้อย่างถูกต้องทุกขั้นตอน ดำเนินการจัดการบัญชีได้อย่างตรงตามมาตรฐานการบัญชี และตามประมวลรัษฎากร สามารถตรวจสอบได้ ทุกขั้นตอนถูกต้องและชัดเจน


ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี

โทรศัพท์ : 097 236 2994

Add Line : p2pacc


อ่านบทความ ที่ปรึกษาบัญชี

 

ทำไมธุรกิจ SMEs ต้องทำบัญชี

เจ้าของกิจการ SMEs หลายท่านอาจเคยเจอกับเรื่องปวดหัวกับงานบัญชีภาษี การทำบัญชีให้ได้ระบบงานบัญชีภาษีที่ดี ทราบถึงต้นทุน และกำไรของกิจการในแต่ละงวดเดือน ปี และอาจคิดว่าเป็นเรื่องข้อมูลสถิติไม่จำเป็น


หากความจริงแล้วฐานข้อมูลทางการเงินคือหัวใจหลักของการทำธุรกิจ สำนักงานบัญชีพีทูพี มีบริการรับทำบัญชีสำหรับ SME Startup มาช่วยจัดการระบบบัญชีให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลได้รายวัน รายสัปดาห์ จนไปถึงรายปี เพื่อการบริหารจัดการดดยมีประโยนช์คือ


1. ช่วยให้กิจการเห็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อการวิเคาระห์ประเมินผลการพัฒนาของธุรกิจ


2. ช่วยความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นภายใน ผู้ร่วมลงทุนรับทราบผลประกอบการ จากข้อมูลทางบัญชี งบการเงิน ลดความขัดแย้ง และเป็นหลักฐานการดำเนินงาน


3. ช่วยลดภาษีได้โดยการทำบัญชีที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มกิจการ ช่วยประหยัดภาษีได้ด้วยค่าใช้จ่ายกิจการ และการใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีต่างๆ การที่ทำบัญชีอย่างถูกต้องทำให้ไม่เกิดเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีย้อนหลัง


ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี

โทรศัพท์ : 097 236 2994

Add Line : p2pacc


อ่านบทความ ที่ปรึกษาภาษี


ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME Startup              


1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ

ภาษีสำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคลทั้งในรูปแบบบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน โดยกรมสรรพากร จะเป็นผู้จัดเก็บเพื่อนำส่งรายได้ให้รัฐบาล คือภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากนิติบุคคล โดยในหนึ่งปีจะต้องยื่นภาษี 2 ครั้ง คือภาษีเงินได้ครึ่งปี โดยใช้ภ.ง.ด.51 และภาษีเงินได้ประจำปีโดยใช้ ภ.ง.ด.50


2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม Value Added Tax หรือที่เรียกกันว่า VAT คือภาษีที่เก็บเพิ่มจากราคาสินค้าหรือบริการที่คิดกับลูกค้าโดยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ในปัจจุบันจะอยู่ที่ 7% โดยตามกฎหมายประเภทภาษี นี้ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็กหรือใหญ่


หากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี บริษัทจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรและต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับสรรพากรในเวลาที่กำหนด โดยใช้ ภ.พ.30 (เอกสารสรุปภาษีซื้อ ภาษีขาย) ในการยื่นแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากรทุกเดือน


สำหรับประเภทของภาษีมูลค่าเพิ่มการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่งจะคำนวณมาจาก “ภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ” โดยภาษีขายคือภาษีมูลค่าเพิ่มที่เราเรียกเก็บกับลูกค้าโดยเก็บเพิ่มหรือบวกเพิ่มไปในราคาสินค้าบริการ 


ส่วนภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เราชำระให้กับผู้ขาย เมื่อไปซื้อสินค้าบริการกับที่อื่น ส่วนนี้จะเป็นภาษีที่ขอคืนได้ ถ้าในเดือนภาษีนั้น ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อผู้ประกอบการจะต้องจ่าย เท่ากับส่วนต่างระหว่าง ภาษีขายและภาษีซื้อให้กรมสรรพากร


แต่ถ้าภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย จะสามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มนี้จากสรรพากรได้หรือเก็บเป็นเครดิต ไว้หักลบในเดือนถัดไป ภาษีขายจึงมีความสำคัญมากหากไม่มีการบันทึกบัญชีภาษีซื้อจะทำให้เสียโอกาสในการขอคืนภาษีได้


ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี

โทรศัพท์ : 097 236 2994

Add Line : p2pacc



อ่าน บริการรับวางระบบบัญชี


3. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

คือภาษีที่ผู้จ่ายเงินต้องหักเงินผู้รับเงินเอาไว้บางส่วน หมายถึงบริษัทต้องได้ไปจ่ายค่าบริการต่าง ๆให้แก่บุคคลหรือนิติบุคคลบริษัทต้องหักเงินจำนวนหนึ่งตามกฎหมาย หรือ หัก ณที่จ่ายเอาไว้เพื่อนำส่งภาษีให้รัฐ


จำนวนเงินที่หัก ณ ที่จ่ายเอาไว้นั้นต้องนำส่งสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปโดยใช้แบบ ภ.ง.ด.3 (หัก ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา) หรือ ภ.ง.ด.53 (หัก ณ ที่จ่ายนิติบุคคล) ประเภทของภาษีหัก ณ ที่จ่าย


อัตราภาษีที่ต้องหักจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่า เราจ่ายให้ใครและจ่าย ค่าอะไร เช่น ค่าบริการ หัก ณที่จ่าย 3หัก ณ ที่จ่าย 5ค่าขนส่ง หัก ณ ที่จ่าย 1% และผู้หักจะต้องออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ถูกหัก โดยผู้ถูกหักสามารถนำไปขอคืน จากรัฐหรือไปลดภาระภาษีได้


