views

ผู้ตรวจสอบบัญชี CPA ผู้สอบบัญชีภาษีอากร TA


ผู้ตรวจสอบบัญชีคืออะไร

เป็นปกติของทุกกิจการที่แต่ละปีจะต้องมีการดำเนินการด้านภาษีให้ถูกต้อง ซึ่งจะเกี่ยวข้อกับการจัดเตรียมการทำบัญชี


งบดุล กำไร ขาดทุน และงบการเงินต่างๆ ของกิจการตนเอง ก่อนจะยื่นเสียภาษีประจำปีต่อกรมสรรพากรต่อไปกฎหมายจึงบังคับไว้ว่า


จะต้องให้บุคคลภายนอกที่เป็นอิสระและไม่มีความเกี่ยวข้องกับกิจการ มีการขึ้นทะเบียน ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องเข้ามาตรวจสอบรับรอง


เรียกบุคคลที่ทำหน้าที่เหล่านี้ว่า ผู้ตรวจสอบบัญชี นั่นเองซึ่งหากกิจการใดฝ่าฝืน ไม่มีการจัดทำบัญชี ไม่มีการยื่นภาษี


จะต้องรับโทษทางกฎหมาย คือ ถ้าไม่ทำบัญชี ระวังโทษปรับไม่เกิน30,000บาท และวันละไม่เกิน 1,000 บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง


ถ้าไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชีต้องระวังโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาทหากไม่จัดทำ ไม่ยื่นงบการเงิน ระวังโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท


วางระบบบัญชี ระบบงานฝ่ายบัญชี วางผังบัญชี


ผู้ตรวจสอบบัญชีมีหน้าที่ตรวจสอบและรับรองว่างบการเงินของกิจการหรือองค์กรมีความถูกต้องเหมาะสมเป็นไปตามมาตรฐาน


ทางการเงินและกฎระเบียบด้านภาษี ผู้ตรวจสอบบัญชียังสามารถให้คำแนะนำให้ความรู้ในระหว่างตรวจสอบ เพื่อให้มีการปรับปรุงพัฒนา


ไปตามแนวทางที่ถูกต้องต่อไปผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจสอบบัญชีจะต้องได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


เช่น จากสภาวิชาชีพบัญชีหรือกรมสรรพากร โดยผ่านกระบวนการฝึกอบรมทดสอบตามกำหนด จึงจะสามารถปฏิบัติหน้าที่นี้ได้


หน้าที่หลักของผู้ตรวจสอบบัญชี

ผู้ตรวจสอบบัญชีมีหน้าที่ปฏิบัติงานหลักๆตามมาตรฐานที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ ดังนี้


1.จัดทำแนวทางการสอบบัญชีและต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานสำหรับงานที่รับตรวจสอบเพื่อให้ทราบถึงวิธีการปฏิบัติงานตรวจสอบ


2. จัดทำกระดาษทำการเพื่อบันทึกและสรุปการตรวจสอบพร้อมข้อเสนอแนะที่ตรวจพบและต้องเก็บไว้เป็นหลักฐาน


3. ทดสอบความถูกต้องของงบการเงิน บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี


4.ทดสอบการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป


5.ตรวจสอบความถูกต้องในส่วนที่เป็นสาระสำคัญทางด้านภาษีอากร


6. ตรวจสอบการปรับปรุงกำไรสุทธิ ขาดทุนสุทธิทางบัญชีเป็นกำไรสุทธิ ขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร


7. ตรวจสอบการจัดทำบัญชีพิเศษ


8.เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญของบัญชีและต้องแจ้งพฤติการณ์ไว้ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี


ในกรณีที่พบว่าห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กมีพฤติการณ์ในการทำเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือบันทึกบัญชี


โดยเห็นว่าน่าจะไม่ตรงกับความเป็นจริงอันอาจเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กนั้นมิต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลงกว่าที่ควรเสีย

