รับปิดงบการเงิน ปิดบัญชีงบเปล่า
จากการทำบัญชีแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่จะตามมาและมีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือ “การปิดงบการเงิน” นั่นเอง เนื่องจากการปิดงบการเงินเป็นตัวบ่งบอก
ผลสรุปการบริหารจัดการในบริษัท เป็นไปในทิศทางอย่างไร เรียบร้อยและโปร่งใส หรือไม่ ดังนั้นนอกจากการทำบัญชีแล้ว
ควรจะต้องมีการปิดงบการเงินในแต่ละรอบบัญชีอีกด้วย เพื่อให้ทราบผลสรุปสุดท้าย ของการจัดการด้านบัญชีภาษีที่ผ่านมามีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือไม่
และช่วยให้การตรวจสอบข้อมูลภายในได้ภายหลัง เป็นไปอย่างง่ายสะดวกต่อการรายงานต่อผู้บริหารมากยิ่งขึ้น ฉนั้นเพื่อให้ธุรกิจของท่าน
ดำเนินไปอย่างราบรื่น ขอแนะนำให้ท่านมองหาบริการ “รับปิดงบการเงิน ตลอดไปจนถึง ปิดบัญชีงบเปล่า” เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการธุรกิจท่าน
ทราบข้อมูลของผลการดำเนินงานของกิจการในทุกด้านทุกมิติเพื่อการปรังปรุงและแก้ไขพัฒนา ดังคำพูดที่ว่า “ รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ”
งบการเงิน การปิดงบการเงิน และบัญชีงบเปล่า คืออะไร ?
งบการเงิน คือ บันทึกหรือรายการเดินบัญชี ที่แสดงถึงรายละเอียดต่าง ๆ ทางการเงิน ทั้งสถานะทางการเงิน ผลการดำเนินการ
ว่าในแต่ละปีนั้นบริษัททำผลกำไรได้มากแค่ไหนหรือขาดทุนมากน้อยเท่าไหร่ ตลอดจนรายชื่อผู้ถือหุ้นและข้อมูลด้านการเงินด้านอื่น ๆ อีกมากมาย
โดยที่งบการเงินในแต่ละปีนั้น จะแสดงให้เห็นถึงทิศทางในธุรกิจของคุณ ว่าจะไปต่อในทิศทางไหน เพื่อให้คุณสามารถวางแผน
ในการขยับขยายในอนาคตต่อไปได้ ตลอดจนเพื่อวางแผนในการแก้ปัญหาให้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
การปิดบัญชีจะช่วยให้คุณทราบถึงทิศทางของบริษัทได้มากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของผลประกอบการและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อจัดส่งรายละเอียด
ต่อไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร ทั้งนี้การปิดงบการเงินถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีข้อบทกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจน
โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสภาพธุรกิจ ซึ่งจะไม่มีการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการดำเนินการทางธุรกรรมเพื่อซื้อหรือขายแต่อย่างใด
อ่านบริการรับตรวจสอบบัญชี
" สำนักงานบัญชีที่ บริการรับปิดงบการเงิน ปิดบัญชีงบเปล่า จะช่วยจัดการ ดูแลดำเนินการในทุกขั้นตอน ของการปิดงบการเงิน ให้กับบริษัทของท่านในแต่ละปี "
วัตถุประสงค์ในการปิดงบการเงิน
นอกจากการปิดงบการเงินจะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมด้านการเงินในบริษัทของคุณได้มากขึ้นแล้วนั้น การปิดงบการเงินยังมีวัตถุประสงค์
ในการนำส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร เพื่อใช้ในการตรวจสอบบัญชี
