views

ภาษีขายของออนไลน์ShopeeLazada Tictok



ปัจจุบันการขายสินค้าผ่านระบบE-marketplaceหรือการขายของออนไลน์บน Shopping Platform ที่ได้รับความนิยม และรู้จักกันเป็นอย่างดี อย่างShopee Lazada Tiktok Shop


สิ่งสำคัญที่ผู้ค้าออนไลน์ต้องศึกษาให้เข้าใจคือ เรื่องของภาษีขายของออนไลน์Shopee Lazada Tictok บทความนี้ได้รวบรวมสาระที่เกี่ยวกับเรื่องของภาษีขายของออนไลน์ รวมถึงสาระที่เกี่ยวข้องที่ผู้ค้าออนไลน์ควรรู้ เพื่อนำความรู้ดังกล่าวไปจัดการเรื่องภาษีของธุรกิจ


Shopee Lazada Tiktok คือ


shopeeLazada เป็น Shopping Platform เป็นการช้อปปิ้งออนไลน์เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ให้บริการซื้อ ขายสินค้าออนไลน์ ระหว่างผู้ขายผู้ซื้อ ส่วนTikTok เป็น Social Media ที่สามารถสร้างและแชร์วิดีโอสั้นๆ


เพื่อทำ Challenge โฆษณาขายสินค้าบนโลกออนไลน์ โดยทั้ง 3 ตัวต่างก็ช่วยกระตุ้นยอดขายให้กับผู้ค้าออนไลน์ เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่ช่วยเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมสินค้าทางออนไลน์เพื่อสร้างยอดขาย


ปรึกษางานบัญชีภาษี

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


บริการรับวางแผนภาษี


ข้อดีข้อเสีย ขายสินค้าออนไลน์ShoppingPlatform ของ shopee Lazada Tiktok


ข้อดี


1.ไม่ต้องมีหน้าร้าน คุยกับลูกค้าได้ทุกที่ ช่วยลดต้นทุนการเดินทางจึงมีต้นทุนการขายต่ำ


2. เข้าถึงลูกค้าและขายขิงได้ 24 ชม. มีเครื่องมือช่วยในการรายงานสถิติการขาย  เสนอขายได้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม


3. ไม่ต้องใช้ต้นทุนในการสต็อกสินค้า 


ข้อเสีย


1. มีผู้ขายสินค้าอย่างเดียวกันจำนวนมากจึงมีการแข่งขันสูง  เจอได้ยาก และถูกตัดราคาได้ง่าย


2. ผู้ซื้อ/ผู้ขายต้องใช้อินเทอร์เน็ตและมีความรู้ในการใช้


3. มีค่าใช้จ่ายในการออกแบบดูแลหน้าเว็บให้สวยงามดึงดูดลูกค้า


4. ร้านอาจถูกปิดเพราะถูกแฮก สแปม


5. ลูกค้าเห็นแต่รูปจับต้องสินค้าไม่ได้


6. เสียเวลาในการรอจัดส่งสินค้าและลูกค้าอาจต้องเสียค่าจัดส่งเพิ่ม


ประเภทของสินค้าที่ขายในออนไลน์


-สินค้าที่จับต้องได้ อาทิ เสื้อผ้า  เครื่องสำอางอาหารเสริม อุปกรณ์ไอที เครื่องดนตรี ของเล่นเด็ก


-สินค้าที่จับต้องไม่ได้ เช่น ซอฟต์แวร์ เกม แอพพลิเคชัน


-สินค้าขายบริการ เช่น บริการสปา เสริมสวย จองตั๋วเครื่องบิน โรงแรมที่พัก


ขั้นตอนในการเตรียมตัวเป็น“ผู้ค้าออนไลน์” มืออาชีพ


1.ตั้งและเตรียมงบการลงทุน แล้วเลือกสินค้าที่จะขาย


2.เลือกใช้ช่องทางการขาย ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้า


3.เลือกทำการตลาดบน socialmedial ผ่านทาง Line YouTube Facebook Instagram TikTok ทางใดทางหนึ่งหรือทั้งหมด


4.วางแผนบริหารจัดการเรื่องเวลาก่อนเริ่มขายจริง เพราะการขายออนไลน์เป็นการซื้อ-ขายได้ตลอด24 ชั่วโมง ซึ่งผู้ค้าออนไลน์สามารถนำโปรแกรมสื่อสารข้อความอัตโนมัติที่ชื่อ


