097-2362994
[email protected]
Line
หน้าแรก
บริการของเรา
รับทำบัญชี
รับตรวจสอบบัญชี
รับจดทะเบียนบริษัท
รับวางระบบบัญชี
รับวางแผนภาษี
รับคัดหนังสือรับรอง
โปรแกรมบัญชี Express
บทความ
เกี่ยวกับสำนักงานบัญชีเรา
ติดต่อเรา
3669
views
Line
โดย
สำนักงานบัญชีพีทูพี
เมื่อ
15 ม.ค. 2565
แชร์บนเฟสบุ๊ค
ภพ 30
สรุปภาษีซื้อภาษีขาย
ยื่นสรรพากร
ภ.พ.30
เอกสารที่ธุรกิจจะต้องยื่นส่งกับกรมสรรพากรทุกเดือน ทุกธุรกิจจะต้องทำ
ภ.พ.30
หรือไม่ และทำในกรณีไหน เพื่อให้เห็นภาพ
ลองนึกถึงเวลาที่คุณจ่ายค่าสินค้า ค่าบริการจากบริษัทคู่ค้าหรือไปทานอาหาร ในบิลที่ทางร้านออกให้จะมีการรวมภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไป
แสดงว่าร้านอาหารนั้นยื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับธุรกิจ ซึ่งเอกสาร
ภ.พ.30
คือเอกสารสำคัญที่บริษัทจะต้องยื่นหลังการจดภาษีแล้วนั่นเอง
ภ.พ.30
คืออะไร
คือแบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขายเพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า1.8 ล้านบาทต่อปี
และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้
สนใจปรึกษา ติดต่อ
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
ใครต้องใช้เอกสาร
ภ.พ.30
ธุรกิจไหนที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องมีการยื่นเอกสาร
ภ.พ.30
เสมอซึ่งเป็นเอกสารทางธุรกิจที่บริษัทจะต้องยื่นแก่ทางกรมสรรพากร
ที่ไหนจด
VAT
แล้วก็ต้องยื่นนั่นเองซึ่งก็เป็นสิ่งสำคัญต้องยื่นหลังการจด
VAT
เรียกแบบง่าย ๆ ก็เป็นแบบแสดงภาษีซื้อและภาษีขาย
ที่ทางบริษัทจะต้องแจ้งตลอดซึ่งผู้ที่จะต้องจัดทำเอกสารนี้จะเป็น “เจ้าของธุรกิจ”
ซึ่งมีเงื่อนไขอยู่ว่าธุรกิจนั้นจะต้องมีรายได้มากกว่า1.8 ล้านบาท/ปี และจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (
VAT)
เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จะต้องส่งเอกสาร
ภ.พ.30
ในทุกวันที่15ของเดือนถัดไปจะไปยื่นด้วยตัวเองที่กรมสรรพากรหรือยื่นผ่านออนไลน์ก็ได้ตามแต่สะดวกเลย
ฉะนั้นหากบริษัทเพิ่งเปิดได้ไม่นานและรายได้ยังไม่ถึงตามเกณฑ์ก็ยังไม่ต้องยื่นเอกสารตัวนี้
สำหรับท่านใดที่มีกิจการหลายที่แล้วอยากจะยื่นแบบ
ภ.พ.30
รวมกันและเสียภาษีมูลเพิ่มรวมกันก็ทำได้แต่ว่าจะต้องขออนุมัติ
กับทางกรมสรรพากร
ก่อน พอได้รับการอนุมัติแล้วก็สามารถยื่นแบบและเสียภาษีรวมกันได้เลยซึ่งก็จะได้ยื่นแบบ
ภ.พ.30
เพียงแค่ 1ฉบับเท่านั้นยื่นไปพร้อมกับใบแนบที่ทางกรมสรรพากรกำหนดให้
ภ.พ.30
ประกอบด้วยข้อมูลอะไรบ้าง
ส่วนที่ 1 – จะเป็นการกรอกข้อมูลรายละเอียดของบริษัทข้อมูลเดือน และ ปีที่ยื่นแบบภาษี
ส่วนที่ 2 – จะเป็นการกรอกข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขการคำนวณภาษี เกี่ยวกับยอดขาย ภาษีขาย ยอดซื้อ ภาษีซื้อ ภาษีที่ต้องชำระภาษีที่ชำระเกิน เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม
ส่วนที่ 3 – จะเป็นการกรอกข้อมูลเกี่ยวกับการขอคืนภาษี กรณีที่ผู้ประกอบการต้องการขอคืนภาษีและมีส่วนที่ให้ผู้มีอำนาจของบริษัทเซ็นรับรองแบบ
อ่านบริการ รับเป็นที่ปรึกษาภาษี
ใบแนบอะไรบ้างใช้ในการยื่น
ภ.พ.30
ภาษีซื้อ ภาษีขาย ที่แสดงใน
ภ.พ.30
คืออะไร
1. ภาษีซื้อ (
Input Tax)
เป็นภาษีที่เจ้าของธุรกิจจะต้องจ่ายเมื่อมีการซื้อวัตถุดิบหรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อมาทำเป็นสินค้าหรือบริการ หรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
