คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

การเสียภาษีเงินได้บริษัท ห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล
"เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จากกำไรสุทธิ ต้องคำนวณภาษี และยื่นแบบแสดงรายการ ชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง "
1.การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีนั้นที่บัญญัติไว้ในมาตรา67 ทวิ แห่งประมวล รัษฎากร
(1.1)ในกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำ
หรือจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นแล้วให้คำนวณและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
(1.2)ในกรณีบริษัทจดทะเบียนธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดให้คำนวณและชำระภาษีจากกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี
ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีนี้ให้ถือเป็นเครดิตในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีคือเอาไปหักออกจากภาษีที่ต้องเสียจากกำไรสุทธิ
ของทั้งรอบระยะเวลาบัญชีและในกรณีที่ภาษีที่เสียไว้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีสูงกว่าภาษีที่จะต้องเสีย ทั้งรอบระยะเวลาบัญชีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลก็มีสิทธิขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกินได้
กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีรอบระยะเวลาบัญชีแรกหรือรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายน้อยกว่า 12 เดือนไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
2. การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ให้คำนวณกำไรสุทธิตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรโดยนำกำไรสุทธิดังกล่าวคูณด้วยอัตราภาษี เงินได้นิติบุคคลจะได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระ ถ้าคำนวณกำไรสุทธิออกมาแล้ว
ปรากฏว่าไม่มีกำไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิ บริษัทไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ถ้าการจัดทำบัญชีของบริษัทได้จัดทำขึ้นตามหลักบัญชีโดยไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในประมวลรัษฎากรเมื่อจะคำนวณภาษี
บริษัทจะต้องปรับปรุงกำไรสุทธิดังกล่าวให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรแล้วจึงคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
ดู บริการรับทำบัญชีภาษี
ภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด
ดังนั้นเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตาม เงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้
จึงได้มี การบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษี ที่แตกต่างกัน ดังนี้
(1)กำไรสุทธิ
(2)ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
(3)เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
(4)การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ
- บริษัทจำกัด
- บริษัทมหาชนจำกัด
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยในกรณีที่บริษัทห้างห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยมีสาขาไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกประเทศไทย
จะต้องนำกำไรสุทธิของสาขามารวมกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย
ดูบริการรับวางแผนภาษี
" การวางแผนภาษีเป็นวิธีการที่จะทำให้นิติบุคคลประหยัดภาษีได้ดีที่สุด และถูกต้องตามประมวลรัษฎากร โดยการอาศัยข้อกฎหมาย "
การลดหย่อนทางภาษีที่ผู้ประกอบธุรกิจบริษัทและห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้รับตามหลัก 5 ประการ
1.รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
2.รายได้ที่ได้รับการลดอัตราภาษี
3.รายได้ที่หักรายจ่ายได้สูง
4.การหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงให้ครบถ้วน
5.การกระจายรายได้
ไม่ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลในกำหนดเวลา และชำระไม่ถูกต้องมีผลต่อธุรกิจอย่างไร
1.กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระนั้น
2.กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบออกหมายเรียก และปรากฏว่ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี
เว้นแต่กรณีที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีได้ จะเสียเงินเพิ่มร้อยละ 0.75 กรณีที่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป นอกจากจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มตามข้อ 1 แล้ว
ยังจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่า หรือ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี เงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจลดหรืองดได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
อ่าน ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์
.jpg)