สนใจปรึกษา ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc

อ่านโปรแกรมอัจฉริยะทางบัญชี โปรแกรม เอ็กเพรส

จากข้อปฏิบัติของผู้ตรวจสอบบัญชีตามมาตรฐานที่กรมสรรพากรกำหนดไว้สรุปได้ว่าผู้ตรวจสอบบัญชีจะต้องมีขั้นตอนในการทำงาน


ตั้งแต่การวางแผนจัดเตรียมการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ ดำเนินการทดสอบเอกสาร ทบทวนข้อกฎหมายต่างๆ อย่างถูกต้อง


ตลอดจนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูล และไม่นิ่งนอนใจหากพบการกระทำที่ไม่สุจริตซึ้งทั้งหมดคือหน้าที่ของผู้ตรวจสอบบัญชีนั่นเอง


ธุรกิจหรือกิจการที่ดำเนินอยู่ ณปัจจุบันมีหลายรูปแบบ แบ่งไปตามลักษณะในการดำเนินงาน การมีหุ้นส่วน การลงทุนจำนวนเงินใช้ในธุรกิจ


รวมไปถึงขนาดของธุรกิจ กิจการที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชีได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลและห้างหุ้นส่วนจำกัด


บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างแต่ประเทศประกอบธุรกิจในไทยกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร


มูลนิธิ สมาคม นิติบุคคลอาคารชุดหรือหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีก็มีการแบ่งประเภทตามลักษณะของกิจการนั้นๆ เช่นกัน ดังนี้


ผู้ตรวจสอบบัญชีแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

1. ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตทั่วไป (CPA)หรือผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก (External Auditor)


2. ผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากร (TA)

3. ผู้ตรวจสอบภายใน (InternalAuditor)

4. ผู้ตรวจสอบบัญชีในการรับรองงบการเงินซึ่งเห็นชอบโดยกลต.(Listof auditors approved by the office of SEC)

โดยในที่นี้จะกล่าวถึงผู้ตรวจสอบบัญชีสองประเภทแรกที่มีความเกี่ยวข้องต่อการดำเนินการด้านภาษีของธุรกิจส่วนใหญ่ที่พบได้ทั่วไป คือ ผู้ตรวจสอบบัญชีCPA และ ผู้ตรวจสอบบัญชี TA


ผู้ตรวจสอบบัญชี CPA

เป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547


ทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีและรับรองงบการเงินของบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทุกขนาด ทุกประเภทแต่ต้องไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์


พร้อมกับต้องจัดทำรายงานของผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่


จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่นเดียวกับผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากรสำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก


ผู้ตรวจสอบบัญชี TA

เป็นบุคคลที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากรตามคำสั่งกรมสรรพากรที่


ท.ป.98/2554 โดยผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากรทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีและรับรองงบการเงินของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล


ที่มีทุนจดทะเบียนหรือทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5ล้านบาท และมีสินทรัพย์รวมและรายได้รวม


ของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30ล้านบาท พร้อมกับต้องจัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด


ไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545ฯสำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก


ผู้ตรวจสอบบัญชีทั้งสองแบบทั้งCPA และ TA มีความแตกต่างกัน

ด้านภาระหน้าที่ รายละเอียดของเอกสาร ประเภทของกิจการดังนั้นเจ้าของกิจการควรเลือกผู้ตรวจสอบบัญชีให้ถูกต้องตามประเภท


โดยอาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาครัฐเช่น กรมสรรพากรหรือองค์กรเอกชนด้านบัญชีให้การสอบบัญชีสำเร็จประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณ


คุณสมบัติที่ดีของผู้ตรวจสอบบัญชี CPA& TA

คุณสมบัติที่ดี ของผู้ตรวจสอบบัญชี จะต้องรักษาจรรยาบรรณวิชาชีพตามที่กรมสรรพากรระบุไว้ ดังนี้

1. ต้องรักษาความเป็นอิสระความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต


2. ต้องปฏิบัติงานด้วยความรู้ความสามารถของวิชาชีพ


3.ไม่ตรวจสอบและรับรองบัญชีในกิจการที่เกินความรู้ความสามารถและไม่ทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีเกิน300 รายต่อปี