พอจ่ายไปแล้วจะต้องมีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 %ซึ่งก็ต้องจ่ายให้กับบริษัทที่ขายสินค้าให้เรา ที่เป็นบริการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
ทุกการซื้อของ การใช้จ่ายต่าง ๆส่วนมากเราก็จะต้องได้เสียภาษีไปด้วยอยู่แล้วบางอย่างก็บวกเข้าไปในราคาสินค้าเรียบร้อย
เพราะทางคนขายก็อาจต้องทำบัญชียื่นภาษีและยื่น
ภ.พ. 30
เหมือนกัน หากเราไม่เรียกเก็บจากลูกค้าแล้วใครจะจ่าย 7%ตรงนั้น ปกติก็เป็นภาษีโดยอ้อมที่ลูกค้าต้องจ่ายเป็นปกติ
2. ภาษีขาย (
Output Tax)
สำหรับส่วนนี้จะเป็นการเรียกเก็บภาษี 7%จากลูกค้าที่ซื้อสินค้าและบริการของเรา ซึ่งเราก็จะต้องนำ 7 %ที่ได้มานี้ส่งรัฐนั่นเอง
ซึ่งก็รวมไปถึงการนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการใดก้ตามยกเว้นการเอาไปใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเองหรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
ภาษีตรงนี้เองที่เราต้องยื่นโดยใช้
ภ.พ. 30
เพื่อเป็นการแสดงแบบภาษีซื้อและขายแก่ทางกรมสรรพกรซึ่งจะต้องทำกฎหมายบังคับไว้แล้ว
แต่ว่าบริษัทของคุณก็ต้องเข้าเงื่อนไขว่ามีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปีด้วยนะ มองแบบเข้าใจง่าย ๆ คือ 7%นี้หากสังเกตเวลาเราซื้อของ
ตามห้างร้านต่าง ๆจะมีการรวมและเรียกเก็บไปพร้อมกับค่าสินค้าและบริการด้วยเสมอหากเราเป็นเจ้าของธุรกิจเราเองก็ต้องมีการเสียและเรียกเก็บ
VAT
7% ตรงนี้ด้วยเหมือนกัน
แนะนำอ่าน บริการรับวางระบบบัญชี
ยื่นเอกสาร ภ.พ.30 เมื่อใด
กิจการของคุณมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปีรวมถึงมีการใช้จ่ายในการจัดตั้งธุรกิจใหม่ ก็จะต้องยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ที่กรมสรรพากรในพื้นที่ จากนั้นก็ยื่นแบบ ภ.พ.30 ด้วย และเป็นเอกสารสำคัญที่เจ้าของกิจการต้องยื่นทุกเดือนโดยต้องยื่นก่อนวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
เวลาจะไปยื่นเอกสาร ภ.พ.30ที่สรรพากร หรือ ยื่นผ่านระบบออนไลน์ จะต้องมีใบกำกับภาษีใช้ในการอ้างอิงด้วย
ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเอกสารที่จะต้องมีและทำให้ถูกต้องชัดเจน ฉะนั้นแล้วทุกขั้นตอนจะต้องใส่ใจในการทำโดยละเอียด
ยื่นแบบ ภ.พ.30 อย่างไรที่ไหน
ให้ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มยื่นแบบ
ภ.พ.30
พร้อมกับชำระภาษี (ถ้ามี) เป็นรายเดือนภาษีทุกเดือน
ไม่ว่าจะได้ขายสินค้าหรือให้บริการ ในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตามภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ณ สภานที่ดังต่อไปนี้
1.ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ
1.1สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
1.2 สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1-5สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ต้องเสียทั้งภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ
2.1 สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
2.2 สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ ท้องที่ที่โรงงานอุตสาหกรรม หรือ สถานบริการตั้งอยู่สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้า หรือให้บริการที่ต้องเสียทั้งภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม
อ่านบริการรับตรวจสอบบัญชี
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจำเป็นไหม
ผู้ที่ต้องยื่นเอกสาร
ภ.พ.30
จะต้องเป็นกิจการที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี
