รับทำบัญชี SME Startup
รับทำบัญชีธุรกิจ SME Startup เป็นบริการที่มีมาตรฐานในการรับดูแลและจัดทำระบบบัญชีให้กับธุรกิจ
SMEs Startup อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
การทำบัญชีสำหรับธุรกิจ SMEs ควรที่จะจ้างบริษัท รับทำบัญชีสำหรับ SME Startup เข้ามาดูแลจัดการเรื่องระบบบัญชี
เพื่อระบบบัญชีในธุรกิจมีความโปร่งใส และ สามารถจัดการได้อย่างถูกต้องทุกขั้นตอนในระบบบัญชี รวมถึง ดำเนินการ
จัดการบัญชีที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างตรงตามมาตรฐาน สามารถตรวจสอบได้ ทุกขั้นตอนถูกต้องและชัดเจน
อ่านบริการ ที่ปรึกษาด้านบัญชี
.jpg)
ทำไมธุรกิจ SMEs ต้องทำบัญชี
เจ้าของกิจการ SMEs หลายท่านอาจจะเจอกับเรื่องปวดหัว คือ การทำบัญชีให้เป็นระบบบัญชีที่ดี เพราะอาจคิดว่าเป็นเรื่องไม่จำเป็นแต่
ความจริงแล้ว การมีโอกาสให้บริษัท รับทำบัญชีสำหรับ SME Startup เข้ามาช่วยจัดการระบบบัญชีให้ จะช่วยอะไรเจ้าของกิจการได้มากเลยทีเดียว
1.ช่วยให้กิจการเห็นผลการพัฒนาเจริญรุ่งเรืองได้
เมื่อไหร่ที่กิจการของคุณก้าวเข้าสู่บริษัทมหาชน สามารถนำกิจการเข้าไปเทรดในตลาดหุ้นได้ ทั้งแหล่งเงินทุนที่มีอย่างล้นเหลือ
การต่อยอดทางธุรกิจ ก็มีโอกาสมากขึ้น หากระบบบัญชีหลังบ้านคุณไม่ดี หรือ เมื่อถูกตรวจสอบจากประวัติทางการเงินแล้ว
ก็ไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงให้ตรงตามมาตรฐานของตลาดหลักทรัพย์ได้ โอกาสการเป็นบริษัทมหาชนก็จะหมดไปอย่างง่ายดาย
2.ช่วยความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นภายใน
ในการก่อตั้ง ธุรกิจ SMEs คุณอาจไม่ได้ก่อตั้งเพียงคนเดียว คุณอาจต้องมีผู้ร่วมลงทุนเข้ามา อาจเป็นเพื่อนสนิท ญาติสนิท หรือ
แม้แต่พี่น้องหากคุณให้บริษัท รับทำบัญชีสำหรับ SME Startup เข้ามาจัดการเรื่องระบบบัญชีให้แทน ระบบบัญชีบริษัทของคุณ
จะได้รับการชี้แจงอย่างโปร่งใสแน่นอน สามารถตอบได้ทุกคำถามให้กับผู้ร่วมลงทุน โอกาสแห่งความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นภายใน
ก็ลดน้อยลง ธุรกิจคุณจะเติบโตได้อย่างมั่นคง หมดกังวลเรื่องระบบบัญชีอย่างแน่นอน
3.ช่วยลดภาษีได้
หากคุณได้ให้บริษัท รับทำบัญชีสำหรับ SME Startup เข้ามาจัดการทำบัญชีที่ถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่มกิจการ ระบบบัญชีที่ดีจะช่วยลดภาษีได้
ระบบบัญชีจะโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน หรือ ถ้าทำบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายหลายอย่างสามารถนำมาหักลดภาษีได้
และการที่ทำบัญชีอย่างถูกต้องทุกประการ จะทำให้เราไม่โดนภาษีย้อนหลังแต่อย่างใด
แนะนำอ่าน บทความที่ปรึกษาด้านภาษีอากร
ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME Startup
1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ
ภาษีสำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคล ทั้งในรูปแบบบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน โดยกรมสรรพากร จะเป็นผู้จัดเก็บเพื่อนำส่งรายได้ให้รัฐบาล
คือ ภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากนิติบุคคล โดยในหนึ่งปีจะต้องยื่นภาษี 2 ครั้ง คือ ภาษีเงินได้ครึ่งปี โดยใช้ภ.ง.ด.51 และภาษีเงินได้ประจำปีโดยใช้ ภ.ง.ด.50
