views

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

     

ใครบ้างต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

    1.ผู้ประกอบการธุรกิจที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน

     2.ผู้ประกอบธุรกิจที่ขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีแผนงานหรือ ได้มีการดำเนินการและเตรียมการประกอบกิจการ ที่ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับบริการอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงานหรือการติดตั้งเครื่องจักรให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนด 6เดือน ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ

     3.ผู้ประกอบการอยู่นอกประเทศและได้ขายสินค้าหรือให้บริการในในประเทศ โดยมีตัวแทน อยู่ในราชอาณาจักรให้ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

สนใจปรึกษา ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc

 ดูรายละเอียดบริการรับวางแผนภาษี กดที่นี่

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ( Value Added Tax หรือVAT)

    หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แวตเป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ

โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นผลิตการจำหน่ายหรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น

สมมติว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา 100 บาท และมีภาษีซื้อ 10บาท

เมื่อผลิตเป็นสินค้าขายในราคา 150 บาท ตอนขายไปจะต้องคิดภาษีขาย 15บาท ดังนี้ ก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

เฉพาะผลต่างจำนวน 15-10 = 5บาท เท่านั้น ถ้าการซื้อ และขายเกิดขึ้นภายในรอบการจ่ายภาษีเดียวกัน


  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กดที่นี่



หน้าที่เกิดเมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

    เมื่อกิจการได้ทำการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วก็จะมีหน้าที่ จัดทำรายงานภาษี ต่างๆ รวมถึง ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

ต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30เอกสารแนบแบบฟอร์ม คือ รายงานภาษีซื้อรายงานภาษีขาย ของเดือนซึ่งรวบรวมมาจากใบกำกับภาษี

จากการซื้อ และ การขายสินค้าหรือให้บริการของกิจการ ใบกำกับภาษี ที่จะนำมาใช้สำหรับใช้สิทธิในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

มีข้อกำหนดว่าต้องเป็น ใบกำกับภาษี เต็มรูปแบบและหากเป็นภาษีซื้อ ต้องเป็นรายจ่ายที่ เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยเฉพาะเท่านั้น

หากเป็นรายจ่ายส่วนตัวไม่สามารถนำมาใช้สิทธิ์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ รวมถึงรายการภาษีซื้อ ต้องห้ามต่าง ๆ ด้วย ในส่วนของ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม นี้หากยื่นแบบผิดหรือยื่นภาษีขาดไป ผลที่จะตามมาคือ เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม โทษคือเบี้ยปรับ 2เท่า

ของจำนวน ภาษีที่ต้องชำระในเดือนนั้น และเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5ต่อเดือน


 ปรึกษาสำนักงานบัญชี พีทูพี  กดที่นี่

ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.  ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน1.8 ล้านบาทต่อปี

2.  ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

3.   ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร

4.  ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราวทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์

วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 43)ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม พ . ศ . 2536

5.  ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร

 

สนใจปรึกษา ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc

 

ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี 

    เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ0 หรือ อัตราร้อยละ 7.0เท่านั้น

ที่มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อสำหรับกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อแต่อย่างใด     

 

ผู้ประกอบการจดทะเบียนออกใบกำกับภาษี

    จะต้องมีองค์ประกอบคือเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้มีการขาย   สินค้าหรือให้บริการแก่ผู้ซื้อสินค้า

หรือผู้รับบริการนั้นๆโดยต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้นจะออกให้บุคคลอื่นไม่ได้   

 

การวางระบบบัญชี ภาษีมูลค่าเพิ่ม

    เป็นการจัดการในขั้นตอนของ “วางระบบบัญชี”ภาษีการขายที่จัดเก็บจากมูลค่าของสินค้า หรือบริการเฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอน

จากการจำหน่ายสินค้า หรือบริการ เป็นภาษีที่ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการคนสุดท้าย  เป็นผู้รับภาระแต่การจัดการหรือการ “วางระบบบัญชี”

จัดเก็บจะเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการในแต่ละขั้นตอนของการจำหน่าย หรือให้บริการเป็นผู้เรียกเก็บภาษีจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ

เพื่อการนำส่งแก่กรมสรรพากรต่อไป การประกอบกิจการมีรายรับเกินกว่า 1,800,000บาท ต่อปี

ผู้ประกอบกิจการจะต้องมีหน้าที่จดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม


ดูละเอียดบริการรับวางระบบบัญชีเพิ่มเติม กดที่นี่


ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่า

เพิ่มต้องทำการ “วางระบบบัญชี” เพื่อคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะต้องชำระ หรือมีสิทธิได้รับคืน โดยการคำนวณจะทำเป็น รายเดือน

ภาษีมูลค่าเพิ่มคือการนำภาษีขายลบด้วยภาษีซื้อ ส่วนต่างที่เกิดขึ้น ถ้ากรณีภาษีขาย มากกว่าภาษีซื้อ ผู้ประกอบการ

จะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือถ้ากรณีภาษีขายน้อยกว่าภาษีซื้อ ผู้ประกอบการจะได้มีสิทธิได้รับคืนหรือได้เครดิตภาษี

  

ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

    จะเป็นไปตามหลักฐานเอกสารที่เกิดขึ้นในระหว่างเดือนภาษี  เอกสารที่ใช้ประกอบการคำนวณหรือ “วางระบบบัญชี”

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ  ใบกำกับภาษี คือเอกสารที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ใช้บริการ

ในการขายสินค้าหรือให้บริการทุกครั้งและต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นใบกำกับภาษี