4. ไม่ลงลายมือชื่อรับรองในรายงานของกิจการที่ตนมิได้ตรวจสอบหรือควบคุมการปฏิบัติงานตรวจสอบของผู้ช่วยผู้ตรวจสอบ


5.ต้องสอดส่องและใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบและรับรองบัญชีเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพโดยทั่วไป


6. ต้องรักษาจรรยาบรรณต่อผู้เสียภาษีเช่นไม่เปิดเผยความลับกิจการของผู้เสียภาษี ไม่ละทิ้งการปฏิบัติงานที่รับไว้โดยไม่มีเหตุอันสมควร


7. ต้องรักษาจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมอาชีพเช่นไม่แย่งงานจากผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีอื่น ไม่ทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีเกินกว่าที่ได้รับมอบหมายจากผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีอื่นเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้มอบหมายนั้น


8. ต้องไม่กระทำการใด ๆอันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ


9. ต้องไม่กำหนดค่าธรรมเนียม ค่าตอบแทนตามยอดเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินของกิจการ


10. ต้องเสียภาษีอากรของตนเองให้ถูกต้องครบถ้วน


จากข้อกำหนดในจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบบัญชีสรุปได้ว่า ผู้ตรวจสอบบัญชีเป็นวิชาชีพหนึ่งที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ


ด้านการบัญชีความรู้เรื่องภาษี และด้วยเป็นงานที่ต้องใช้สมาธิสูง จึงต้องมีความละเอียดรอบคอบ ป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด


ต่อผู้รับบริการผู้ตรวจสอบบัญชีเป็นอาชีพที่มีเกียรติ จะต้องปฏิบัติติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม ซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อผู้รับบริการและต่อผู้ร่วมวิชาชีพเดียวกัน

แนะนำอ่านบริการรับทำบัญชี


ต้องการติดต่อผู้ตรวจสอบบัญชี CPA & TA

หากเจ้าของธุรกิจ เจ้าของกิจการ หรือนิติบุคคลใดต้องการใช้บริการผู้ตรวจสอบบัญชีควรเลือกจากตัวบุคคลหรือองค์กรทางด้านการบัญชี


ที่มีความน่าเชื่อถือ มีมาตรฐาน ต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานใบอนุญาตให้รอบคอบ ซึ่งที่สำนักงานบัญชี พีทูพี มีบริการรับตรวจสอบบัญชี


ทั้งแบบ CPA และ TA โดยเป็นองค์กรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีว่าเป็นสำนักงานตรวจสอบบัญชี อย่างถูกต้อง


มีการวางหลักประกัน เพื่อให้ลูกค้าได้มั่นใจในการบริการตลอดจนการรวมรวบบุคลากรที่มีประสบการณ์ทางด้านการตรวจสอบบัญชี

อ่านบริการรับตรวจสอบบัญชี

ที่ผ่านมาเรามีผลงานมากมายกว่า120 บริษัท หลากหลายประเภทธุรกิจ ตั้งแต่รายได้ 1ล้านบาท ไปจนถึง 3,000 ล้านบาท


เราทำความเข้าใจศึกษาธุรกิจลูกค้าก่อนตรวจสอบทุกครั้ง มีการใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบบัญชีสมัยใหม่


โดยวางแผนการตรวจสอบบัญชี และใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการตรวจสอบทำให้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


เรามีการตรวจสอบระบบควบคุมภายใน เพื่อประเมินความเสี่ยงในการตรวจสอบบัญชีและมีการทำหนังสือเสนอแนะแก่ผู้บริหาร


ในกรณีที่พบข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน มีความเป็นมืออาชีพทุกด้านพร้อมบริการทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง ดังสโลแกนที่ตั้งไว้ว่า

" งบการเงินของท่านควรได้รับการดูแลอย่างมืออาชีพ "

สนใจปรึกษา ติดต่อ

โทรศัพท์ :  097 236 2994

Add Line :  p2pacc

บทความที่น่าสนใจ