หากไม่แน่ใจว่ากิจการจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไหมให้ลองตรวจสอบเงื่อนไขต่อไปนี้
1.กิจการมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีไหม
รายได้เฉลี่ยออกมาแต่ละเดือนอยู่ที่ 150,000 บาทรายได้นี้มาจากยอดขายที่เกิดขึ้นจริง ที่ไม่ใช่กำไรหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วพอรายได้เกินแล้วจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน และยื่นเอกสาร ภ.พ.30
2.ธุรกิจมี
Vat
เป็นต้นทุนหรือไม่
หากธุรกิจของคุณเป็นแบบซื้อมาขายไป หรือเป็นธุรกิจที่มีสินค้าต้นทาง มีการคิด
Vat
ก็จำเป็นต้องมี
Vat
ด้วยเป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษี จะทำให้ลดต้นทุนของธุรกิจเราไปได้
3.ธุรกิจได้รับการยกเว้นภาษีหรือไม่
จะได้รับการยกเว้นภาษีจะต้องเป็นกิจการที่มีรายได้ไม่เกิน1.8 ล้านบาท/ปี คิดจากยอดขายสินค้า หรือบริการที่เรียกเก็บจากลูกค้า
เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการเกษตรภายในประเทศ (คำสั่งกรมสรรพากร ป.28/2535ฯ)ค้าขายสัตว์ทั้งมีและไม่มีชีวิตในประเทศ(คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.29/2535ฯ)
โรคพืชและสัตว์การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ และการให้บริการรักาพยาบาลทั้งแบบรัฐบาลและเอกชน แต่เพื่อให้แน่ใจควรตรวจสอบกับสรรพากรอีกครั้ง
4.ผู้ใช้บริการธุรกิจเราเข้าระบบ
Vat
หรือไม่
ต้องตรวจสอบว่าลูกค้าที่มาใช้บริการและซื้อสินค้าอยู่ในระบบ
Vat
หรือไม่ หากใช่ ก็ควรจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแม้รายได้จะไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปีก็จดได้
เพราะทางฝั่งลูกค้าที่เป็นบริษัท มีการยื่นภาษีมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และอาจจะต้องมีการยื่นเอกสาร ภ.พ.30 ด้วย
เวลาซื้อของก็ต้องซื้อกับร้านที่ออกใบกำกับภาษีให้ได้ ถ้าไม่มีก็นำไปทำบัญชีและภาษีต่อไม่ได้ฉะนั้นถ้าไม่อยากเสียลูกค้าควรจดไว้ไม่เสียหาย
เอกสาร
ภ.พ.30
คนที่จะต้องยื่นคือเจ้าของกิจการ หรือเจ้าของบริษัทซึ่งกิจการจะต้องมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีรายได้ต่อปีของกิจการเกิน 1.8ล้านบาท
หากไม่เกินก็ยื่นภาษีอย่างเดียวไม่ต้องมีใบ
ภ.พ.30
และหากต้องยื่นเอกสารนี้ต่อสรรพากรจะต้องยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
และ ยื่นทุกเดือนเพื่อเป็นการแสดงแบบภาษีซื้อ และ ภาษีขายของกิจการที่ถูกต้อง
สนใจปรึกษา ติดต่อ
โทรศัพท์ :
097 236 2994
Add Line :
p2pacc
แนะนำอ่าน บริการรับทำบัญชี ราคาประหยัด
บริการรับจดทะเบียนบริษัท
บริษัท สำนักงานบัญชี พีทูพี จำกัด
โทรศัพท์ : 097 236 2994
ไอดีไลน์ : p
2
pacc
p2paccounting.com
แชร์บนเฟสบุ๊ค
บทความที่น่าสนใจ
รับจดทะเบียนการค้า ร้านค้าออนไลน์
จดทะเบียนเลิกบริษัท ปิดบริษัท ชำระบัญชี
ภ.ง.ด.51 ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี
ตรวจสอบภาษี เช็ครายได้ผ่าน My Tax Account
รับทำบัญชี นนทบุรี
จ่ายภาษีเงินได้ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
รับสอนบัญชี
บริการ Training พนักงานบัญชี ฝึกอบรมทำบัญชี เพิ่มความรู้บัญชีภาษี
ตรวจนับสินค้าคงเหลือ นับสต๊อกสินค้า
รับทำบัญชี Shopee Lazada tiktok shop ขายออนไลน์
สรรพากรเรียกพบ แก้ไขได้อย่าเลี่ยงหนี
การควบคุมเงินสดย่อย
รับจดทะเบียนบริษัท ยุคโควิด 19
ภพ 30 ต้องแนบแบบไหน ให้สรรพากร
เตรียมเอกสารจัดตั้งบริษัท