views

ภาษีขายของออนไลน์ e-payment


ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบันธุรกิจขายของออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด – 19 ที่ทำให้คนเราไม่สามารถออกไปใช้ชีวิตได้เหมือนอย่างปกติ


อีกทั้งด้วยสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันที่ทำให้พนักงานประจำหลาย ๆคนเริ่มมองหาอาชีพเสริม เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างรายได้ และด้วยจำนวนของพ่อค้าแม่ค้าที่มากขึ้น


ตลอดจนรายได้ที่เพิ่มขึ้นของบุคคล จึงเป็นที่มาของการจ่ายภาษีขายของออนไลน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่พ่อค้าแม่ค้าหลายๆ คนยังขาดความรู้ความเข้าใจ วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการจ่ายภาษีขายของออนไลน์ที่หลาย ๆ คนสงสัยกัน

 

รู้จักกับภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment)

 

สิ่งที่พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่บนโลกออนไลน์ทั้งหลายจำเป็นต้องรู้อันดับแรกก็คงเป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ในการขายของออนไลน์ อย่างเช่นในเรื่องของการจ่ายภาษีขายของออนไลน์


เพื่อให้การดำเนินการของร้านค้าเราเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยการจ่ายภาษีขายของออนไลน์นั้นมีชื่อเรียกตามกฎหมายว่า “ภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment)


ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่21 มีนาคม 2562โดยในพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ.2562 ระบุใจความสำคัญไว้ว่า


" ให้ธนาคาร สถาบันการเงิน ผู้ให้บริการทางการเงิน ต้องรายงานข้อมูล ผู้มีบัญชีธุรกรรมเฉพาะ ให้กรมสรรพากรทราบ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล  ทั้งคนไทย และต่างชาติ "


ที่ปรึกษาภาษีอากร


โดยบัญชีธุรกรรมเฉพาะจะต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้


1. มียอดฝากหรือโอนเข้าทุกบัญชีตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป


2. ฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีขึ้นไป


3. มียอดเงินรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป


มาขยายความคำว่ายอดเงินฝากกันสักนิดเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นคำว่ายอดเงินฝากในที่นี้ หมายถึง ยอดเงินฝากเข้าบัญชีทุกประเภท ทั้งยอดเงินฝากที่ทำธุรกรรมผ่านเคาน์เตอร์หรือที่ทำผ่านตู้ฝากเงิน


ทั้งยอดรับโอนเงินเข้าบัญชี ยอดเงินโอนจากเครื่องรูดบัตร (นับตามจำนวนครั้งที่รูด)ยอดเงินฝากเช็คเข้าบัญชี รวมไปถึงยอดเงินเข้าบัญชีจากดอกเบี้ยหรือจากเงินปันผล


แนวทางการจ่ายภาษีอีเพย์เมนต์


หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับภาษีขายของออนไลน์หรือภาษีอีเพย์เมนต์ไปคร่าวๆ แล้ว ในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงแนวทางการจ่ายภาษีขายของออนไลน์กัน


หากวันนี้ธุรกิจของคุณทำรายได้จำนวนมากให้กับคุณ ซึ่งนี่อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณกังวลใจเพราะถ้าหากว่ารายได้ยิ่งเยอะมากขึ้นเท่าไหร่นั่นก็เท่ากับว่าเราต้องเสียภาษีมากขึ้นเท่านั้นใช่หรือไม่


จริง ๆ แล้วคงต้องบอกว่ารายได้ทั้งหมดที่เข้ามานั้นไม่ได้ถูกนำไปใช้ในการคำนวณในการจ่ายภาษีออนไลน์เสียทีเดียว เนื่องจากในรายได้นั้นๆ อาจมีธุรกรรมอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย


กรมสรรพากรจะนำข้อมูลการทำธุรกรรม ไปประมวลผลกับข้อมูลอื่นๆ เบื้องต้นสิ่งที่คุณต้องทำ คือเตรียมเอกสารหลักฐานในการรับเงินไว้ให้ชัดเจน


ทั้งการทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบที่มาที่ไปของเงิน เก็บหลักฐานที่เกี่ยวกับการค้าไว้เพื่อเป็นหลักฐานทางธุรกรรมต่างๆ ของเรา


ติดตามข่าวการเงิน เพื่อเลี่ยงการจ่ายภาษีซ้ำซ้อนหรือศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องภาษีเพื่อจะได้มีความรู้ในการจ่ายหรือการขอลดหย่อนภาษีที่ถูกต้อง