4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีที่เรียกเก็บแบบเฉพาะธุรกิจเช่น ธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำ ธุรกิจค้าขาย อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้นรายละเอียดจะอยู่ใน กฎหมายเฉพาะ


ที่ใช้กำกับดูแลธุรกิจ แต่ละประเภทโดยเฉพาะ ซึ่งถ้าทำธุรกิจที่เข้าข่ายธุรกิจเฉพาะจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการยื่นภาษี


5. ภาษีป้าย

คือ ภาษีที่เก็บจากการแสดงป้ายโดยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ป้ายในที่นี้ หมายถึง ป้ายที่ปรากฏ ชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายทางการค้าสำหรับการประกอบกิจการ การทำการค้า หรือโฆษณาเพื่อหารายได้


ไม่ว่าจะในรูปแบบของตัวอักษร สัญลักษณ์ ภาพบนวัสดุใด ๆ ก็ตาม ตามกฎหมายกำหนดว่าป้ายบางชนิดที่ได้รับการยกเว้นภาษีจุดนี้หากผู้ประกอบการมีการทำธุรกิจที่ต้องมีป้าย ตั้งป้าย


ต้องประเมินก่อนว่าป้ายที่ใช้นั้นเข้าข่ายต้องเสียภาษีหรือไม่ เพื่อไม่ให้ถูกปรับหากไม่เสียภาษีป้ายภายในวันที่กำหนด ต้องระวางโทษปรับวันละ 100 บาทหรือหากพบว่าจงใจไม่ยื่นแบบประเมินภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท


6. อากรแสตมป์

คือภาษีประเภทหนึ่งที่รัฐจัดเก็บจากการกระทำตราสาร หรือ ทำสัญญา ซึ่งตามประมวลรัษฏากรแล้วภาษีประเภทนี้จะจัดเก็บในรูปแบบ ของดวงแสตมป์ใช้ในการปิดบนเอกสารที่ใช้ในราชการ


ปิดบนหนังสือสัญญาต่าง ๆซึ่งสามารถซื้ออากรแสตมป์ได้ที่กรมสรรพากร อากรแสตมป์ไม่ใช่แสตมป์สำหรับส่งไปรษณีย์แต่อากรแสตมป์เป็นภาษีที่ต้องเสียเมื่อทำธุรกิจบางอย่าง มี 28 อย่าง เช่นสัญญาเช่าที่เช่าซื้อ จ้างทำของ หรือการกู้ยืมเงิน


ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี

โทรศัพท์ : 097 236 2994

Add Line : p2pacc


อ่านบริการรับวางแผนภาษี


ธุรกิจ SMEs Startup แม่ค้าขายออนไลน์ ควรรู้

1. การที่ท่านจดทะเบียนธุรกิจไม่ว่าจะอยู่ในรูปบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล มีผลต่อรูปแบบการเสียภาษี


2. ควรมีการเก็บรวบรวมเอกสาร และบันทึกรายการบัญชีให้ครบ ทั้งใบเสร็จรับเงิน ใบรับสินค้า ใบแจ้งหนี้ ใบส่งสินค้า ฯลฯ


3. กรณีที่กิจการจดทะเบียนในรูปนิติบุคคล ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชี และ ผู้สอบบัญชี หรือการจัดทำบัญชีเพียงชุดเดียว เพื่อให้ผู้ประกอบการรู้สถานะของกิจการ และ สามารถวางแผนธุรกิจได้อย่างถูกต้อง สามารถจัดทำบัญชี และงบการเงิน ให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ


4. ภาระภาษีของธุรกิจ SMEs ได้แก่

4.1 ผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดา รายได้จากการประกอบกิจการถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาหรือ หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็น และสมควรและเมื่อหักค่าลดหย่อนแล้วนำไปคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราก้าวหน้า


4.2 ผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นนิติบุคคล การเสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิ โดยกิจการ SMEs ที่มีกำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาทได้รับการยกเว้นภาษี และ สามารถหักค่าใช้จ่าย ค่าจดทะเบียนตั้งบริษัท ค่าสอบบัญชีค่าทำบัญชีได้เป็นสองเท่า


ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี

โทรศัพท์ : 097 236 2994

Add Line : p2pacc


แนะนำ บริการรับทำบัญชี ราคาประหยัด


สรุปการรับทำบัญชี สำหรับ SME Startup

สำหรับเจ้าของกิจการธุรกิจ SMEs Startup ขายออนไลน์ ทั้งที่ประกอบธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ที่ยังไม่มีความรูัในเรื่องงานบัญชีภาษี


สำนักงานบัญชี พีทูพี ยินดีให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา อันด้วยคำว่า ความรู้ที่ยิ่งให้ ยิ่งได้ เป็นความจริง และสำหรับธุรกิจรายใหม่ SMEs Startup แม่ค้าขายออนไลน์


เมื่อท่านไม่ถนัดในเรื่องงานบัญชีภาษี ด้วยเพราะท่านมีความสามารถในเรื่องธุรกิจค้าขายเป็นหลัก ก็จะเป็นเรื่องธรรมดาที่งานรองด้านบัญชีภาษี ต้องวางใจยกหน้าที่นั้นให้ผู้มีประสบการณ์ดูแลแทนท่าน


สำนักงานบัญชี พีทูพี พร้อมให้บริการ ท่านนักธุรกิจรายใหม่ SMEs Startup แม่ค้าขายออนไลน์ แบบครบวงจร เพื่อกิจการบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ มีประสิทธิผลอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และได้มาตรฐาน


ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี

โทรศัพท์ : 097 236 2994

Add Line : p2pacc


อ่านบริการรับตรวจสอบบัญชี


บทความที่น่าสนใจ