แบ่งได้เป็น 2ประเภท

1.  ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

2.  ใบกำกับภาษีอย่างย่อ

 สาระสำคัญของใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

1. ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบกำกับภาษี
2. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ
3. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีและลำดับของเล่ม
4. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณและมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
5. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
6. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
7. ข้อความอื่นตามที่อธิบดีกำหนด

 

กำหนดเวลายื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

(1)   ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องยื่นแบบภ.พ.30 พร้อมชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี)เป็นรายเดือนทุกเดือนภาษี ไม่ว่าจะมีการขายสินค้า

หรือให้บริการในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตามโดยให้ยื่นแบบภายในวันที่ 15ของเดือนถัดไปในกรณีผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง

ให้แยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการเว้นแต่ได้ยื่นคำร้องขออนุมัติยื่นแบบแสดงรายการภาษี

และชำระภาษีรวมกัน (ภ.พ.02)เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว ก็สามารถยื่นแบบ ภ.พ.30รวมกันได้

ตั้งแต่เดือนภาษีที่อธิบดีกำหนดเป็นต้นไป


(2)   การนำเข้าสินค้าผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้นำเข้าต้องยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม

พร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรณ ด่านศุลกากรที่มีการนำเข้าสินค้า


(3)   ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีผู้ประกอบการที่ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร

หรือผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 7วัน

นับแต่วันที่จ่ายเงินหรือวันรับเงินจากการขายทอดตลาดแล้วแต่กรณีปัจจุบันได้มีประกาศกระทรวงการคลังขยายกำหนดเวลา

การนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยให้นำส่งภายใน7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน

หรือผู้ประกอบการ และยื่นรายการ แล้วแต่กรณี


(4)   กรณีผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0ให้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30วัน

นับแต่วันความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นปัจจุบันได้มีประกาศกระทรวงการคลังขยายกำหนดเวลาการนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดยให้นำส่งและยื่นรายการภายใน7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ครบกำหนด 30วันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น


(5)   กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนไม่ว่าการคลาดเคลื่อนนั้นจะเป็นเหตุ

ให้จำนวนภาษีในเดือนภาษีเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ก็ตามจะยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มเติมได้อีกพร้อมกับชำระภาษี (ถ้ามี)

ให้ถูกต้องครบถ้วน ณ หน่วยงานที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อน

 

ภาษีซื้อภาษีขาย

ภาษีขายคือ

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้บริการเมื่อได้ขายสินค้าหรือให้บริการ

หากภาษีขายเกิดขึ้นในเดือนใดก็เป็นภาษีขายของเดือนนั้น โดยไม่คำนึงว่าสินค้าที่ขายหรือบริการจะซื้อมา หรือเป็นผลมาจากผลิตในเดือนใดก็ตาม

ภาษีซื้อคือ

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้แระกอบการจดทะเบียนได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ขายบริการที่เป็นประกอบการจดทะเบียนอื่น

เมื่อซื้อสินค้าหรือรับบริการที่เพื่อใช้ในกิจการของตนทั้งที่เป็นวัตถุดิบหรือสินค้าประเภทเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ เป็นต้น

หากภาษีซื้อเกิดขึ้นในเดือนใดก็เป็นภาษีซื้อเดือนนั้น โดยไม่คำนึ่งว่าสินค้าที่ซื้อนั้นจะขายหรือนำไปใช้ในการผลิตเดือนใดก็ตาม

ถ้า ภาษีขาย มากว่า ภาษีซื้อ กิจการต้องชำระภาษีเพิ่ม ถ้า ภาษีขาย น้อยกว่าภาษีซื้อ กิจการสามารถขอคืนภาษีได้

 ดูรายละเอียดบริการรับทำบัญชีเพิ่มเติม กดที่นี่

แบบรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม

(1) แบบ ภ.พ.01แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

(2) แบบ ภ.พ.02แบบคำขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกัน

(3) แบบ ภ.พ.02.1แบบคำขอยกเลิกการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกัน

(4) แบบ ภ.พ.04แบบคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

(5) แบบ ภ.พ.08แบบคำขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

(6) แบบ ภ.พ.09แบบคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

(7) แบบ ภ.พ. 30ใช้สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

จากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษีกรณีเดือนภาษีใดมีจำนวนภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย

ผู้ประกอบการจะได้รับคืนภาษี และสามารถใช้แบบภ.พ. 30 นี้เป็นคำขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

(8) แบบ ภ.พ.30.2แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามส่วน ของรายได้

(9) แบบ ภ.พ.30.3แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามส่วนของการใช้พื้นที่อาคาร

(10) แบบใบขนสินค้าขาเข้าใช้สำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นผู้นำเข้าไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม

ผู้นำเข้าต้องชำระภาษีพร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร

(11) แบบ ภ.พ.36ใช้สำหรับผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม

    ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคที่เป็นผู้ซื้อสินค้าทั้งที่ผลิตในประเทศและต่างประเทศหรือเป็นผู้ได้รับบริการคนสุดท้าย 

ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ผู้บริโภคคนสุดท้ายจะจ่ายภาษีซื้อ 7%ในตอนซื้อสินค้า  และเรียกเก็บภาษีขาย 7%ในตอนขายสินค้า

เมื่อสิ้นเดือนจะนำภาษีซื้อและภาษีขายมาหักลบกัน  ผลต่าง หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายจะเป็นลูกหนี้-สรรพากร 

หรือ  ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อจะเป็น  เจ้าหนี้-สรรพากร

 

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายแต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้

1.  ผู้ประกอบกิจการขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์

ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน ฯลฯ

2.  ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน1.8 ล้านบาทต่อปี

3.  การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยอากาศยาน

4.  การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

5.  การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

สนใจปรึกษา ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc

บทความที่น่าสนใจ