แชทบอท เป็นตัวช่วยในการขายการแจ้งราคาและรายละเอียดสินค้าในเบื้องต้น เพื่อสามารถตอบกลับลูกค้าได้อย่างรวดเร็วตลอด24 ชั่วโมง โดยผู้ค้าไม่ต้องคอยเฝ้าตอบแชทกับลูกค้า


5.เลือกและเตรียมช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย เพื่อให้ลูกค้าได้รับความสะดวก อาทิ มีบริการเก็บเงินปลายทาง,โอนเงินจ่ายทางe-Banking,จ่ายผ่านบัตรเครดิต/เดบิตหรือจ่ายผ่านบัญชีออนไลน์อื่นๆ และผู้ค้าควรระบุค่าธรรมเนียมในการจัดส่งให้กับลูกค้าให้ทราบด้วย


6.ศึกษาทำความเข้าใจในการเสียภาษีเงินได้จากการขายของออนไลน์


7.เลือกช่องทางจัดส่งสินค้าที่รวดเร็วราคาไม่แพง เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าและลดต้นทุนของผู้ค้า


ปรึกษางานบัญชีภาษี

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


บริการที่ปรึกษาบัญชี


ค่าธรรมเนียมในการขายของออนไลน์กับshopee Lazada Tiktok


1.Tiktok4% (ไม่รวมVat7%)


2.Shopee ปรับค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2566 สินค้ากลุ่มแฟชั่น 5.35 %(รวม vat) สินค้ากลุ่มอิเลคทรอนิกส์ อุปโภคบริโภคและเครื่องประดับ 4.28 % (รวม vat)


3. Lazada ปรับค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 1 ต.ค. 2566 สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 5%  สินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภค สินค้าทั่วไปและสินค้าแฟชั่น 7%


ประเภทของการเสียยื่นภาษี ของผู้ขายของบนออนไลน์

ผู้ค้าออนไลน์ถือเป็นผู้มีรายได้จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามกฎหมายกำหนด โดยแบ่งตามประเภทของผู้ค้าออนไลน์ดังนี้


1. ผู้ค้าออนไลน์ประเภทบุคคลธรรมดากรณีที่ผู้ค้าออนไลน์มีรายได้จากการขายของเป็นจำนวนเงิน  60,000 บาทขึ้นไปต่อปีจะต้องยื่นเสียภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดาแต่ถ้ามีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ก็อาจไม่ต้องเสียภาษี


2. ผู้ค้าออนไลน์ประเภทนิติบุคคลกิจการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่มีรายได้จากการขายของออนไลน์ จะต้องยื่นเสียภาษีแบบหักจากค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้นซึ่งเจ้าของกิจการจะต้องเก็บหลักฐานค่าใช้จ่าย และต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบการเสียภาษี


ทำไมสรรพากรถึงรู้ถึงรายได้ผู้ค้าออนไลน์shopeeLazada Tiktok

สรรพากรมีช่องทางที่ใช้ตรวจสอบรายได้ของผู้ค้าออนไลน์หลายวิธีดังนี้


1.มีการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารหลายครั้ง และยอดโอนเป็นเงินจำนวนมาก หากผู้ขายมีเงินเดินบัญชีทั้งเงินฝากและเงินโอน และทำธุรกรรมผ่านสมาร์ทโฟน หรือผ่านทางบัตรเครดิต


หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมดังกล่าวก็มีหน้าที่จะต้องส่งข้อมูลให้กับสรรพากร จึงทำให้สรรพากรรู้ข้อมูลของผู้มีรายได้  โดยมีเงื่อนไขกำหนดไว้ดังนี้


1.1มีธุรกรรมโอนเงินเข้าบัญชีจำนวน 3,000 ครั้งต่อปี โดยไม่กำหนดว่าจำนวนเงินที่โอนเข้าแต่ละครั้งเป็นจำนวนเท่าไหร่


1.2มีธุรกรรมโอนเงินเข้าบัญชี 400 ครั้งต่อปี โดยมีจำนวนเงินที่โอนเข้าบัญชีรวมแล้วเกิน 2 ล้านบาท


2.รู้ได้จากข้อมูลการรับเงิน อาทิ ใบกำกับภาษี ภาษีหัก ณ ที่จ่าย แม้ว่าจะมีรายได้แบบรับเป็นเงินสดแต่สรรพากรก็ยังรู้ว่ามีรายได้จากการที่ผู้ประกอบการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล


