views

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

     

ใครบ้างต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1. ผู้ประกอบการธุรกิจที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน


2. ผู้ประกอบธุรกิจที่ขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีแผนงานหรือ ได้มีการดำเนินการและเตรียมการประกอบกิจการ ที่ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับบริการอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม


เช่น การก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงานหรือการติดตั้งเครื่องจักรให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนด 6เดือน ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ


3. ผู้ประกอบการอยู่นอกประเทศและได้ขายสินค้าหรือให้บริการในในประเทศ โดยมีตัวแทน อยู่ในราชอาณาจักรให้ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม


ภาษีมูลค่าเพิ่ม ( Value Added Tax หรือVAT)

หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แวต เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นผลิตการจำหน่ายหรือการให้บริการ


ตัวอย่างเช่น สมมติว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10 ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา 100 บาท และมีภาษีซื้อ 10 บาท เมื่อผลิตเป็นสินค้าขายในราคา 150 บาท ตอนขายไปจะต้องคิดภาษีขาย 15บาท ดังนี้ ก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เฉพาะผลต่างจำนวน 15-10 = 5 บาท เท่านั้น ถ้าการซื้อ และขายเกิดขึ้นภายในรอบการจ่ายภาษีเดียวกัน


ปรึกษางานภาษี ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กดที่นี่


หน้าที่เกิดเมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

เมื่อกิจการได้ทำการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วก็จะมีหน้าที่ จัดทำรายงานภาษี ต่างๆ รวมถึง ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30 เอกสารแนบแบบฟอร์ม คือ รายงานภาษีซื้อรายงานภาษีขาย ของเดือน


ซึ่งรวบรวมมาจากใบกำกับภาษีจากการซื้อ และ การขายสินค้าหรือให้บริการของกิจการ ใบกำกับภาษี ที่จะนำมาใช้สำหรับใช้สิทธิในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมีข้อกำหนดว่าต้องเป็น ใบกำกับภาษี เต็มรูปแบบ


และหากเป็นภาษีซื้อ ต้องเป็นรายจ่ายที่ เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยเฉพาะเท่านั้นหากเป็นรายจ่ายส่วนตัวไม่สามารถนำมาใช้สิทธิ์ ภาษีมูลค่าเพิ่มได้รวมถึงรายการภาษีซื้อ ต้องห้ามต่าง ๆ ด้วย


ในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่ม นี้หากยื่นแบบผิดหรือยื่นภาษีขาดไป ผลที่จะตามมาคือ เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม โทษคือเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวน ภาษีที่ต้องชำระในเดือนนั้น และเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน


ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1. ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี


2. ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย


3. ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร


4. ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราวทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์

วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 43) ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2536


5. ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร


ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี 

เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 หรือ อัตราร้อยละ 7.0 เท่านั้นที่มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อสำหรับกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อแต่อย่างใด     

 

ผู้ประกอบการจดทะเบียนออกใบกำกับภาษี

จะต้องมีองค์ประกอบคือ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้มีการขายสินค้า หรือให้บริการแก่ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการนั้น ๆ โดยต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการนั้น จะออกให้บุคคลอื่นไม่ได้


ปรึกษางานภาษี ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


   ดูรายละเอียดบริการรับวางแผนภาษี กดที่นี่

 

การวางระบบบัญชี ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ป็นการจัดการในขั้นตอนของ “วางระบบบัญชี”ภาษีการขายที่จัดเก็บจากมูลค่าของสินค้า หรือบริการเฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอน จากการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ เป็นภาษีที่ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการคนสุดท้าย 


เป็นผู้รับภาระแต่การจัดการหรือการ “วางระบบบัญชี” จัดเก็บจะเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการในแต่ละขั้นตอนของการจำหน่าย หรือให้บริการเป็นผู้เรียกเก็บภาษีจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ


เพื่อการนำส่งแก่กรมสรรพากรต่อไป การประกอบกิจการมีรายรับเกินกว่า 1,800,000 บาท ต่อปี ผู้ประกอบกิจการจะต้องมีหน้าที่จดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม


ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่า

เพิ่มต้องทำการ “วางระบบบัญชี” เพื่อคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะต้องชำระ หรือมีสิทธิได้รับคืน โดยการคำนวณจะทำเป็น รายเดือนภาษีมูลค่าเพิ่มคือการนำภาษีขายลบด้วยภาษีซื้อ ส่วนต่างที่เกิดขึ้น


ถ้ากรณีภาษีขาย มากกว่าภาษีซื้อ ผู้ประกอบการ จะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือถ้ากรณีภาษีขายน้อยกว่าภาษีซื้อ ผู้ประกอบการจะได้มีสิทธิได้รับคืนหรือได้เครดิตภาษี

  

ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

จะเป็นไปตามหลักฐานเอกสารที่เกิดขึ้นในระหว่างเดือนภาษี  เอกสารที่ใช้ประกอบการคำนวณหรือ “วางระบบบัญชี” ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ  ใบกำกับภาษี คือเอกสารที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน


ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ใช้บริการ ในการขายสินค้าหรือให้บริการทุกครั้งและต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นใบกำกับภาษี


ใบกำกับภาษีแบ่งได้เป็น 2 ประเภท

1. ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป


2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ


สาระสำคัญของใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

1. ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบกำกับภาษี


2. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ


3. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีและลำดับของเล่ม


4. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณและมูลค่าของสินค้าหรือบริการ


5. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ


6. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี


7. ข้อความอื่นตามที่อธิบดีกำหนด

 

กำหนดเวลายื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องยื่นแบบภ.พ.30 พร้อมชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี)เป็นรายเดือนทุกเดือนภาษี ไม่ว่าจะมีการขายสินค้าหรือให้บริการในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตามโดยให้ยื่นแบบภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป


ในกรณีผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่งให้แยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการเว้นแต่ได้ยื่นคำร้องขออนุมัติยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกัน (ภ.พ.02)


เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว ก็สามารถยื่นแบบ ภ.พ.30 รวมกันได้ ตั้งแต่เดือนภาษีที่อธิบดีกำหนดเป็นต้นไป


(2) การนำเข้าสินค้าผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้นำเข้าต้องยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรณ ด่านศุลกากรที่มีการนำเข้าสินค้า


(3) ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีผู้ประกอบการที่ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรหรือผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 7 วัน


นับแต่วันที่จ่ายเงินหรือวันรับเงินจากการขายทอดตลาดแล้วแต่กรณีปัจจุบันได้มีประกาศกระทรวงการคลังขยายกำหนดเวลาการนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยให้นำส่งภายใน7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้ประกอบการ และยื่นรายการ แล้วแต่กรณี


(4) กรณีผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0ให้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30วันนับแต่วันความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น


ปัจจุบันได้มีประกาศกระทรวงการคลังขยายกำหนดเวลาการนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยให้นำส่งและยื่นรายการภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ครบกำหนด 30วันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น


(5) กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนไม่ว่าการคลาดเคลื่อนนั้นจะเป็นเหตุให้จำนวนภาษีในเดือนภาษีเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ก็ตาม


จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มเติมได้อีกพร้อมกับชำระภาษี (ถ้ามี) ให้ถูกต้องครบถ้วน ณ หน่วยงานที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อน


ปรึกษางานภาษี ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


  ดูบริการรับวางระบบบัญชี กดที่นี่


ภาษีซื้อภาษีขาย

ภาษีขาย คือภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้บริการเมื่อได้ขายสินค้าหรือให้บริการหากภาษีขายเกิดขึ้นในเดือนใดก็เป็นภาษีขายของเดือนนั้น โดยไม่คำนึงว่าสินค้าที่ขายหรือบริการจะซื้อมา หรือเป็นผลมาจากผลิตในเดือนใดก็ตาม


ภาษีซื้อ คือภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ขายบริการที่เป็นประกอบการจดทะเบียนอื่นเมื่อซื้อสินค้าหรือรับบริการที่เพื่อใช้ในกิจการของตนทั้งที่เป็นวัตถุดิบหรือสินค้าประเภทเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ เป็นต้น


หากภาษีซื้อเกิดขึ้นในเดือนใดก็เป็นภาษีซื้อเดือนนั้น โดยไม่คำนึ่งว่าสินค้าที่ซื้อนั้นจะขายหรือนำไปใช้ในการผลิตเดือนใดก็ตามถ้า ภาษีขาย มากว่า ภาษีซื้อ กิจการต้องชำระภาษีเพิ่ม ถ้า ภาษีขาย น้อยกว่าภาษีซื้อ กิจการสามารถขอคืนภาษีได้



แบบรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม

(1) แบบ ภ.พ.01 แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม


(2) แบบ ภ.พ.02 แบบคำขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกัน


(3) แบบ ภ.พ.02.1 แบบคำขอยกเลิกการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกัน


(4) แบบ ภ.พ.04 แบบคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม


(5) แบบ ภ.พ.08 แบบคำขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม


(6) แบบ ภ.พ.09 แบบคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม


(7) แบบ ภ.พ. 30 ใช้สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษีกรณีเดือนภาษีใดมีจำนวนภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายผู้ประกอบการจะได้รับคืนภาษี และสามารถใช้แบบภ.พ. 30 นี้เป็นคำขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม


(8) แบบ ภ.พ.30.2 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามส่วน ของรายได้


(9) แบบ ภ.พ.30.3 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามส่วนของการใช้พื้นที่อาคาร


(10) แบบใบขนสินค้าขาเข้าใช้สำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นผู้นำเข้าไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม

ผู้นำเข้าต้องชำระภาษีพร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร


(11) แบบ ภ.พ.36ใช้สำหรับผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม


ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคที่เป็นผู้ซื้อสินค้าทั้งที่ผลิตในประเทศและต่างประเทศหรือเป็นผู้ได้รับบริการคนสุดท้าย ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ผู้บริโภคคนสุดท้ายจะจ่ายภาษีซื้อ  7% ในตอนซื้อสินค้า 


และเรียกเก็บภาษีขาย 7% ในตอนขายสินค้า เมื่อสิ้นเดือนจะนำภาษีซื้อและภาษีขายมาหักลบกัน  ผลต่าง หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายจะเป็นลูกหนี้-สรรพากร หรือภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อจะเป็นเจ้าหนี้-สรรพากร

 

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายแต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้

1. ผู้ประกอบกิจการขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน ฯลฯ


2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน1.8 ล้านบาทต่อปี


3. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยอากาศยาน


4.  การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย


5.  การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร


ปรึกษางานภาษี ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


  ดูบริการรับทำบัญชีเพิ่มเติม กดที่นี่

บทความที่น่าสนใจ