ของบริษัทให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งยังต้องใช้เพื่อนำเสนอในการประชุมผู้ถือหุ้นอีกด้วย
อ่านบริการรับทำบัญชี ราคาประหยัด
ประโยชน์ของการปิดงบการเงิน
ทราบถึงผลการดำเนินงาน
ถ้าจะให้พูดถึงประโยชน์ของการปิดงบการเงินนั้น ก็คงต้องบอกว่ามีอยู่หลายข้อเลยทีเดียว ทั้งเพื่อให้เจ้าของธุรกิจได้เห็นรายละเอียดข้อมูลสถานะ
ทางการเงินของบริษัท ทั้งผลกำไร ขาดทุน ต้นทุนการผลิต หนี้สินบริษัท งบการตลาด และสารพัดค่าใช้จ่ายอีกมากมาย
ซึ่งนอกจากเจ้าของธุรกิจจะสามารถนำข้อมูลในส่วนนี้มาใช้ในการตรวจสอบเพื่อลดการทุจริต และเพื่อดำเนินธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ แล้วนั้น
ยังสามารถที่จะนำไปเพื่อใช้ในการวางแผนขยายกิจการในอนาคตได้อีกด้วย นอกจากนี้แล้วการที่บริษัทได้เห็นภาพรวมการเงินแบบนี้
จะช่วยให้บริษัทสามารถที่จะตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้ เมื่อต้นทุนลดลง ธุรกิจก็จะสามารถทำกำไรได้มากขึ้นนั่นเอง
ดำเนินการตามกฎหมาย
นอกจากจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทในแง่ของการดำเนินธุรกิจแล้วนั้น ในแง่ของทางกฎหมายการที่บริษัทมีขั้นตอนการทำบัญชี
รวมไปถึงการปิดงบการเงินที่สมบูรณ์นั้น จะช่วยให้บริษัทสามารถที่จะนำส่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ให้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย
หากว่าคุณมีความกังวลในส่วนนี้ ว่าจะสามารถดำเนินการเพื่อประโยชน์ของบริษัทได้หรือไม่นั้น การมองหา สำนักงานบัญชีดี ๆ สักที่
ที่มีบริการ “รับปิดงบการเงิน ปิดบัญชีงบเปล่า” ให้เข้ามาดูแลในส่วนนี้แทนจะช่วยสร้างความอุ่นใจให้คุณได้อย่างแน่นอน
แนะนำอ่าน บริการรับวางระบบบัญชี
หากไม่ปิดงบการเงิน จะมีผลอย่างไร ?
เมื่อทราบถึงประโยชน์ของการปิดงบการเงินแล้ว ลองมาดูกันต่อว่าหากธุรกิจของคุณไม่ได้มีการดำเนินการดังกล่าว หรือดำเนินการอย่างผิดพลาด จะทำให้บริษัทของคุณมีความเสี่ยง และผลเสียอย่างไรบ้าง
อย่างที่เราทราบกันดีว่าการปิดงบการเงินนั้น มีส่วนของข้อบทกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย นั่นหมายความว่าหากคุณไม่ได้ดำเนินการตามที่กฎหมายระบุไว้
หรือหากมีข้อผิดพลาดใด ๆ ก็คงต้องมีในส่วนของข้อลงโทษหรือค่าปรับเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างแน่นอน ตาม พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543
ได้กำหนดข้อปฏิบัติตลอดจนข้อลงโทษอยู่มากมายหลายข้อ โดยมีตั้งแต่บทลงโทษสถานเบาไปจนถึงสถานหนัก ตั้งแต่การปรับไม่เกินวันละ 500 บาท
ไปจนถึงจำคุกไม่เกิน 1 ปีเลยทีเดียว เช่น หากไม่จัดให้มีการจัดทำบัญชีในธุรกิจ ตามเวลาที่กำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท
พร้อมทั้งปรับเงินรายวันอีกไม่เกินวันละ 1,000 บาท หรือหากมีการแจ้งข้อมูลเท็จ ของบัญชีหรือเอกสารต่าง ๆ ที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายและเสียหาย
มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ในฐานะของผู้ทำบัญชีเอง