ได้นำส่งเงินภาษีที่ถูกหักให้แก่กรมสรรพากรพร้อมแจ้งชื่อ หมายเลขบัตรประชาชนของผู้รับเงิน ลงในแบบนำส่งภาษีที่หักไว้ ดังนั้นต่อให้รับรายได้เป็นเงินสดสรรพากรก็ยังรู้ถึงรายได้ ได้อยู่ดี


3.ตรวจสอบหรือหาข้อมูลรายได้จาก Web Scraping ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่กรมสรรพากรใช้ในการดึงข้อมูลราคาและจำนวนของสินค้าจากเว็บ e-commerce ต่าง ๆ ทั้ง shopeeLazada Tiktok ทำให้ผู้ค้าออนไลน์ไม่รอดจากการต้องเสียภาษี


การขายของผ่าน e-commerce อย่าง shopee Lazada Tiktokผู้ค้าออนไลน์จะถูกหักค่าธรรมเนียมตามเงื่อนไขที่กำหนดและทาง shopeeLazada Tiktok ก็จะนำส่งใบกำกับภาษีให้กับผู้ค้าออนไลน์ เพื่อเป็นหลักฐานส่งให้สรรพากรด้วย


4. นำเทคโนโลยีของระบบBigData & Data Analytics มาใช้ในการค้นหาข้อมูล ระบบนี้จะทำหน้าที่คัดกรองข้อมูลของกลุ่มผู้มีรายได้ ที่มีความเป็นไปได้ในการหลีกเลี่ยงภาษีดังที่เคยเป็นข่าวว่ามีผู้ค้าออนไลน์ถูกสรรพากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง


กรณีนี้ก็เป็นผลจากการใช้ระบบดังกล่าวช่วยคัดกรองอีกทั้งระบบ BigData & Data Analytic ยังเชื่อมต่อข้อมูลของการใช้ไฟฟ้าน้ำประปาซึ่งข้อมูลจะแสดงให้เห็นว่าอัตราการใช้ไฟฟ้า


น้ำประปาของผู้ประกอบการนั้นใกล้เคียงกับผู้ประอบการรายอื่นที่ทำธุรกิจเหมือนกันแต่ผู้ประกอบการรายอื่นแจ้งตัวเลขของรายได้ที่สูงกว่า ประเด็นนี้สรรพากรอาจเพ่งเล็งว่ามีการแจ้งรายได้ต่ำกว่าความเป็นจริงเพื่อจะได้เสียภาษีน้อยลง


5. ข้อมูลจากเข้าร่วมโครงการของรัฐหากผู้ค้าออนไลน์เข้าร่วมโครงการของรัฐทีตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้มีอาชีพค้าขายและบริการอาทิ โครงการคนละครึ่ง โครงการเราชนะ โครงการชิมช้อปใช้


ทุกรายได้ที่ผ่านโครงการของรัฐ ก็จะถูกส่งให้กับกรมสรรพากรจึงเป็นเรื่องง่ายมากที่สรรพากรจะรับรู้ถึงรายได้ของผู้ค้าที่ขายผ่านโครงการของรัฐ


6.ใช้วิธีการสุ่มตรวจผู้มีรายได้ สรรพากรจะใช้วิธีสุ่มตรวจผู้มีรายได้จากเว็บไซด์ต่างๆ ในสังคมออนไลน์ เช่นการโพสต์แสดงว่าได้รับเงินโอน หรือสุ่มตรวจผู้ที่มีการไลฟ์สดขายของและมีรายได้ว่าได้ยื่นเสียภาษีตามกฎหมายแล้วหรือยัง และถ้าพบว่ายังไม่ยื่นเสียภาษี ก็จะถูกสรรพากรเรียกพบ

 

ปรึกษางานบัญชีภาษี

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


บริการรับทำบัญชียื่นภาษี


ผู้ค้าออนไลน์ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้จากการขายของออนไลน์ในช่วงเวลาใดบ้าง


ผู้ค้าออนไลน์ที่เป็นบุคคลธรรมดา


1. ยื่นเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) การเสียภาษีครึ่งปีต้องยื่นเสียภาษีในระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายนของทุกปี


2. ยื่นเสียภาษีเงินได้สิ้นปี (ภ.ง.ด.90) ภาษีสิ้นปี ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้ในช่วงเดือนมกราคม– มีนาคมของทุกปี โดยต้องทำการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในตลอดปีที่ผ่านมาแล้วยื่นเสียภาษี ภายในเดือนมีนาคม ของปีถัดไป