บริการรับวางแผนภาษี



ขายของออนไลน์รายได้เท่าไหร่จึงจะเสียภาษี


อย่างที่เราทราบกันดีว่า การเสียภาษีเป็นเรื่องของประชาชนทุกคนที่ “มีรายได้”ถึงเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด ในส่วนของภาษีขายของออนไลน์นั้น


ถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ บุคคลธรรมดา และ เป็นนิติบุคคล นั่นหมายความว่าไม่ว่าคุณจะเป็นพ่อค้าแม่ค้าธรรมดาที่ไม่ได้จดทะเบียนการค้า หรือ เป็นห้างหุ้นส่วนบริษัทที่จดทะเบียนการค้าแล้ว


ถ้าหากว่าคุณมีรายได้ถึงตามเกณฑ์ที่กำหนดคุณก็มีหน้าที่ต้องจ่ายภาษีเช่นกัน การจ่ายภาษีขายของออนไลน์ ทำได้โดยการยื่นภาษี 2 แบบ คือ ภ.ง.ด. 94 และ ภ.ง.ด. 90 ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด ดังนี้

ครั้งที่ 1 ยื่นภาษีครึ่งปี ช่วง ก.ค. – ก.ย.ของทุกปี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. ตามแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 94 ภายในวันที่ 1 ก.ค.-30ก.ย. การยื่นภาษีในรอบนี้เป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรก

ครั้งที่ 2 ยื่นภาษีปลายปี ช่วง ม.ค. – มี.ค. ยื่นภาษีโดยนำเงินได้ทั้งปีมากรอกในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90  ภายในวันที่ 1ม.ค. – 31 มี.ค. ของปีถัดไป การยื่นภาษีในรอบนี้เป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา


" สำหรับสาเหตุของการยื่นภาษี 2 ครั้ง เพื่อช่วยให้การจ่ายภาษี ไม่หนักเกินไปสำหรับผู้มีเงินได้ "


แนะนำอ่าน ยื่นภาษีนิติบุคคล ออนไลน์


วิธีการคำนวณภาษี


การจ่ายภาษีขายของออนไลน์สำหรับบุคคลธรรมดาสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายในการลดหย่อนภาษีได้ 2 แบบ คือแบบหักตามจริง และแบบเหมา60%


สำหรับการหักแบบตามจริงเหมาะสำหรับธุรกิจออนไลน์ที่มีต้นทุนสูงเพราะจะช่วยให้สามารถหักค่าใช้จ่ายได้สูงขึ้นหลังจากการหักค่าใช้จ่ายออกไปแล้ว


เงินได้สุทธิที่นำมาใช้ในการคำนวณภาษีก็จะลดลงตามไปด้วยสำหรับผู้ที่ต้องการใช้วิธีนี้แนะนำให้บันทึกเอกสารหลักฐานทางการเงินไว้ให้ชัดเจนเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ


แบบเหมา 60% เหมาะสำหรับธุรกิจออนไลน์ที่มีผลกำไรเยอะ เพราะการยื่นแบบเหมาจะซับซ้อนน้อยกว่าเนื่องจากไม่ต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายต่อกรมสรรพากร


อีกทั้งยังช่วยให้เราได้ประโยชน์ทางภาษีจากส่วนต่างที่แท้จริงของต้นทุนอีกด้วยโดยวิธีการคำนวณภาษีขายของออนไลน์สามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ


การนำเงินได้ -ค่าใช้จ่าย- ค่าลดหย่อน x อัตราภาษี หรือ การนำเงินได้ x 0.5% สำหรับธุรกิจออนไลน์ที่มีรายได้เกิน 1 ล้านบาทต่อปี การใช้วิธีนี้ค่อนข้างได้ประโยชน์มากกว่าวิธีแรก


สำนักงานบัญชีพีทูพี บริการที่ปรึกษาบัญชีภาษี


สำหรับเจ้าของธุรกิจออนไลน์ที่มีความกังวลใจเรื่องของการยื่นภาษีขายของออนไลน์หรือไม่อยากปวดหัวกับการจัดเตรียมเอกสารและข้อผิดพลาดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้


สำนักงานบัญชีพีทูพี บริการที่ปรึกษาบัญชีภาษีจะช่วยให้เรื่องยากเป็นเรื่องง่าย ด้วยประสบการณ์กว่า 25 ปีเต็ม ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างราบรื่น โปร่งใสและถูกต้องตามกฎหมาย 


จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บุคคลธรรมดา



รับตรวจสอบบัญชี
บริษัท สำนักงานบัญชี พีทูพี จำกัด
โทรศัพท์ :  097 236 2994
ไอดีไลน์ :  p2pacc
www.p2paccounting.com

บทความที่น่าสนใจ