ถ้าหากว่าผู้ทำบัญชี ไม่จัดทำบัญชีให้ถูกต้อง หรือให้ข้อมูลที่ครบถ้วนตามความ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท เป็นต้น
โดยนอกจากจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของบริษัทในกรณีที่ได้รับบทลงโทษแล้วนั้น ยังส่งผลถึงชื่อเสียงและอนาคตของบริษัทได้อีกด้วย
ฉะนั้น การจ้างบริการรับปิดงบการเงิน ปิดบัญชีงบเปล่าของสำนักงานบัญชี จึงถือเป็นการใช้จ่ายในการลงทุนที่คุ้มค่า
เมื่อเทียบกับผลเสียที่อาจตามมาจากข้อผิดพลาดในการปิดงบการเงิน
อ่านบริการ รับเป็นที่ปรึกษาภาษี
ระยะเวลาในการปิดงบการเงิน
รอบระยะเวลาในการปิดงบการเงิน หมายถึง รอบระยะเวลาของการสรุปบันทึกรายการธุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งระยะรอบอาจแตกต่างกันออกไป
แต่จะต้องไม่เกิน 1 ปี เช่น หากนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม หากนับกำหนดตามรอบระยะเวลาบัญชี 1 ปี ปฏิทิน จะนับไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม เป็นต้น
โดยจะต้องทำการปิดงบการเงิน ภายใน 150 วัน เพื่อนำส่งเอกสารไปที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสรรพากร นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
ข้อแนะนำในการปิดงบการเงินนั้น ควรปิดให้ตรงกับรอบปีปฏิทิน หรือก็คือสิ้นเดือนธันวาคมนั่นเอง เนื่องจากสิ้นเดือนธันวาคมหรือวันที่ 31 ธันวาคมนั้น
ก็คือเดือนสุดท้ายในแต่ละปี ซึ่งการปิดงบการเงินในเดือนสุดท้ายของสิ้นปีจะช่วยให้ง่ายต่อการบริหารจัดการมากขึ้น เนื่องจากง่ายต่อการจดจำ
อีกทั้งยังเป็นเดือนที่ตรงกับรอบของกรมสรรพากรอีกด้วย นอกจากนี้เมื่อเลือกปิดงบการเงินวันใดแล้ว ควรปิดในวันเดียวกันทุกปี
ทั้งเพื่อความง่ายในการดำเนินการ อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องตามข้อกำหนดที่กล่าวไว้ว่า ตั้งแต่วันที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเริ่มก่อตั้ง
จนถึงวันใดก็ได้ในส่วนของรอบระยะบัญชีแรก (กรณีนี้รอบระยะเวลาน้อยกว่า 12 เดือนได้) แต่หลังจากนั้นต้องเป็นรอบระยะเวลา 12 เดือน
ตามที่บทบัญญัติมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดไว้ว่า รอบระยะเวลาบัญชี ที่ใช้สำหรับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
จะต้องเท่ากับ 12 เดือน โดยมีเงื่อนไขว่าจะเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ก็ได้
ขั้นตอนการ “ปิดงบการเงิน”
ขั้นตอนการปิดงบการเงิน สามารถจัดทำได้คร่าว ๆ ดังนี้
อีกทั้งเพื่อลดข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อบริษัทของคุณได้ ด้วยประสบการณ์กว่า 25 ปีเต็ม
และดำเนินงานด้วยผู้เชี่ยวชาญ คุณจึงมั่นใจได้เลยว่าการปิดงบการเงินและการปิดบัญชีงบเปล่า จะออกมาอย่างครบถ้วน ชัดเจนและ
เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินการได้อย่างราบรื่นและมั่นคง
บริการรับจดทะเบียนบริษัท
บริษัท สำนักงานบัญชี พีทูพี จำกัด
โทรศัพท์ : 097 236 2994
ไอดีไลน์ : p2pacc
www.p2paccounting.com
www.p2paccounting.blogspot.com
www.facebook.com/p2paccounting