ผู้ค้าออนไลน์ที่เป็นนิติบุคคล


1. ยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปี (ภ.ง.ด 51) ภาษีครึ่งปีจะต้องยื่นเสียภาษีในช่วงเดือนกรกฎาคม–สิงหาคมของทุกปี


2. ยื่นภาษีเงินได้สิ้นปี (ภ.ง.ด. 50) ภาษีเงินได้สิ้นปีจะต้องยื่นภาษีในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปีโดยสรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นตลอดปี

 

การคำนวณภาษีเงินได้ผู้ค้าออนไลน์ แบ่งตามประเภทผู้ค้า ออกเป็น 2 ประเภท


1.การคำนวณภาษีเงินได้ผู้ค้าบนออนไลน์ ประเภท ”บุคคลธรรมดา” คำนวณ โดยนำค่าใช้จ่ายมาใช้ในการคำนวณได้ 2 แบบ คือ


-คำนวณแบบหักค่าใช้จ่ายตามจริงเหมาะสำหรับผู้ค้าออนไลน์ที่มีต้นทุนสินค้าสูงโดยต้องรวบรวมหลักฐาน และทำบัญชีรายรับรายจ่ายให้ครบถ้วนเพื่อนำไปตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่หักออกตามจริง


-คำนวณแบบหักค่าใช้จ่ายเหมา60% ของรายได้ เหมาะกับ ผู้ค้าออนไลน์ที่มีผลกำไรสูงหรือทำธุรกิจแบบซื้อมา ขายไป ไม่ต้องผลิตสินค้า การคำนวณแบบนี้ มีข้อดีคือไม่จำเป็นต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายใดๆ และยังได้รับประโยชน์ทางภาษีจากส่วนต่างของต้นทุนที่แท้จริงกับค่าใช้จ่ายที่คำนวณแบบเหมาจ่ายอีกด้วย


2.การคำนวณภาษีเงินได้ผู้ค้าออนไลน์ประเภท “นิติบุคคล” ใช้วิธีคำนวณแบบใช้ข้อมูลตามค่าใช้จ่ายตามจริง  โดยต้องจัดเก็บหลักฐานเอกสารค่าใช้จ่าย และต้องทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเพื่อใช้ตรวจสอบ  


และถ้ากิจการเป็น SME มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30 ล้านบาท ต้องเสียภาษีเงินได้แบบขั้นบันไดโดยเริ่มตั้งแต่การมีรายได้จากการขอยของบนออนไลน์ ตั้งแต่ 300,000 ขึ้นไปต่อปี

 

การจัดการของผู้ค้าออนไลน์ขณะดำเนินธุรกิจ ก่อนถึงเวลายื่นเสียภาษีขายของออนไลน์


1. บันทึกรายละเอียดการซื้อขาย และทำบัญชีรายรับรายจ่ายในแต่ละวันเพื่อการจัดการทางการเงินและการตรวจสอบได้อย่างสะดวก


2. จัดเก็บหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวกับการขาย ธุรกรรมการเงินเพื่อเป็นหลักฐานการดำเนินธุรกรรม


3. ติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับภาษีการขายออนไลน์เป็นประจำเพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดของการเสียภาษี ทั้งนี้เพื่อการจัดการภาษีได้อย่างถูกต้อง


ปรึกษางานบัญชีภาษี

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


ตรวจสอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA


ผู้ค้าออนไลน์ยื่นภาษีได้ในช่องทางไหนบ้าง


1. ยื่นชำระภาษีที่กรมสรรพากรกรอกแบบฟอร์มภ.ง.ด. แล้วไปยื่นเสียภาษีได้ด้วยตนเองที่สำนักงานกรมสรรพากรทุกพื้นที่ในวันและเวลาราชการ


2. ยื่นชำระภาษีทางออนไลน์ผ่านทางเว็บไซด์ของกรมสรรพากรชำระภาษีผ่านทางระบบออนไลน์ได้ตลอด24 ช.ม.ไม่เว้นวันหยุดราชการ วิธีนี้สะดวกรวดเร็วและยังมีการขยายเวลายื่นเสียภาษีเงินได้นานกว่าการไปชำระด้วยตนเองทีสรรพากร


สรุป


เห็นได้ว่าภาษีขายออนไลน์  shopee, Lazada, Tiktok เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ค้าออนไลน์ต้องทำความเข้าใจ และดำเนินการเสียภาษีเงินได้ตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดเพื่อปิดประตูปัญหาเรื่องภาษีที่จะเกิดขึ้น ไม่ต้องกังวลสรรพากรมาเยือน



บทความที่น่าสนใจ