2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม Value Added Tax หรือที่เรียกกันว่า VAT คือภาษีที่เก็บเพิ่มจากราคาสินค้าหรือบริการที่คิดกับลูกค้า โดยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในปัจจุบันจะอยู่ที่ 7% โดยตามกฎหมายประเภทภาษีนี้ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็กหรือใหญ่ หากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี บริษัทจะต้อง
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร และต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับสรรพากรในเวลาที่กำหนด โดยใช้ ภ.พ.30
(เอกสารสรุปภาษีซื้อ ภาษีขาย) ในการยื่นแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากรทุกเดือนสำหรับประเภทของภาษีมูลค่าเพิ่ม การคำนวณภาษี
มูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่งจะคำนวณมาจาก “ภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ” โดยภาษีขายคือภาษีมูลค่าเพิ่มที่เราเรียกเก็บกับลูกค้า
โดยเก็บเพิ่มหรือบวกเพิ่มไปในราคาสินค้าบริการ ส่วนภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เราชำระให้กับผู้ขาย เมื่อไปซื้อสินค้าบริการกับที่อื่น
ส่วนนี้จะเป็นภาษีที่ขอคืนได้ ถ้าในเดือนภาษีนั้น ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ผู้ประกอบการจะต้องจ่าย เท่ากับส่วนต่างระหว่าง
ภาษีขายและภาษีซื้อให้กรมสรรพากร แต่ถ้าภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย จะสามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มนี้จากสรรพากรได้หรือ เก็บเป็นเครดิต
ไว้หักลบในเดือนถัดไป ภาษีขายจึงมีความสำคัญมาก หากไม่มีการบันทึกบัญชีภาษีซื้อจะทำให้เสียโอกาสในการขอคืนภาษีได้
อ่าน บริการรับวางระบบบัญชี
3.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
คือ ภาษีที่ผู้จ่ายเงินต้องหักเงินผู้รับเงิน เอาไว้บางส่วน หมายถึงบริษัทต้องได้ไปจ่ายค่าบริการต่าง ๆ ให้แก่บุคคลหรือนิติบุคคลบริษัทต้องหัก
เงินจำนวนหนึ่งตามกฎหมาย หรือ หัก ณ ที่จ่ายเอาไว้เพื่อนำส่งภาษีให้รัฐ จำนวนเงินที่หัก ณ ที่จ่ายเอาไว้นั้นต้องนำส่งสรรพากรภายใน
วันที่ 7 ของเดือนถัดไปโดยใช้แบบ ภ.ง.ด.3 (หัก ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา) หรือ ภ.ง.ด.53 (หัก ณ ที่จ่ายนิติบุคคล)ประเภทของภาษีหัก ณ ที่จ่าย
อัตราภาษีที่ต้องหัก จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่า เราจ่ายให้ใครและจ่าย ค่าอะไร เช่น ค่าบริการ หัก ณ ที่จ่าย 3% หัก ณ ที่จ่าย 5% ค่าขนส่ง
หัก ณ ที่จ่าย 1% และผู้หักจะต้องออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ถูกหัก โดยผู้ถูกหักสามารถนำไปขอคืน จากรัฐหรือไปลดภาระภาษีได้
4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีที่เรียกเก็บแบบเฉพาะธุรกิจ เช่น ธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำ ธุรกิจค้าขาย อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น รายละเอียดจะอยู่ใน
กฎหมายเฉพาะที่ใช้กำกับดูแลธุรกิจ แต่ละประเภทโดยเฉพาะ ซึ่งถ้าทำธุรกิจที่เข้าข่ายธุรกิจเฉพาะจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการยื่นภาษี
5.ภาษีป้าย
คือ ภาษีที่เก็บจากการแสดงป้าย โดยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ป้ายในที่นี้ หมายถึง ป้ายที่ปรากฏ ชื่อ ยี่ห้อ หรือ เครื่องหมายทางการค้า
