views

พัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี CPD


ทุกอาชีพต้องมีการพัฒนาตัวเอง


เกี่ยวกับงานทำบัญชีก็เช่นเดียวกัน วิชาชีพด้านบัญชี ต้องมีการฝึกอบรม ศึกษาเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งการพัฒนาความรู้นี้ ได้บรรจุลงบนระเบียบข้อบังคับขอ งสภาวิชาชีพบัญชีเอาไว้ชัดเจน

ซึ่งนักบัญชีควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด วิธีการนี้เรียกว่า  CPD ย่อมาจาก Continuing Professional Development หมายความว่า

การพัฒนาต่อเนื่องทางวิชาชีพ ซึ่งนักบัญชีต้องเข้ารับการอบรม CPD ให้ครบจำนวน ตามชั่วโมงที่กำหนดไว้ ดังนี้

1. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ต้องเก็บชั่วโมง CPD 40 ชั่วโมงต่อปี โดยแบ่งเป็น


ชั่วโมง CPD ที่เป็นทางการ 20 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบัญชีหรือการสอบบัญชีไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง

ชั่วโมง CPD ที่ไม่เป็นทางการ 20 ชั่วโมงต่อปี และต้องยื่น CPD ภายในวันทำการสุดท้าย ของปี

2. ผู้ทำบัญชี ต้องเก็บชั่วโมง CPD 12 ชั่วโมงต่อปี เป็นวิชาเกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่าครึ่ง และต้องยื่นหลักฐานจำนวนชั่วโมง CPD ภายในวันที่ 30 มกราคม ของทุกปี



รับทำบัญชี ยื่นภาษี จ่ายน้อยราคาประหยัด

กิจกรรมการพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง แบบเป็นทางการ ประกอบด้วย


1. การอบรมหรือสัมมนา รวมถึงการอบรมหรือสัมมนาในรูปแบบสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-learning

2. การเป็นวิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ดำเนินการสัมมนา

3. การเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา ของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี หรือเทียบเท่า

4. การสำเร็จการศึกษาในคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี ไม่ว่าคุณวุฒิใหม่นั้นจะสูงกว่าคุณวุฒิเดิมหรือไม่ก็ตาม

5. การผ่านการศึกษาเฉพาะรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี จากสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า

6. จัดทำผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี โดยได้เผยแพร่ต่อสาธารณชนผ่านทางที่ประชุมวิชาการ วารสารวิชาการ หรือในรูปแบบอื่นตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาวิชาชีพบัญชี เช่น การเขียนบทความ งานวิจัย หนังสือ หรือตำราทางวิชาการ เป็นต้น


กิจกรรมการพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง แบบไม่เป็นทางการ ประกอบด้วย


1. อบรมสัมมนา ความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหรือวิชาชีพ
การนับชั่วโมง : นับได้ตามจำนวนชั่วโมงการเข้าอบรมหรือสัมมนาจริง
หลักฐาน : หนังสือรับรอง หรือหลักฐานอื่น ๆ
เช่น อบรมหลักสูตรการบริหารความเสี่ยงองค์กร จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการและการศึกษาต่อเนื่อง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อบรมหลักสูตรการบริหารผลงาน สู่ความเป็นเลิศ (In-house) จัดโดยศูนย์ฝึกอบรม The Best-Training

2. การรับฟังข่าวสารทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพผ่านสื่อต่าง ๆ
การนับชั่วโมง : นับได้ตามจริง แต่ไม่เกินสองชั่วโมงต่อครั้ง
หลักฐาน : หลักฐานการรับฟังหรือหลักฐานอื่น ๆ
เช่น ชมรายการคิดลึกคิดไกลไปกับหอการค้า ช่อง Nation TV, ฟังรายการกระแสเศรษฐกิจ ผ่านสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. การอ่านวารสารวิชาการ หรือบทความต่างๆ
การนับชั่วโมง : นับได้ตามจริง แต่ไม่เกินสองชั่วโมงต่อหนึ่งหัวข้อ
หลักฐาน : หลักฐานการอ่าน หรือหลักฐานอื่นๆ
เช่น อ่าน FAP Newsletter เรื่อง นิติบัญชีศาสตร์ กับ M-Score ดัชนีชี้วัดความผิดปกติในงบการเงิน, อ่าน e-Book คู่มือแนะนำการชำระภาษีอากรกิจการจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง โดยกรมสรรพากร

4. เข้าร่วมประชุมหรืออภิปรายกลุ่ม
การนับชั่วโมง : นับได้ตามจำนวนชั่วโมง การเข้าร่วมประชุมหรืออภิปรายกลุ่มจริง
หลักฐาน : หลักฐานการเข้าร่วมการประชุม
เช่น เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการสาขาวิชาการบัญชี คณะกรรมการฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, เข้าร่วมประชุมสมาชิกชมรมผู้ตรวจสอบภายในธนาคารและสถาบันการเงิน

สนใจปรึกษา ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc


บริการรับตรวจสอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

5. การศึกษาดูงานหรือเยี่ยมชมการดำเนินงานของกิจการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การนับชั่วโมง : นับได้สามชั่วโมงต่อครั้ง
หลักฐาน : หลักฐานการดูงาน หรือหลักฐานอื่น ๆ
เช่น ศึกษาดูงานการจัดการคลังสินค้าและกระจายสินค้า ณ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน), ศึกษาดูงานกระบวนการผลิตน้ าตาลทราย ณ บริษัท วังขนาย จำกัด

6. วิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ช่วยผู้บรรยายที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องนั้น
การนับชั่วโมง : ช่วงเวลาการเตรียมสื่อการสอนหรือการบรรยายนับได้สองเท่าของชั่วโมงบรรยายจริงและช่วงเวลาการบรรยายนับได้ตามชั่วโมงการบรรยายจริง
หลักฐาน : สื่อการสอนที่ใช้บรรยายและหลักฐานการเป็นวิทยากร ผู้บรรยายหรือผู้ช่วยบรรยาย
เช่น อาจารย์พิเศษ สอนวิชาการสอบบัญชี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ประจำภาคการศึกษาที่ 2/2558, วิทยากรบรรยายหลักสูตร การเจรจาต่อรองเพื่อความสำเร็จ จัดโดย สถาบันที่ปรึกษาและพัฒนาธุรกิจ Step Plus Training

7. การสัมภาษณ์หรือสอบถามเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและวิชาชีพ
การนับชั่วโมง : นับได้ตามจริง แต่ไม่เกินสองชั่วโมงต่อครั้ง
หลักฐาน : หลักฐานการสัมภาษณ์ หรือหลักฐานอื่น ๆ
เช่น สัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและสมาชิกกลุ่มแม่บ้านทอผ้าด้วยมือชุมชนเปรมฤทัยเพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจ ด้านการบัญชีของผู้นำชุมชนและสมาชิก และถ่ายทอดความรู้ทางด้านบัญชี
ให้แก่ผู้นำชุมชนและสมาชิก, เป็นผู้ดำเนินรายการโครงการเสวนาด้านการตรวจสอบภายใน หัวข้อ “ความท้าทายของผู้ตรวจสอบภายในต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน”

8. การเขียนวารสารวิชาการ หรือบทความต่าง ๆ เผยแพร่แก่สาธารณชน
การนับชั่วโมง : นับได้ตามจริง แต่ไม่เกินสามชั่วโมงต่อเรื่อง
หลักฐาน : ผลงานที่เผยแพร่ หรือหลักฐานอื่น ๆ
เช่น เขียนบทความวิชาการ เรื่อง การควบรวมกิจการ เผยแพร่ ในวารสารเกษมบัณฑิต ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – มิถุนายน 2559 เขียนบทความหัวข้อ นักบัญชีมืออาชีพ (Professional Accountant)เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.kbu.ac.th

9. ชั่วโมง CPD ส่วนที่เกินจากแบบเป็นทางการ หากมีชั่วโมงส่วนเกินจากการพัฒนาความรู้แบบเป็นทางการ สามารถนำมานับรวมได้
 
หน่วยงานหรือสถาบันที่จัดอบรมหรือประชุมสัมมนา และหลักสูตร วิทยากรของผู้สอบบัญชีต้องผ่านความเห็นชอบของสภาวิชาชีพบัญชี

ตามประกาศหลักเกณฑ์ สำหรับผู้จัดการอบรมหรือประชุมสัมมนา หลักสูตร และวิทยากร เพื่อรองรับการนับชั่วโมง CPD ของผู้สอบบัญชี

 
บริการรับวางแผนภาษี ลดหย่อนภาษี

ขั้นตอนการยื่น CPD ผ่านช่องทางออนไลน์


1. เข้าสู่เว็บไซต์ สภาวิชาชีพบัญชี www.tfac.or.th

2. เข้าสู่บริการออนไลน์ จากนั้นเลือกหมวด “แจ้งพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง CPD ผู้สอบบัญชี/ผู้ทำบัญชี”

3. ใส่เลขบัตรประชาชนและรหัสผ่านของท่าน เพื่อเข้าสู่ระบบ จากนั้นใส่รหัสหลักสูตรจากหนังสือรับรองที่ท่านได้รับจากการเข้าร่วมสัมมนา และกดปุ่ม “ค้นหา”

4. ระบบจะปรากฏรายการหลักสูตรที่ได้ค้นหา จากนั้นกดปุ่ม “เพิ่ม”

5. หลักสูตรที่ต้องการยื่นจะปรากฏขึ้น สามารถ จับภาพหน้าจอ เก็บไว้เป็นหลักฐานได้
 

สำหรับผู้สอบบัญชีที่ไม่ยื่นจำนวนชั่วโมง CPD หรือยื่นไม่ครบ


หรือไม่ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตฯ หรือ ไม่ชำระค่าบำรุงสมาชิก ภายในระยะเวลาที่ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีกำหนดนั้น สภาวิชาชีพบัญชีขอให้ผู้สอบบัญชี

ดำเนินการส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อสภาวิชาชีพบัญชี โดยทันที มิเช่นนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน โดยต้องยื่นเอกสารประกอบหลักฐาน ดังนี้

1. หนังสือชี้แจงเหตุพฤติการณ์ที่จำเป็น

2. หนังสือมอบอำนาจ  พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้สอบบัญชีและรับรองสำเนาถูกต้อง

3. หนังสือยินยอมให้เปิดเผยข้อมูล
 
ที่มา : สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์

สนใจปรึกษา ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc

อ่านข้อมูลการ จำหน่าย ติดตั้ง วางระบบโปรแกรมบัญชี Express


อ่านการให้บริการรับจดทะเบียนบริษัท ในราคาที่ประหยัด

บริษัทสำนักงานบัญชีพีทูพี จำกัด
โทรศัพท์ :  097 236 2994
ไอดีไลน์ :  p2pacc
www.p2paccounting.com

บทความที่น่าสนใจ