สำหรับการประกอบกิจการ การทำการค้า หรือ โฆษณาเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะในรูปแบบของตัวอักษร สัญลักษณ์ ภาพบนวัสดุใด ๆ ก็ตาม
ตามกฎหมายกำหนดว่า ป้ายบางชนิดที่ได้รับการยกเว้นภาษี จุดนี้หากผู้ประกอบการมีการทำธุรกิจที่ต้องมีป้าย ตั้งป้าย ต้องประเมินก่อนว่า
ป้ายที่ใช้นั้นเข้าข่ายต้องเสียภาษีหรือไม่ เพื่อไม่ให้ถูกปรับ หากไม่เสียภาษีป้ายภายในวันที่กำหนด ต้องระวางโทษปรับวันละ 100 บาท
หรือ หากพบว่าจงใจไม่ยื่นแบบประเมินภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท
6.อากรแสตมป์
คือ ภาษีประเภทหนึ่งที่รัฐจัดเก็บจากการกระทำตราสาร หรือ ทำสัญญา ซึ่งตามประมวลรัษฏากร แล้วภาษีประเภทนี้จะจัดเก็บในรูปแบบ
ของดวงแสตมป์ ใช้ในการปิดบนเอกสารที่ใช้ในราชการ ปิดบนหนังสือสัญญาต่าง ๆ ซึ่งสามารถซื้ออากรแสตมป์ได้ที่กรมสรรพากร อากรแสตมป์
ไม่ใช่แสตมป์สำหรับส่งไปรษณีย์ แต่อากรแสตมป์เป็นภาษีที่ต้องเสียเมื่อทำธุรกิจบางอย่าง มี 28 อย่าง เช่นสัญญาเช่าที่ เช่าซื้อ จ้างทำของ หรือการกู้ยืมเงิน
อ่านบริการรับวางแผนภาษี
งานบัญชี และภาษีที่ธุรกิจ SMEs จำเป็นต้องจัดทำมีอะไรบ้าง
1.การจดทะเบียนธุรกิจ
ไม่ว่าจะอยู่ในรูปบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล มีผลต่อรูปแบบการเสียภาษี
2.การรวบรวมเอกสาร
ในการบันทึกรายการบัญชีให้ครบ ทั้งใบเสร็จรับเงิน ใบรับสินค้า ใบแจ้งหนี้ ใบส่งสินค้า
3.กรณีที่กิจการจดทะเบียนในรูปนิติบุคคล
ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชี และ ผู้สอบบัญชี หรือ การจัดทำบัญชีเพียงชุดเดียว เพื่อให้ผู้ประกอบการรู้สถานะของกิจการ และ สามารถวางแผนธุรกิจได้อย่างถูกต้อง สามารถจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ
4.ภาระภาษีของธุรกิจ SMEs ได้แก่
**ผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดา
รายได้จากการประกอบกิจการ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา หรือ หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็น และสมควร และเมื่อหักค่าลดหย่อนแล้วนำไปคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราก้าวหน้า
**ผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นนิติบุคคล
การเสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิ โดยกิจการ SMEs ที่มีกำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี และ สามารถหักค่าใช้จ่าย ค่าจดทะเบียนตั้งบริษัท ค่าสอบบัญชี ค่าทำบัญชีได้เป็นสองเท่า
แนะนำอ่าน บริการรับทำบัญชี ราคาประหยัด
สำหรับเจ้าของกิจการที่มีธุรกิจ SMEs ที่ยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องระบบบัญชี ควรให้บริษัทที่รับทำบัญชีสำหรับ SME Startup
เข้ามาจัดการและดูแลระบบบัญชีให้จะได้ประสิทธิผลที่ดียิ่งกว่า เพราะการบริการจะครอบคลุมเรื่องระบบบัญชีในทุกส่วน
ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตรงตามมาตรฐาน ชัดเจน และ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนการทำงาน
" ทำบัญชีสำหรับ SME Startup มีประสิทธิภาพมากกว่าแน่นอน "
บริษัท สำนักงานบัญชี พีทูพี จำกัด
โทรศัพท์ : 097 236 2994
ไอดีไลน์ : p2pacc
www.p2paccounting.com
www.p2paccounting.blogspot.com
www.facebook.com/p2paccounting